Daily Archives: 01/04/2011

โลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 และจากสถิตินับตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 20 เป็นต้นมาปรากฏว่ามนุษย์โลกเราได้ทำสงครามที่สามารถบันทึกไว้เป็น ประวัติศาสตร์ถึงประมาณ 150 ครั้ง และมีผู้เสียชีวิตทั้งหมดแล้วประมาณ 100 ล้านคน สงครามโลกนั้นทำลายชีวิต และทรัพย์สินของผู้คนบนโลกมากมายและตั้งแต่โลกเริ่มมีอารยธรรมเจริญ อย่างมากมาย มนุษย์ต้องผ่านการทำลายตัวเองมาแล้วถึง 2 หนโดยแบ่งความ เสียหายได้ดังนี้

สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยนโปเลียน สงครามโลกครั้งที่ 1 นี้เกิดสงครามเน้นเฉพาะไปที่ยุโรปเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรโลกเสียชีวิตไป19 ล้านคน โดยแบ่งออกได้เป็นทหาร 95 % และพลเรือน 5 % เพราะเป็นการรบด้วยการใช้กองกำลังทหารราบเข้าประชิดและต่อสู้กัน แบบพื้นราบเป็นส่วนใหญ่ซึ่งก็จะรบกันตามสมรภูมิรบต่างๆที่เป็นทุ่งกว้าง ประชาชนพลเรือนจึงได้รับความเดือดร้อนและเสียชีวิตน้อย

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2

  1. ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์
  2. เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี ค.ศ.1929-1931
  3. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ เพราะสหรัฐฯ และรัสเซียไม่ได้เป็นสมาชิก

เหตุการณ์ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2

  1. ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย แล้วตั้งเป็นรัฐแมนจูกัว เพื่อเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งทำทุนใหม่สำหรับตลาดการค้าของญี่ปุ่น
  2. การเพิ่มกำลังอาวุธของเยอรมัน
  3. กรณีพิพาทระหว่างอิตาลีกับอังกฤษ ในกรณีที่อิตาลีบุกเอธิโอเปีย
  4. เยอรมนีเข้าครอบครองแคว้นไรน์ ซึ่งเป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ และสนธิสัญญาโลคาร์โน -สงครามกลางเมืองในสเปน -เยอรมันผนวกออสเตรีย
  5. เยอรมันเข้ายึดครองเชคโกสโลวะเกีย สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1939 เมื่อฮิตเลอร์ (เยอรมัน) โจมตีโปแลนด์ อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งปกป้องโปแลดน์อยู่จึงต้องทำสงครามกับเยอรมัน
  6. ในปี ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่น เยอรมัน อิตาลี) ได้บุกยึดยุทธภูมิสำคัญคือ รัสเซีย แอฟริกาเหนือ และแปซิฟิก ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเกือบทุกแห่ง โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งได้รับชัยชนะมากที่สุดในการยึดครองจักรวรรดิแปซิฟิก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอาณานิคมของตะวันตกไม่ตกสู้กับญี่ปุ่นเพื่อชาวยุโรป ซึ่งผิดกับญี่ปุ่นที่ถือประโยชน์จากคำขวัญที่ว่า “เอเชียเพื่อชาวเอเชีย”

สาเหตุที่ทำให้สหรัฐฯ เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะญี่ปุ่นเข้าโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ซึ่งเป็นฐานทัพเรือของสหรัฐในวันที่ 7 ธันวาคม ปี 1941 เยอรมันยอมแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ปี 1945 ส่วนญี่ปุ่นยอมแพ้เพราะโดนสหรัฐฯ ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้ในวันที่ 4 สิงหาคม ปี 1945

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2

  1. ตามข้อตกลงปอตสดัม ทำให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต และถูกยึดครองจากกลุ่มประเทศที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง และรัสเซีย อีกฝ่ายหนึ่ง
  2. ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของรัสเซียกับสหรัฐฯ ส่งผลให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก 3. สหรัฐฯได้เข้าปกครองญี่ปุ่นเป็นเวลานานถึง 6 ปี
  3. การรบกันในยุโรปเป็นส่วนใหญ่เช่นกัน แต่เริ่มมีการรบขยายวงกว้างมาในทวีปอื่นคือทวีปเอเซียโดยการร่วมมือการแบ่ง เป็นพรรคเป็นพวกเยอรมัน โดย นาซี และอิตาลี โดยฟาสซิสต์ เป็นผู้นำรบในยุโรป ญี่ปุ่นเป็นผู้นำรบในทวีปเอเซียและมีการรบเพื่อจุดประสงค์รวมประเทศและ ขยายดินแดนทำให้ต้องเข้าไปเก็บโดย ฟาสซิส พลเรือน มีการทำสงครามจิตวิทยา เพื่อหาพรรคพวกร่วมสงครามนับเป็นสงครามมีมนุษย์พัฒนาการต่อสู้ที่รุกรานไปทั่วโลก เกือบทุกหนแห่งโดยการใช้อาวุธที่สามารถยิงจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ทำให้สมรภูมิรบ เปลี่ยนจากที่ราบเป็นทุกที่ไม่ว่าจะในหรือนอกเมืองหลวง สงครามครั้งนี้ทำให้ มีประชากรโลกเสียชีวิตมากเป็นประวัติการณ์ถึง 50 ล้านคน เกือบ 3 เท่าของ สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยแบ่งผู้สูญเสียออกเป็น ทหาร 50 % พลเรือน 50% เรียกได้ว่าครึ่งต่อครึ่งเลย โดยผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็เป็นชาวยิวอย่างไรก็ตาม สถิติที่นักคิดได้รวบรวมไว้กล่าวว่าสงครามและการต่อสู้จะรุนแรงขึ้นและ เสียชีวิตมนุษย์มากขึ้นเพราะอาวุธที่ทำลายล้างรุนแรงและมีอำนาจทำลาย กว้างขวางแม้แต่อัลเบริด์ ไอซ์ไตล ผู้เป็นต้นคิดระเบิดปรมาณูด้วยสูตรสั้นๆอย่าง E=MC2 บอกว่าพลังที่เพิ่มขึ้นนั้นจะมากมายมหาศาสถ้ามีมวลที่เพิ่มความเร็ว ในการเคลื่อนที่เป็นสองเท่าพลังงานนั้นก็จะให้พลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการแตกตัวของอะตอมที่มีการแตกตัวด้วยความเร็วสูงและจะปลดปล่อย พลังงานที่เพิ่มขึ้นมากดังนั้นปรมาณูสองลูกจึงถูกปล่อยลงที่ประเทศญี่ปุ่น คือ เมื่อ ฮิโรชิม่า กับเมื่อนางาซากิ สงครามโลกครั้งที่ 2ก็จบลง

Leave a comment

Filed under :: เหตุการณ์ปัจจุบัน ::

:: ความรู้พื้นฐานเหตุการณ์ปัจจุบัน ::

คำว่า เหตุการณ์ หมายถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นแล้วในอดีตหรือกำลังเกิดขึ้น ในปัจจุบัน เรื่องที่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ก็ถือว่าเป็นเหตุการณ์ และเหตุการณ์นั้นต้องอยู่บนสภาวะแห่งความเป็นจริง ต่างแต่ว่าเกิดขึ้น ในเวลาใด หากเกิดในปัจจุบัน ก็ถือว่า เป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน

สังคมแต่ละสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงจะเห็นได้จากสังคมไทยในอดีต เป็นสังคมสัมพันธ์ ไม่ว่าสังคมนั้นจะเป็นสังคมชนบท หรือสังคมเมือง ต่างก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดในหมู่เดียวกันและในปัจจุบัน สังคมชนบทซึ่งเป็นสังคมเล็กๆ ยังคงมีการติดต่อเสริมสร้างสัมพันธภาพต่อกันและกันเหมือนเดิม แต่ต่างจากสังคมเมืองที่เป็นสังคมหนาแน่น มีอาชีพธุรกิจการค้าขายหรือธุรกิจ การติดต่อสัมพันธภาพจึงเป็นลักษณะเพื่อการดำรงชีพของตนในรูปแบบธุรกิจ ลักษณะต่างคนต่างอยู่

ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งก่อให้เกิดปัญหา เช่น การพัฒนาจากสังคมเก่าแก่มาเป็นสังคมสมัยใหม่ตามความเจริญของสังคมและเทคโนโลยีนั้นๆ ปัจจัยที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์ก็มีมากขึ้นตามลำดับ   โดยเฉพาะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก ความขัดแย้ง ซึ่งก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของตนและส่วนรวม

การแก้ปัญหาความขัดแย้งขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะนำทรัพยากรทางธรรมชาติมาใช้เป็นเครื่อง อุปโภคและบริโภค และอาศัยคุณธรรม จริยธรรมที่งอกงามควบคู่กับความเจริญเติบโตของสังคม มนุษย์ที่อยู่ร่วมกัน ย่อมจะต้องทำประโยชน์แก่ชุมชนของตน

การเกิดเหตุการณ์ปัจจุบัน

ศึกษาเหตุการณ์จากข่าวประจำวัน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลก ล้วนมีสาเหตุทั้งสิ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนใน เหตุการณ์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ไม่มากก็น้อย ซึ่งอาจจะขยายออกไปสู่ส่วนอื่นๆ ของโลกมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวพันกับส่วนอื่นๆ ในลักษณะใด ปัจจุบันโลกที่เคยคิดว่า กว้างใหญ่ได้แคบลงเหมือนโรงละครเล็กๆ ที่พลโลกได้มองเห็นและสัมผัสกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความก้าวหน้าทางโทรคมนาคมสื่อสารและเทคโนโลยี โลกยุคใหม่เต็มไปด้วย การเปลี่ยนแปลงและแข่งขัน ความผันผวนทางการเมืองวิถีทางการฑูต การชิงความได้เปรียบในด้านการค้าขายได้ขยายไปทั่วโลก จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งข่าวสารและข้อมูล หากประเทศใดได้รับ ข่าวสารและมีข้อมูลมากอยู่ในมือก็ถือว่าเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพราะฉะนั้น การศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์โลกปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องฉับไวและทันต่อ เหตุการณ์ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาพื้นฐานเบื้องต้นให้เข้าใจถึงสาเหตุมูลฐานทั่วไปก่อน โดยแยกออกเป็นข้อๆ ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรของโลกในปี ค.ส. 1963 ปรากฏว่า ประชากรของโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้นถึง 55-60 ล้านคน เมื่อจำนวนพลโลกเพิ่มขึ้นนี้ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น การขาดแคลนอาหาร การว่างงาน ที่อยู่อาศัย รวมไปถึงการจัดการศึกษาไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้น มีการแบ่งกลุ่มเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศที่ด้อยพัฒนา ประเทศที่พัฒนาแล้วก็มักจะขยายอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของตนเข้าไปยังประเทศที่ด้อยพัฒนา ปัญหาที่ตามมาก็คือ ประเทศที่ด้อยพัฒนาบางประเทศรับเอาอารยธรรมของประเทศที่พัฒนาแล้วเข้ามาใช้ โดยไม่มีการเลือกเฟ้นว่าจะเป็นผลดีและมีประโยชน์ต่อประเทศตนหรือไม่ จึงก่อให้เกิดปัญหาการขัดแย้งเรื่องวัฒนธรรมภายในประเทศ ประเพณีอันดีงามหลายอย่างถูกทำลายและทอดทิ้งไป ทำให้เกิดความสับสนในด้านการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น ความจำเป็นเกี่ยวกับเครื่องอุปโภคบริโภคก็ตามมา ทำให้มีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้นประเทศที่ร่ำรวย มีทุนมาก ก็พยายามพัฒนาเครื่องจักรกลและวิธีการผลิตให้ก้าวหน้า ทำให้เกิดระบบสังคม อุตสาหกรรมและพัฒนาการค้าของโลก แล้วขยายอำนาจและอิทธิพลเข้าไปยังดินแดนส่วนต่างๆ ของโลก เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จนก่อให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นระหว่างประเทศมหาอำนาจ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามแบบใหม่ที่เรียกว่า “สงครามเย็น” (Cold War) ได้เกิดขึ้นและดำเนินมาซึ่งเป็นสงครามระหว่างลัทธิโลกเสรีกับลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ต่อสู้กันทุกรูปแบบ ยกเว้นการปะทะกันด้วยกำลังทหารและอาวุธ การศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานของเหตุการณ์ปัจจุบันของโลกดังกล่าว จะต้องอาศัยปัจจัยและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ โทรเลข โทรคมนาคม เทเล็กซ์ ดาวเทียม เป็นต้น และสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ จุลสาร วารสาร เอกสาร หนังสือ ตำรา เป็นต้น

วิธีศึกษาเหตุการณ์ปัจจุบัน

อ่านเพื่อวิเคราะห์ข่าว

การศึกษาเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะให้ได้ความจริงและความถูกต้องนั้น จำต้องอาศัย กระบวนการที่เป็นระบบ ไม่ควรด่วนสรุปหรือลงความเห็นไปตามข้อมูลหรือข่าวสารที่รับมา ขณะนั้น เพราะข้อมูลและข่าวสารที่ออกมานั้นมาจากแหล่งต่างๆ มากมาย บางแหล่งก็น่าเชื่อได้ บางแหล่งก็ไม่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะออกมาจากแหล่งใดก็ไม่ควรด่วนเชื่อไปตามนั้น แต่ควรปฏิบัติไปตามกระบวนดังต่อไปนี้

2.1 การแยกใจความของข่าวหรือเนื้อข่าว ขั้นต้นนี้ ผู้ศึกษาควรแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วนำข้อมูลจากแต่ละแหล่งมาวิเคราะห์แยกแยะ ให้ทราบว่าเป็นข่าวเกี่ยวกับอะไร เกิดขึ้นที่ไหน เกิดขั้นเมื่อใด และใครหรืออะไรเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้ก่อ แล้วแยกออกเป็นส่วนๆ แต่อย่าเพิ่งด่วนสรุปหรือลงความเห็นลงไปว่า แหล่งข่าวนั้นผิด แหล่งข่าวนี้ถูก เพียงให้ทราบที่มาของเนื้อข่าวว่าเป็นเรื่องอะไร ที่ไหน และเมื่อไร ใครหรืออะไรเป็นต้นเหตุเท่านั้น
2.2 การแยกส่วนที่เป็นทัศนคติของข่าว ขั้นตอนที่สองนี้ ผู้ศึกษาต้องแยกส่วนที่เป็น ทัศนคติของข่าวแต่ละแหล่งที่ได้มา ควรจะให้ทราบว่าส่วนใดที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นเนื้อหา ของข่าว และส่วนใดที่เป็นทัศนคติส่วนตัวของผู้เสนอข่าว ซึ่งผู้เสนอข่าวมักจะสอดแทรกทัศนคติของตนด้วยการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความ คิดเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในส่วนหลังนี้อาจจะทำให้ผู้รับข่าวสารเชื่อตามหรือเข้าใจผิดได้ เพราะการมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของผู้เสนอข่าว อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางความคิดและทัศนคติของผู้เสนอข่าว ตัวอย่างเช่น ประชาชน กลุ่มหนึ่งพากันชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องตามสิทธิเสรีภาพที่มีอยู่ ผู้เสนอข่าวจากแหล่งหนึ่ง มองว่า ประชาชนกลุ่มนี้กำลังก่อความวุ่นวายและสร้างความไม่สงบให้แก่บ้านเมือง รัฐบาลควรเข้าปราบปรามคนกลุ่มนี้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง แต่อีกแหล่งหนึ่งเสนอข่าวโดยการมองว่า ประชาชนกลุ่มหนึ่งกำลังเดินขบวนเรียกร้องไปตามสิทธิเสรีภาพที่พวกเขาสามารถ กระทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย โดยไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องแยกทัศนคติของข่าวให้ได้ก่อน อย่าปลงใจเชื่อไปตามทัศนคติของข่าวแม้จะตรงกับแนวคิด ของตนก็ตาม
2.3 ศึกษาแหล่งข่าวเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ขั้นตอนที่สาม ผู้ศึกษาต้องศึกษาและค้นหาแหล่งที่มาของข่าวว่ามาจากแหล่งใดบ้าง การรู้แหล่งที่มาของข่าวนั้นจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ถึงทัศนคติของข่าวได้ง่ายขึ้น การวิเคราะห์แหล่งข่าวใช้หลักการวิเคราะห์ในสาเหตุ 2 ประการ คือ

ผู้เสนอข่าวมีผลประโยชน์อยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่ และ
ผู้เสนอข่าวยึดติดกับลัทธิชาตินิยม หรือไม่ ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีการขัดแย้งและเกิดการปะทะกันที่พรมแดนระหว่างประเทศ นักข่าวที่เสนอข่าวออกมานั้นมาจากแหล่งใดหรือเป็นคนชาติใด นับถือลัทธิอะไร และมีผลประโยชน์ผูกพันอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เป็นต้น แหล่งข่าวระดับโลกที่มีอิทธิพลต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสำนักงานที่ให้บริการข่าวแก่ประเทศต่างๆ ได้แก่

1. สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) ของอังกฤษ
2. สำนักข่าวทาสซ์ (Tass) ของรัสเซีย
3. สำนักข่าว AP หรือ The Associated Press ของสหรัฐอเมริกา
4. สำนักข่าว UPI หรือ The United Press International ของสหรัฐอเมริกา
5. สำนักข่าว AFP หรือ Agence France Press ของฝรั่งเศส
6. สำนักข่าวซินหัว (Sinhua) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ฯลฯ

การวิเคราะห์ข่าวควรตระหนักใน 2 เรื่อง คือ การศึกษาถึงภูมิหลังของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการตีความและวิเคราะห์เหตุการณ์ การศึกษาภูมิหลังของเหตุการณ์กระทำได้โดยวิธีการ ทางประวัติศาสตร์บางส่วน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเหตุการณ์นั้น

การวิเคราะห์ข่าว มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • * ช่วยให้เราทราบเรื่องราวเกี่ยวกับตัวบุคคล เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ
  • * การรู้เรื่องราวระหว่างประเทศ จะช่วยให้เราประชาสัมพันธ์กับต่างประเทศได้ดีขึ้น
  • * สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายไทยเราว่า หันเหไปในทางทิศใดและมีลักษณะอย่างใด
  • * ให้ความรู้รอบตัว มีหูตาสว่างไสว ทันต่อเหตุการณ์ของโลก

สิ่งที่ควรใช้ประกอบในการวิเคราะห์ข่าว

  1. * มีหลักฐานและข้อมูลที่สะสมและรวบรวมไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการอ้างอิง
  2. * ติดตามข่าวโดยต่อเนื่องกันทุกระยะ
  3. * ศึกษาประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในอดีตเพื่อเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ดีขึ้น
  4. * อ่านบทนำจากหนังสือพิมพ์ต่างประเทศฉบับที่มีชื่อเสียงของโลก เพื่อศึกษาวิธีจับประเด็นของข่าวมาวิเคราะห์ และศึกษาวิธีเรียบเรียง

Leave a comment

Filed under :: เหตุการณ์ปัจจุบัน ::

:: การบริหารจิตและเจริญปัญญา ::

พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เน้นเรื่อง การฝึกควบคุมการ วาจาและจิตใจไปพร้อมกัน ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าเมื่อกาย วาจา สงบนิ่ง และควบคุมจิตให้สนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว ความรู้ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงก็จะเกิดขึ้นตามมา การควบคุมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย เรียกว่า ศีล การควบคุมจิตให้สนใจสนใจเพียงเรื่องเดียว เรียกว่า สมาธิ ความรู้ ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริง เรียกว่า ปัญญา ทั้งศีล สมาธิ และปัญญา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา กล่าวเฉพาะสมาธิและปัญญา พระพุทธศาสนาได้แสดงวิธีควบคุมที่เรียกว่า การบริหารจิตและการเจริญปัญญา ไว้หลายวิธี

ความหมายของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา
การบริหารจิต หมายถึง การบำรุงรักษาจิตให้มีความเข็มแข็ง มีพลังและมีประสิทธิภาพปกติจิตของบุคคลทั่วไป จะซัดส่ายไปตามสิ่งที่มากระทบอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการกวัดแกว่ง เหนื่อยล้า วิธีบำรุงรักษา คือ การทำให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว ไม่คิดถึงเรื่องอื่นในขณะนั้น ซึ่งเรียกว่า จิตเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบ ความมั่นคง และความเข็มแข็งก็จะเกิดขึ้น ที่สำคัญ ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงก็จะเกิดขึ้นตามมาด้วย

การเจริญปัญญา หมายถึง การฝึกฝนอบรมหรือการพัฒนาตนให้เกิดปัญญา 3 ประการ ได้แก่ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง การอ่าน หรือการศึกษาเล่าเรียน ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาและปัญญาที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งปัญญาทั้ง 3 นี้ต้องอาศัยจิตที่เป็นสมาธิเป็นพื้นฐานทั้งสิ้น จึงจะเกิดขึ้นได้อย่างสมบรูณ์

วิธีการบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน 4
การบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนานั้นมีหลากหลายวิธี เฉพาะการบริหารจิตมีถึง 40 วิธี แต่ในชั้นนี้จะให้นักเรียนศึกษาและฝึกปฏิบัติเพียง 1 วิธีเท่านั้น คือ การบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน 4
สติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้รู้และเข้าใจตามที่เป็นจริงมี 4 อย่าง คือ
1. การตั้งสติพิจารณากาย (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) หมายถึง การมีสติกำหนดรู้อย่างเท่าทันในเรื่องของกายและอิริยาบทของร่างกาย ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน และอื่นๆ

  • การตั้งอิริยาบถยืนให้นักเรียนยืนด้วยอาการสำรวม ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับมือซ้ายวางไว้ตรงกระเบนเหน็บ หรือวางไว้ข้างหน้าบริเวณสะดือ ยืนตัวตรง หลับตาสำรวมจิตให้สติจับอยู่ที่ร่างกาย อย่าได้ให้ออกไปนอกกาย กำหนด ยืนหนอ ช้าๆ โดยเริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้า และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ กลับขึ้น-ลง ครบ 5 ครั้ง แต่ละครั้งแบ่งเป็น 2 ช่วง
    • ช่วงแรก กำหนดคำว่า ยืน สำรวจจิตเอาสติตามวาดมโนภาพร่างกายจากศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ กำหนดคำว่า หนอ จากสะดือไปปลายเท้า นับเป็น 1 ครั้ง
    • ช่วงที่สอง กำหนดกลับขึ้น คำว่า ยืน กำหนดจากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำว่า หนอ กำหนดจากสะดือไปกลางกระหม่อม นับเป็น 2 ครั้ง
  • การกำหนดอิริยาบถเดิน กำหนดให้รู้เฉพาะอิริยาบถเดินอย่างเดียว การกำหนดอิริยาบถเดินหรือที่เรียกว่า การเดินจงกรม นั้นมี 6 ระยะ ในที่นี้จะกล่าวเพียง 4 ระยะ ดังนี้
    • กำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ก่อนจะเดินให้สำรวมจิตอยู่ที่เท้าขวา ตั้งสติไว้ที่เท้าขวาแล้วกำหนดในใจว่า ขวา ต้องยกส้นเท้าขึ้นจากพื้นประมาณ 2 นิ้ว สติระลึกรู้พร้อมกับส้นเท้าขวาที่ยกขึ้น กำหนดย่าง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าๆ โดยมีสติระลึกรู้พร้อมกับเท้าขวาที่เคลื่อนไปข้างหน้า เมื่อก้าวเท้าเสร็จหยุดค้างไว้ โดยเท้ายังไม่เหยียบพื้นพอกำหนด หนอให้ค่อยๆ วางเท้าลงให้ถึงพื้น โดยปลายเท้าและส้นเท้าลงพร้อมกัน สติระลึกรู้พร้อมกับเท้าที่ลงสัมผัสพื้น
      จากนั้น สำรวมจิตไว้ที่เท้าซ้าย ตั้งสติไว้ที่เท้าซ้ายแล้วกำหนดว่า ซ้าย ย่าง หนอ (ในลักษณะเดียวกันกับขวาย่างหนอ) สลัยกันเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การเดินให้เดินช้าๆ ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ 1 คืบเป็นอย่างมาก เพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น ส่วนสายตาให้ดูที่เท้าหรือมองที่พื้นในระยะไม่เกิน 3 ก้าว
      เมื่อเดินสุดสถานที่ ให้นำเท้ามาเคียงกัน ยืนตัวตรง หลับตา กำหนด ยืนหนอ ช้า ๆอีก 5 ครั้ง จากนั้นให้ลืมตาก้มหน้าลงดูปลายเท้า เพื่อทำท่ากลับต่อไป
      ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า กลับหนอ 4 ครั้ง
      ครั้งที่ 1 ยกปลายเท้า ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา 90 องศา พร้อมกับกำหนด กลับ โดยใช้สติอยู่ที่ส้นเท้าขวา เมื่อได้ 90 องศาแล้ว ก็ค่อยๆ วางปลายเท้าลง พร้อมกับกำหนดว่า หนอ
      ครั้งที่ 2 เคลื่อนเท้าซ้ายมาชิดกับเท้าขวา พร้อมกับกำหนด กลับ โดยให้สติอยู่ที่เท้าซ้ายที่เคลื่อนไหว แล้วค่อยๆ วางเท้าซ้ายลงพร้อมกับกำหนด หนอ
      ครั้งที่ 3 ทำเหมือนครั้งที่ 1
      ครั้งที่ 4 ทำเหมือนครั้งที่ 2 ซึ่งอยู่ในทางกลับหลังหันพอดี
      จากนั้นให้กำหนด ยืนหนอ ช้าๆ อีก 5 ครั้ง และลืมตาก้มหน้ามองดูปลายเท้าแล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้จนหมดเวลาที่ต้องการการกำหนดเดิน ระยะที่ 2 ยกหนอ เหยียบหนอ ระยะที่ 3 ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ระยะที่ 4 ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ มีวิธีการเดินในลักษณะเดียวกันกับระยะที่ 1 แต่มีความละเอียดในการกำหนดมากขึ้น ดังนี้
      ระยะที่ 2 กำหนดว่า ยกหนอ เหยียบหนอ
      ระยะที่ 3 กำหนดว่า ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
      ระยะที่ 4 กำหนดว่า ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
  • การกำหนดอิริยาบถนั่ง กระทำต่อจากการเดินจงกรมอย่าให้ขาดตอน เมื่อเดินจงกรมถึงสถานที่นั่ง กำหนด ยืนหนอ อีก 5 ครั้ง ตามที่กระทำมาแล้วเสียก่อน แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอๆ ช้าๆ จนกว่าจะสุดมือ เวลานั่งค่อยๆ ย่อตัวลง พร้อมกับกำหนดตามอาการที่ทำไปจริง เช่น ย่อตัวหนอ ท้าวพื้นหนอ คุกเข่าหนอ นั่งหนอ
    วิธีนั่ง ให้นั่งขัดสมาธิ คือ ขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรง หลับตา เอาสติมาจับอยู่ที่ท้อง พองยุบ เวลาหายใจเข้าท้อง กำหนดว่า พองหนอ ใจที่นึกถับท้องที่พองต้องให้ทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน หายใจออก ท้องยุบ กำหนดว่า ยุบหนอ ใจที่นึกกับท้องที่ยุบต้องทันกัน ข้อสำคัญให้สติจับอยู่ที่การพองการยุบของท้องเท่านั้น อย่าดูลมที่จมูก อย่าตะเบ็งท้องให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงที่ท้องพองไปข้างหน้า ท้องยุบมาทางหลัง อย่าให้เห็นไปว่าท้องพองขึ้นข้างบน ท้องยุบลงข้างล่าง ให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไป จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด
  • การกำหนดอิริยาบถนอน ค่อยๆ เอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตามไปว่า นอนหนอ ๆ ช้า ๆ จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้ วให้เอาสติมาจับที่ท้อง แล้วกำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ ต่อไปเรื่อยๆ ให้คอยสังเกตให้ดีว่าจะหลับไปตอนพองหรือตอนยุบ
  • การกำหนดอิริยาบถต่างๆ การกระทำกิจการต่างๆ เช่น การรับประทานอาหาร ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะในอาการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง คือ มีสติสัมปชัญญะเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
  • การกำหนดทวารทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย เมื่อตาเห็นรูป ให้กำหนดเห็นหนอ ๆ ตั้งสติไว้ที่ตา หูได้ยินเสียง ให้กำหนดว่า ได้ยินหนอๆ ตั้งสติไว้ที่หู จมูกได้กลิ่น ให้กำหนดว่า กลิ่นหนอๆ ตั้งสติไว้ที่จมูก เวลาลิ้นได้รส ให้กำหนดว่า รสหนอ ๆ ตั้งสติไว้ที่ลิ้น กายถูกเย็นร้อยอ่อนแข็ง ให้กำหนดว่า ถูกหนอๆ ให้สติไว้ตรงกายที่สัมผัส ใจนึกถึง ให้กำหนด คิดหนอๆ ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่

2. การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวลา (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน) หมายถึง การมีสติกำหนดรู้อย่างเท่าทันเรื่องเวทนา เมื่อเกิดความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ก็รู้ตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ ในขณะเดินจงกรมและนั่งสมาธิอยู่นั้น เมื่อมีเวทนาต่างๆ เกิดขึ้น เช่น เจ็บปวด เมื่อย คัน ชา เป็นต้น ให้ตั้งสติกำหนดตามความรู้สึกนั้นๆ ว่า เจ็บหนอ ปวดหนอ เมื่อยหนอ คันหนอ ชาหนอ จนกว่าความรู้สึกนั้นจะหายไป และเมื่อความรู้สึกนั้นหายไปแล้ว ให้กลับมากำหนด พองยุบเหมือนเดิม

3. การตั้งสติสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน) หมายถึง การมีสติกำหนดรู้ทันสภาพหรืออาการของจิตว่า จิตในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร ก็รู้ตามที่มันเป้นอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น ในขณะเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เมื่อจิตคิดถึงเรื่องต่างๆ ให้ตั้งสติกำหนดที่ลิ้นปี่ว่า คิดหนอ เมื่อจิตเกิดความยินดีหรือชอบใจขึ้น ให้กำหนดว่า ยินดีหนอ ชอบใจหนอ เมื่อจิตโกรธ กำหนดว่า โกรธหนอ

4. การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) หมายถึง การมีสติกำหนดรู้ทันสิ่ง ปรากฏการณ์ หรืออารมณ์ ที่เกิดกับจิตที่คิดเป็นกุศล อกุศล หรือที่เป็นกลางๆ (ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล) อาศัยเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น เมื่อเหตุปัจจัยดับไป สิ่งปรากฏการณ์ หรืออารมณ์นั้น ก็ดับไปด้วย ไม่มีสิ่งใดมีตัวตนที่แท้จริง

การแผ่เมตตา และการอุทิศส่วนกุศล
ทุกครั้งที่ฝึกบริหารจิตและเจริญปัญญา นักเรียนควรแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลในขณะที่ยังหลับตาอยู่จนกว่าจะแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศลเสร็จจึงลืมตา การตั้งใจแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลควรออกเสียงดังๆ (โดยในระยะแรกๆ ครูควรกล่าวนำก่อน)

การแผ่เมตตา ให้นักเรียนนั่งอยู่ในท่าสมาธิ
การอุทิศส่วนกุศล ให้นักเรียนเปลี่ยนท่านั่งไปเป็นท่านั่งพับเพียบและประนมมือ

คำกล่าวนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (กล่าว 3 หน)

บทแผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหารันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

บทอุทิศส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า
ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครู อุปัชฌาย์ และอาจารย์ของข้าพเจ้า
ขอให้ครู อุปัชฌาย์ และอาจารย์ของข้าพเจ้าจงมีความสุข

อิทัง สัพพะเวทะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เทวดาทั้งหลาย
ขอให้เทวดาทั้งหลาย จงมีความสุข

อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย
ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข

อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข

อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลาย
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงมีควมสุขทั่วหน้ากันเทอญ

ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน 4
การบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปฏิฐาน 4 มีผลดีหรือประโยชน์ต่อผู้ฝึกฝนอบรมหลายประการ ซึ่งแยกกล่าวได้ดังนี้
ประโยชน์ของการบริหารจิต
การบริหารจิตอยู่เป็นประจำ ย่อมได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ได้แก่ การทำจิตใจสบาย ไม่มีความวิตกกังวล ความเครียด มีความจำดีขึ้น แม่นยำขึ้น ทำสิ่งต่างๆ ไม่ผิดพลาดหรือผิดพลาดน้อย เพราะมีสติสมบูรณ์ขึ้น การศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีจิตเป็นสมาธิ ยังทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิท รวมทั้งมีผลเกื้อกูลต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ชะลอความแก่ ทำให้ดูอ่อนกว่าวัย และรักษาโรคบางอย่างได้ เช่น โรคความดัน โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ ทำให้บุคลิกภาพเข็มแข็ง หนักแน่นมั่นคง สงบเยือกเย็น ไม่ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด มีความสุภาพอ่อนโยน ดูสง่ามีราศี องอาจน่าเกรงขาม มีอารมณ์เบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า ไม่เซื่องซึม สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ได้
  • ด้านประโยชน์สูงสุด ได้แก่ การบรรลุมรรคและนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ผู้ที่จะบรรลุถึงประโยชน์ระดับนี้ได้นั้น ต้องมีจิตที่สงบแน่วแน่มาก คือ ต้องได้สมาธิระดับสูง

ประโยชน์ของการเจริญปัญญา
ผู้ที่ฝึกฝนอบรมหรือพัฒนาตนให้มีปัญญาย่อมได้รับประโยชน์ ดังนี้

  • ด้านประโยชน์ต่อตนเอง เช่น ทำให้เป็นคนที่มีเหตุผลและใช้เหตุผลวิเคราะห์สิ่งต่างๆ จนเกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งนั้นๆ อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง รู้จักอะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรชั่ว อะไรเป็นธรรม อะไรไม่เป็นธรรม ช่วยให้เราเลือกทำตามความชอบธรรมมากกว่าอารมณ์ ทำให้วิถีชีวิตโดยส่วนรวมเป็นระเบียบและดีงาม ประโยชน์ต่อตนเองที่สำคัญที่สุด คือ ช่วยให้หลุดพ้นจากกิเลส เพราะมีปัญญารู้เท่ากิเลสต่างๆ ทำให้กำจัดละวางกิเลสเหล่านั้นได้
  • ประโยชน์ต่อสังคม กล่าวโดยสรุป ถ้าทุกคนในสังคมมีปัญญา คิดดี ทำดี และพูดดี ไม่ปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ปัญหาต่างๆ เช่น ความขัดแย้ง การแบ่งแย่งชิงดี ชิงเด่น การทะเลาะวิวาท การคดโกง ก็ลดลง สังคมก็สงบเรียบร้อยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

3 Comments

Filed under :: พระพุทธศาสนา ::

:: สุชีพ ปุญญานุภาพ ::

ประวัติและผลงาน

สุชีพ ปุญญานุภาพ ชื่อเดิมว่า บุญรอด สงวนเชื้อ เป็นบุตรชายของนายอ่วม และนางทองคำ สงวนเชื้อ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2460 ณ หมู่บ้านตลาดบางไทรป่า ตำบลไทรป่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

การศึกษาเบื้องต้น

เมื่อวัยเด็ก สุชีพได้เข้าเรียนหนังสือในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดโพธิ์ ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เมื่อจบชั้นประถมชั้นปีที่ 1 แล้วได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดสัมปทวน ตำบลวัดแค อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เมื่ออายุ 12 ปี การบรรพชา-อุปสมบท เมื่อจบชั้นประถมศึกษาตามเกณฑ์แล้ว สุชีพได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสัมทวน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2473 โดยมีพระปฐมนคราจารย์ (วงศ์ โอทาตวณโณ) เจ้าอาวาสวัดสัมปทวน และเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม เป็นผู้บวชให้ สามเณรบุญรอดหลังจากบวชแล้วได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดกันยาตุยาราม เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพมหานคร และได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดเทพศิริทราวาส จนสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ซึ่งเป็นประโยคสูงสุด สำเร็จใน พ.ศ.2482

ผลงานขณะเป็นพระภิกษุ

หลังจากจบการศึกษาชั้นสูงสุดแล้ว สุชีโว ภิกขุ ได้รับมอบหมายงานและตำแหน่งต่างๆ หลายอย่าง เช่น พ.ศ.2482-2492 ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดทำนิตยสารธรรมจักษุ พ.ศ.2484 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสังฆสภา ตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 พ.ศ.2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระศรีวิสุทธิญาณ พ.ศ.2486-2487 เสนอโครงการตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น และใน พ.ศ.2488 คณะสงฆ์เห็นชอบได้มีคำสั่งตั้งสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต) ผลงานทางพระพุทธศาสนาที่โดดเด่นของสุชีโว ภิกขุ คือ ผลงานด้านวรรณกรรม ซึ่งมีวรรณกรรรมประเภทร้อยกรอง สุภาษิต ความเรียง ชุมชนบทความสั้น ชุมนุมบันทึกเบ็ดเตล็ด ปาฐกถาทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่สำคัญท่านเป็นคนแรกที่ริเริ่มการแต่งจินตนิยายอิงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยอาศัยหลักฐานจากคัมภีร์พระไตรปิฏกฝ่ายเถรวาทล้วนๆ ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในรูปแบบจินตนิยายอิงหลักธรรมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา นอกจากผลงานด้านวรรณกรรมแล้ว ผลงานที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของสุชีโว ภิกขุคือ

  1. การร่วมกันก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล) ขึ้น ณ ประเทศศรีลังกา เมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2493
  2. ท่านยังเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่สามารถแสดงพระธรรมเทศนาเป็นภาษาอังกฤษแก่ชาวต่างประเทศ

ผลงานขณะเป็นฆราวาส

สุชีโว ภิกขุ หลังจากลาสิกขา (สึก) แล้วใช้ชื่อว่า สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้ปฏิบัติงานทั้งในด้านราชการ รัฐวิสาหกิจ และงานด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น

  1. เป็นเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ.2495-2501)
  2. เป็นรองผู้อำนวยการ อ.ส.ท.ฝ่ายการส่งเสริม (พ.ศ.2519-2520)
  3. เป็นอาจารย์พิเศษวิชาศาสนาเปรียบเทียบ ในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
  4. เป็นอนุกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  5. เป็นที่ปรึกษาองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล. :2523 )

ด้วยผลงานด้านการศึกษาดังกล่าวข้างต้น อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ จึงได้รับการยกย่องเกรียติคุณให้เป็น นักปราชญ์ทางปรัชญาศาสนา และได้รับมอบปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น

  1. สาขาวิชาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2539
  2. ศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.2542 เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งในและต่างประเทศ คือ

  1. ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.) 5 ธันวาคม พ.ศ.2495
  2. ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) 5 ธันวาคม พ.ศ.2496
  3. ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย (ท.ม.) 5 ธันวาคม พ.ศ.2497
  4. สิธุ (พม่า) 19 มกราคม พ.ศ2499
  5. ล้านช้างร่มขาวชั้น 3 (ลาว) 2 พฤษภาคม พ.ศ.2499

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้ปฏิบัติงานต่างๆ ด้วยดีและเป็นผู้มมีสุขภาพสมบรูณ์มาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อวันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2543 ท่านป่วยและเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ และเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2543 ท่านได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ 83 ปี 21 วัน คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ มีคุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้

  1. เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
  2. เป็นผู้มีความตั้งใจจริง
  3. เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน
  4. เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

Leave a comment

Filed under :: พระพุทธศาสนา ::

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

“จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือใจ ชีวิตที่ยิ่งใหญ่คือชีวิตที่อยู่ด้วย ทาน ศีล ภาวนา เมตตา และกตัญญู”

“สิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่ควรไปทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง แม้จะทำความผูกพัน และมั่นใจให้สิ่งนั้นกลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้ ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียวโดยความไม่สมหวังตลอดไป อนาคตที่ยังไม่มาถึงก็เป็นสิ่งไม่ควรไปยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้นจะสำเร็จประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย”
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ประวัติโดยย่อ
ท่าน กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อจันทร์ เพีย ( พระยา ) แก่นท้าวเป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคมพ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี ) มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปีท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดงแข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิดฉลาดดี

เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายได้เรียนอักขรสมัยในสำนักของอา คือเรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรมและอักษรขอมอ่านออกเขียนได้นับว่าท่านเรียนได้รวด เร็ว เพราะมีความทรงจำดี และมีความขยันหมั่นเพียรชอบการเล่าเรียนศึกษา
เมื่อ ท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชา เป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมาก เพราะ เอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้

เมื่ออายุท่านได้ ๑๗ ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้านท่านก็ได้ลาสิกขาออกไปช่วยงาน ของบิดามารดาเต็มความสามารถ ท่านเล่าว่าเมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่ลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนอย่างหนึ่งอีกอย่าง หนึ่งเพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า

“เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก”

คำสั่ง ของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่ามีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดา มารดาบวชท่านทั้งสองก็อนุญาตตามประสงค์ท่านได้เข้าศึกษาในสำนักพระอาจารย์เสาร์ ( หลวงปู่เสาร์ ) กันตสีโล วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี

อุปสมบท เป็นภิกษุภาวะในพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม)อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระ อุปฌายะ พระครูสีทาชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ ( สุ่ย ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๖

พระอุปัชฌายะขนานนามมคธให้ว่า “ภูริทัตโต”แปลว่า “ผู้ให้ปัญญา ผู้แจกจ่ายความฉลาด” เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ณ วัดเลียบต่อไป เมื่อแรกอุปสมบทท่านพำนักอยู่วัดเลียบ โดยได้เรียนกรรมฐานจากพระอาจารย์เสาร์เมื่องอุบลเป็นปกติและได้ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมือง อุบลราชธานีเป็นครั้งคราว

ใน ระหว่างนั้นได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วน แห่งพระวินัย คือ อาจาระความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตรปฏิบัติได้เรียบร้อยดีจนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจคือเดินจงกรมนั่งสมาธิกับการสมาทานธุดงควัตรต่างๆ

บำเพ็ญเพียร

ในสมัยต่อไปได้แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏที่แจ้ง หุบเขา ซอกเขา ห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่างทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร์ ) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงามและถ้ำสิงห์โตลพบุรีจนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสานทำการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนา แก่สหธรรมิกและอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสปฏิบัติตามมากขึ้นโดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายกระจายทั่วภาคอีสาน

ในกาลต่อมาได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษาแล้ว ไปเชียงใหม่ กับเจ้าพระคุณอุบาลี ( จันทร์ ) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษาแล้วออก ไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆนานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมาจังหวัดอุบลราชธานีพักจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษาแล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนครจำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมืองสกลนคร ( ปัจจุบันคืออำเภอ โคกศรีสุพรรณ ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่วัดป่าหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ๕ พรรษาเพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามศึกษา อบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่านได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่านให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

ปัจฉิมวัย
ใน วัยชรานับแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นต้นมาท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบท ไปตามสถานที่วิเวกผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ ) บ้าง แถวนั้นบ้าง
ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยุ่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปีในวัยชรานี้ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวันศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้วให้ชื่อว่า “มุตโตทัย”

มา ถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างเข้า ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ ศิษย์ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถ อาการอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราวแต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษาอาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษาศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ใกล้ไกลต่างก็ทะยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษาแล้วนำมาพักที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคมเพื่อสะดวกแก่ผู้รักษา และศิษยานุศิษย์ที่จะมาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธมีแต่ทรงกับทรุดลงโดยลำดับ
ครั้น เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาพักที่วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง เมืองสกลนคร โดยพาหนะรถยนต์ของแขวงการทางมาถึงวัดเวลา ๑๒.๐๐น. เศษ ครั้นถึงเวลา ๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ปีเดียวกันท่านก็ได้ถึงมรณภาพด้วยอาการสงบในท่างกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์เป็นต้น สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วันรวม ๕๖ พรรษา

” องค์ท่าน เบื้องต้นนอนสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงข้างขวา แต่เห็นว่าท่านจะเหนื่อยเลยค่อย ๆ ดึงหมอนที่หนุนอยู่ข้างหลังท่านออกนิดหนึ่งเลยกลายเป็นท่านนอนหงายไป พอท่านรู้สึกก็พยายามขยับตัวกลับคืนท่าเดิม แต่ไม่สามารถทำได้เพราะหมดกำลัง พระอาจารย์ใหญ่ก็ช่วยขยับหมอนที่หนุนหลังท่านเข้าไป แต่ดูอาการท่านรู้สึกเหนื่อยมากเลยต้องหยุดกลัวจะกระเทือนท่านมากไป ดังนั้น การนอนท่านในวาระสุดท้ายจึงเป็นท่าหงายก็ไม่ใช่ ท่าตะแคงข้างขวาก็ไม่เชิง เป็นเพียงท่าเอียง ๆ อยู่เท่านั้น เพราะสุดวิสัยที่จะแก้ไขได้อีก อาการท่านกำลังดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง บรรดาศิษย์ซึ่งโดยมากมีแต่พระกับเณรฆราวาสมีน้อยที่นั้งอาลัยอาวรณ์ด้วยความหมดหวังอยู่ขณะนั้น ประหนึ่งลืมหายใจไปตาม ๆ กัน เพราะจิตพะว้าพะวังอยู่กับอาการท่านซึ่งกำลังแสดงอย่างเต็มที่เพื่อถึงวาระสุดท้ายของท่านอยู่แล้ว ลมหายใจท่านปรากฏว่าค่อยอ่อนลงทุกทีและละเอียดไปตาม ๆ กัน ผู้นั้งดูลืมกระพริบตาเพราะอาการท่านเต็มไปด้วยความหมดหวังอยู่แล้ว ลมค่อยอ่อนและช้าลงทุกทีจนแทบไม่ปรากฏ วินาทีต่อไปลมก็ค่อย ๆ หายเงียบไปอย่างละเอียดสุขุมจนไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าท่านได้สิ้นไปแล้วแต่วินาทีใด เพราะอวัยวะทุกส่วนมิได้แสดงอาการผิดปกติเหมือนสามัญชนทั่ว ๆ ไปเคยเป็นกัน ต่างคนต่างสังเกตจ้องมองจนตาไม่กระพริบ สุดท้ายก็ไม่ได้เรื่องพอให้สะดุดใจเลยว่า “ขณะท่านลาขันธ์ลาโลกที่เต็มไปด้วยความกังวลหม่นหมองคือขณะนั้น ” ดังนี้

พอเห็นท่าไม่ได้การ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ พูดเป็นเชิงไม่แน่ใจขึ้นมาว่า “ไม่ใช่ท่านสิ้นไปแล้วหรือ ” พร้อมกับยกนาฬิกาขึ้นดูเวลา ขณะนั้นเป็นเวลาตี ๒ นาฬิกา ๒๓ นาที จึงได้ถือเวลามรณภาพของท่าน พอทราบว่าท่านสิ้นไปแล้วเท่านั้นมองดูพระเณรที่นั้งรุมล้อมท่านอยู่เป็นจำนวนมาก เห็นแต่ความโศกเศร้าเหงาหงอยและน้ำตาบนใบหน้าที่ไหลซึมออกมา ทั้งไอทั้งจามทั้งเสียงบ่นพึมพำไม่ได้ถ้อยได้ความใครอยู่ที่ไหนก็ได้ยินเสียงอุบอิบพึมพำทั่วบริเวณนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยความเงียบเหงาเศร้าใจอย่างบอกไม่ถูก เราก็เหลือทน ท่านผู้อื่นก็เหลือทน ปรากฏว่าเหลือแต่ร่างครอบตัวอยู่แวลานั้น ต่างองค์ต่างนิ่งเงียบไปพักหนึ่งราวกับโลกธาตุได้ดับลง ในขณะเดียวกับขณะที่ท่านอาจารย์ลาสมมติคือขันธ์ก้าวเข้าสู่แดนเกษม ไม่มีสมมติความกังวลใด ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องวุ่นวายอีก ผู้เขียนแทบหัวอกจะแตกตายไปกับท่านจริง ๆ เวลานั้นทำให้รำพึงรำพันและอัดอั้นตันใจไปเสียทุกอย่าง ไม่มีทางคิดพอขยับขยายจิตที่กำลังว้าวุ่นขุ่นเป็นตมเป็นโคลนไปกับการจากไปของท่าน พอให้เบาบางลงบ้างจากความแสนรักแสนอาลัยอาวรณ์ที่สุดจะกล่าว ที่ท่านว่าตายทั้งเป็นเห็นจะได้แก่คนไม่เป็นท่าคนนั้นแล

…………..ดวงประทีปที่เคยที่เคยสว่างไสวมาประจำชีวิตจิตใจได้ดับวูบสิ้นสุดลง ปราศจากความอบอุ่นชุ่มเย็นเหมือนแต่ก่อนมา ราวกับว่าทุกสิ่งได้ขาดสะบั้นหั่นแหลกเป็นจุณไปเสียสิ้น ไม่มีสิ่งเป็นที่พึ่งพอเป็นที่หายใจได้เลย มันสุดมันมุดมันด้านมันตีบตันอั้นตู้ไปเสียหมดภายในใจ ราวกับโลกธาตุนี้ไม่มีอะไรเป็นสาระพอเป็นที่เกาะของจิตผู้กำลังกระหายที่พึ่ง ได้อาศัยเกาะพอได้หายใจแม้เพียงวินาทีหนึ่งเลย ทั้งที่สัตว์โลกทั่วไตรภพอาศัยกันประจำภพกำเนิดตลอดมา แต่จิตมันอาภัพอับวาสนาเอาอย่างหนักหนา จึงเห็นโลกธาตุเป็นเหมือนยาพิษเอาเสียหมดเวลานั้น ไม่อาจเป็นที่พึงได้ ปรากฏแต่ท่านพระอาจารย์มั่นองค์เดียวเป็นชีวิตจิตใจเพื่อฝากอรรถฝากธรรมและฝากเป็นฝากตายทุกขณะลมหายใจเลย ……”

พระธาตุ
หลังองค์หลวงปู่มั่นลาขันธ์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงได้มี การจัดถวายพระเพลิงศพหลวงปู่ ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนครในวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว อัฐิขององค์หลวงปู่ได้ถูกแบ่งแจกไปตามจังหวัดต่างๆ และประชาชนได้เถ้าอังคารไป
ต่อมาปรากฏว่าอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ที่แจกจ่ายไปยังที่ต่างๆ ก็กลายเป็น พระธาตุไปหมด แม้แต่เส้นผมของท่านที่มีผู้เก็บไปบูชาในที่ต่างๆ ก็กลายเป็นพระธาตุ ได้เช่นเดียวกับอัฐิของท่าน

ปัญหาเรื่องอัฐิหลวงปู่มั่นกลายเป็นพระธาตุนี้ พระธรรมวิสุทธิมงคลหรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ศิษย์ขององค์หลวงปู่ รูปหนึ่งได้อธิบายไว้ว่า

“อัฐิพระอรหันต์ก็ดี ของสามัญชนก็ดี ต่างก็เป็นธาตุดินเช่นเดียวกันการที่อัฐิกลายเป็นพระธาตุได้นั้น ขึ้นอยู่กับใจหรือจิตเป็นสำคัญ อำนาจจิตของพระอรหันต์ท่านเป็นอริยจิตเป็นจิตที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสเครื่องโสมมต่างๆอำนาจซักฟอกธาตุขันธ์ให้เป็นธาตุบริสุทธิ์ไปตามส่วนของตน อัฐิจึงกลายเป็นพระธาตุไปได้ แต่อัฐิหรือกระดูกสามัญชนทั่วไป แม้จะเป็นธาตุดินเช่นเดียวกัน แต่จิตสามัญชนทั่วไปเต็มไปด้วยกิเลส จิตไม่มีอำนาจและคุณภาพที่จะซักฟอกธาตุขันธ์ของตนให้บริสุทธิ์ได้
อัฐิจึงจำต้องเป็นสามัญธาตุไปตามวิสัยจิตของคนมีกิเลส จะเรียกไปตามภูมิของจิตภูมิของธาตุว่า อริยจิต อริยธาตุ และสามัญจิต สามัญธาตุก็คงไม่ผิดเพราะคุณสมบัติของจิตของธาตุระหว่างพระอรหันต์กับสามัญชนย่อมแตกต่างกันอย่างแน่นอน ดังนั้นอัฐิจึงจำเป็นต้องต่างกันอยู่ดี

ผู้สำเร็จอรหันต์ทุกองค์เวลานิพพาน อัฐิต้องกลายเป็นพระธาตุด้วยกันหมดทั้งสิ้นหรือเปล่านั้นข้อนี้ยังเป็นเรื่องน่าสงสัยไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้อย่างนั้นทุกๆ องค์ เพราะว่าระหว่างกาลเวลาที่บรรจุอรหันต์จนถึงวันนิพพานนั้นพระอรหันต์แต่ละองค์มีเวลาสั้นยาว
แตกต่างกันพระอรหันต์ที่บรรลุธรรมวิเศษแล้วมีเวลาทรงขันธ์อยู่นานปีเวลานิพพานนาน ถึงอัฐิย่อมมีทางกลายเป็นพระธาตุได้โดยไม่มีปัญหาเพราะระยะเวลาที่ทรงขันธ์อยู่นาน

เช่นเดียวกันกับความสืบต่อแห่งชีวิต ด้วยการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย มีลมหายใจเป็นต้น มีการเข้าสมาบัติประจำอริยาบถเสมอ ซึ่งเป็นการซักฟอกธาตุขันธ์ให้บริสุทธิ์ไปตามส่วนของตนทุกวันทุกคืนโดยลำดับ

ครั้นถึงเวลานิพพานอัฐิจึงกลายเป็นพระธาตุไป เมื่อผสมกันเข้ากับธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งแผ่กระจายอยู่ทุกอณูบรรยากาศของโลก

ส่วนพระอรหันต์ที่บรรลุอรหัตผลแล้วมิได้ทรงขันธ์อยู่นานเท่าที่ควร เมื่อถึงเวลานิพพานอัฐิจะกลายเป็นพระธาตุเหมือนพระอรหันต์ที่ทรงขันธ์อยู่นานหรือไม่นั้น ยังเป็นปัญหาที่ตอบไม่สนิทใจ

พระอรหันต์ที่เป็นทันธาภิญญา คือผู้รู้ได้ช้าค่อยเป็นค่อยไป เช่น บำเพ็ญไปถึงขั้นอนาคามิผลแล้วติดอยู่นาน
กว่าจะก้าวขึ้นอรหัตภูมิได้ ต้องพิจารณาท่องเที่ยวไปมาอยู่ในระหว่างอรหัตมรรคกับอรหัตผล จนกว่าจิตจะชำนิชำนาญและมีกำลังเต็มที่จึงผ่านไปได้

ในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่ในขั้นอรหัตมรรคเพื่ออรหัตผลนี้เป็นอุบายวิธีซักฟอกธาตุขันธ์ไปในตัวด้วย เวลานิพพานอัฐิอาจกลายเป็นพระธาตุได้ ส่วนพระอรหันต์ที่เป็นขิปาภิญญาคือ รู้ได้เร็ว บรรลุอรหันต์ได้เร็ว และนิพพานไปเร็วพระอรหันต์ประเภทนี้ ไม่แน่ใจว่าอัฐิจะเป็นพระธาตุได้หรือไม่ประการใดเพราะจิตบริสุทธิ์ของท่านเหล่านี้ ไม่มีเวลาทรงและซักฟอกธาตุขันธ์อยู่นานเท่าที่ควร”

ปฏิปทา
“ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑. บังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา
จึงได้พักผ่อนให้คหบดีจีวรบ้างเพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒. บิณฑบาตกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวก
บ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉันจนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักจึงงด
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ
ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราวที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่ เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัยเมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ใน เสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาตเป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนยำเกรงไม่รบกวน นัยว่าในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในดงพงลึกจน สุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์ จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือเป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้”
พระอริยคุณคุณาธาร วัดเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น เรียบเรียง

โอวาท
สิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่ควรไปทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง แม้ทำความผูกพันและมั่นใจในสิ่งนั้น กลับมาปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้ ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว โดยไม่มีความสมหวังตลอดไป อนาคตที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดเหนี่ยวเช่นกัน อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้นที่สำเร็จเป็นประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ทำได้ไม่สุดวิสัย.

Leave a comment

Filed under :: พระพุทธศาสนา ::

:: พระนางมัลลิกา ::

พระนางมัลลิกา ที่มีบทบาทสำคัญในพระพุทธศาสนามีอยู่ 2 คน  คนหนึ่งเป็นธิดาของนายมาลาการ (ช่างทำดอกไม้)  ในเมืองสาวัตถี ต่อมาได้เป็นมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล  พระนางมัลลิกาอีกคนหนึ่งเป็นธิดาของมัลละกษัตริย์องค์หนึ่ง  ในเมืองกุสินารา ภายหลังได้สมรสกับพันธุละเสนาบดี  ซึ่งพระนางมัลลิกาที่จะศึกษาในที่นี้ หมายถึง  พระนางผู้เป็นภรรยาของพันธุละเสนาบดี

พระนางมัลลิกาเป็นราชธิดาของมัลลกษัตริย์พระองค์หนึ่งในเมืองกุสินาราแห่งแคว้นมัลละ พระนางเป็นหญิงเบญจกับยาณีที่มีความงามพร้อมทุกสัดส่วน คือ มีผมงาม ริมฝีปากงาม ฟันงาม ผิวพรรณงาม และวัยงาม

เมื่อเจริญวัย พระนางมัลลิกาก็ได้สมรสกับเสนาบดีพันธุละ โอรสของมัลลกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งในเมืองกุสินาราเช่นกัน จากนั้นได้พากันอพยพไปอยู่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล เพื่อไปพึ่งบารมีพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เป็นพระสหายสนิท พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่า เสนาบดีพันธูละ พระสหายมีฝีมือในการทำสงคราม จึงโปรดแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีบัญชาการกองทัพ

เมื่อพระพุทธเจ้า ได้เสด็จมาประกาศพระศาสนา ณ แคว้นโกศล ทำให้ศาสนาได้แพร่หลายที่เมืองสาวัตถี ประชาชนพากันนับถือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ได้มีการสร้างวัดพระพุทธศาสนาขึ้น 2 วัด คือ วัดเชตวัน สร้างถวายโดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี และวัดบุพพาราม สร้างถวายโดยนางวิสาขา เสนาบดีพันธุละและพระนางมัลลิกาได้มีโอกาสฟังธรรมของพระพุทธเจ้าและได้ นับถือพระพุทธศาสนาจากวัดทั้งสองแห่งนี้

เสนาบดีพันธุละและ พระนางมัลลิกาได้สมรสกันแล้วหลายปี แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ตามธรรมเนียมอินเดียสมัยนั้นถือว่าเคร่งครัดว่า ถ้าสตรีใดไม่มีบุตรกับสามี สตรีนั้นเป็นอัปมงคล เสนาบดีพันธุละจึงส่งพระนางมัลลิกากลับเมืองกุสินารา การส่งพระนางมัลลิกากลับนั้นเท่ากับไม่ยอมรับความเป็นภรรยาสามี

พระนางมัลลิกาจึงยอมกลับบ้านเมืองของตน ก่อนกลับให้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าที่เชตวัน พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความจริงแล้วตรัสแก่พระนางมัลลิกาว่า ไม่ต้องกลับไปบ้านหรอก กลับไปอยู่กับท่านเสนาบดีพันธุละเถิด

เสนาพันธุละได้เห็นพระนางมัลลิกากลับมา จึงถามว่า กลับมาทำไม เมื่อพระนางมัลลิกาเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังแล้ว เสนาพันธุละจึงรำพึงว่า พระพุทธเจ้าคงเห็นการณ์ไกลบางอย่าง จึงให้พระนางมัลลิกากลับ เสนาบดีพันธุละจึงรับพระนางมัลลิกาไว้เป็นชายาตามเดิม

ต่อมาไม่นานนัก พระนางมัลลิกาได้ตั้งครรภ์ เมื่อครบกำหนดแล้วคลอดบุตรแฝดเป็นชายทั้งคู่ เสนาบดีพันธุละกับพระนางมัลลิกาอยู่ร่วมกันมีบุตรชายอีก 32 คน ล้วนแฝดทั้งสิ้น เมื่อทุกคนเติบโตก็ได้รับการศึกษาเล่าเรียน และได้เข้ารับราชการทหารในกองทัพ

เสนาบดีพันธุละเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่จงรักภักดีต่อพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นคนซื่อตรง จนได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าปเสนทิโกศลให้เป็นผู้มีหน้าที่ปรบปรามข้าราชการที่ทุจริต ซึ่งเสนาบดีพันธุละได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี เป็นที่เคารพเชื่อถือของประชาชนทั่วไป แต่การปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามข้าราชการที่ทุจริตคดโกงนี้ได้ทำให้เสนาบดีพันธุละมีศัตรูมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการที่สูญเสียผลประโยชน์และอำนาจ จึงได้ยุยงและใส่ความว่า เสนาบดีพันธุละคิดจะแย่งอำนาจราชบัลลังก์จากพระเจ้าปเสนทิโกศล

ครั้งแรกพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงไม่เชื่อ แต่หนักๆ เข้าก็มีพระทัยหวั่นไหว ทั้งนี้เพราะได้สังเกตเห็นความนับถือของประชาชนชาวเมืองที่มีต่อเสนาบดีพันธุละ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงให้คณะนายทหารวางแผนฆ่าเสนาบดีพันธุละ พร้อมกับบุตรชายทุกคนที่เป็นนายทหาร

พระนางมัลลิกาทรงทราบข่าวร้ายจากผู้ที่หวังดีที่แอบเขียนจดหมายส่งข่าวมาบอกว่า สามีและบุตรชายของนางทุกคนถูกฆ่าตาย ซึ่งในขณะนั้นพระนางมัลลิกากำลังทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน การทำบุญเลี้ยงพระในครั้งนั้น พระนางมัลลิกาได้นิมนต์พระสารีบุตรมาเป็นประธานสงฆ์ ขณะที่กำลังทำบุญเลี้ยงพระอยู่นั้น หญิงรับใช้ได้ยกถาดอาหารออกมาเพื่อจะถวายพระสารีบุตรหกล้ม ทำให้ถาดอาหารหลุดมือตกลงแตกกระจายต่อหน้าพระสารีบุตรและพระนางมัลลิกา พระสารีบุตรจึงกล่าวเป็นทำนองให้สติพระนางมัลลิกาว่า สิ่งของแตกสลายเป็นเรื่องธรรมดา มันแตกสลายไปแล้วก็ช่างเถอะ อย่าได้คิดเสียใจเลย

เมื่อพระนางมัลลิกาได้ยินพระสารีบุตรกล่าวดังนั้น ก็ได้หยิบจดหมายลับซึ่งแจ้งข่าวร้ายเกี่ยวกับการตายของสามีและลูกๆ ของนางออกมาอ่านให้พระสารีบุตรฟัง พร้อมกับกล่าวว่า สิ่งของที่แตกสลายนี้ดิฉันทำใจได้ ไม่คิดเสียใจแต่อย่างใด แม้แต่ข่าวร้าย คือ การตายของพระสวามีและลูกๆ ของดิฉันยังทำใจได้ไม่เสียใจเลย

เมื่อพระสารีบุตรพร้อมด้วยพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้วได้กล่าวอนุโมนทาแก่พระนางมัลลิกาว่า ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่มีเครื่องหมายบอกให้รู้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้ได้ ทั้งลำบาก ทั้งอายุสั้น ซ้ำเต็มไปด้วยความทุกข์

ภายหลังทำบุญ เลี้ยงพระเสร็จแล้ว พระนางมัลลิกาได้เรียกลูกสะใภ้ทุกคนมา และเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พร้อมกับสอนลูกสะใภ้ว่า พวกเจ้าอย่าได้พยาบาทอาฆาตพระเจ้าปเสนทิโกศล ขอให้คิดว่าบิดาและสามีของพวกเจ้าต้องตายครั้งนี้ไม่มีความผิด เป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ตายเพราะถูกคำยุยง เนื่องมาจากความอาฆาตริษยา ขอให้คิดว่าบิดาและสามีของพวกเจ้าตายเพราะกรรมเก่าที่เคยทำมาก่อน ขอให้พวกเจ้าทุกคนอย่าได้โกรธและอาฆาต เพราะจะเป็นเวรติดตัวต่อไปอีก ขอให้อภัยแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล

เมื่อเสนาบดีพันธุละและบุตรชายทั้งหมดถูกฆ่าตายแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ส่งหน่วยสืบราชการลับติดตามความเคลื่อนไหวของพระนางมัลลิกาทุกฝีก้าว ทรงทราบเรื่องพระนางมัลลิกาทำบุญเลี้ยงพระ และเรื่องที่พระนางมัลลิกาประชุมลูกสะใภ้ที่บ้าน เพื่อให้อภัยแก่พระองค์ พระองค์ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก แต่ก็สายเสียแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปที่บ้านของพระนางมัลลิกา แล้วทรงสารภาพว่าพระองค์เป็นฝ่ายผิด ขอให้พระนางมัลลิกายกโทษให้พร้อมกับพระราชทานโอกาสแก่พระนางมัลลิกาว่าต้องการอะไรขอให้บอก จะพระราชทานให้ทุกอย่าง พระนางมัลลิกาจึงฉวยโอกาสขอพระราชทานอนุญาตกกลับไปเมืองกุสินารา บ้านเดิมของตน

พระเจ้าปเสนทิโกศลจำต้องพระราชทานโดยไม่เต็มพระทัยนัก แต่เพื่อชดเชยกับเรื่องนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้ทรงแต่งตั้งนายทหารผู้หนึ่งชื่อ ทีฆการายนะ ซึ่งเป็นหลานชายของเสนาบดีพันธุละขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่สืบแทนตำแหน่งของเสนาบดีพันธุละ

พระนางมัลลิกาและลูกสะใภ้ได้กลับมาอยู่ที่เมืองกุสินาราด้วยความผาสุก โดยวางใจตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จมาเมืองกุสินาราและเสด็จปรินิพพานที่นั้น พระนางมัลลิกาและลูกสะใภ้ก็ได้พากันไปนมัสการพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ด้วย พระนางมัลลิกาได้อยู่ที่เมืองกุสินาราด้วยความสุขจนสิ้นชีวิต

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

  • เป็นสาวิกาที่ดีของพระพุทธเจ้า ข้อนี้เห็นได้ชัดจากกรณีทีพระนางมัลลิกาถูกสามีส่งกลับบ้านเกิด เพราะไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ ก็คิดถึงพระพุทธเจ้าก่อนอื่น นี่เป็นตัวอย่างที่ดีว่า คนเรานั้นต้องมั่นคงในพระรัตนตรัย ก่อนจะทำอะไรก็ให้ “นึกถึงพระ” ก่อน แล้วโอกาสจะทำผิดพลาดย่อมมีน้อย หรือไม่มีเลย
  • เข้าใจโลกและชีวิต พระนางมีความเข้าใจธรรมดาของโลกและชีวิตเป็นอย่างดี คือ เข้าใจว่าทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกฏธรรมชาติ เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ย่อมมีจิตปล่อยวางไม่ดีใจเกินไปเมื่อมีสุข ไม่เสียใจเกินไปเมื่อได้ทุกข์ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อทราบว่าสามีและบุตรถูกฆ่า พระนางยังคงมีจิตใจมั่นคง ไม่แสดงอาการเศร้าโศกให้ปรากฏให้ปรากฏ
  • เป็นผู้ที่มีความอดทน จากตัวอย่างข้างต้นแสดงว่าพระนางมีขันติธรรมสูงยิ่ง เสมือนหนึ่งว่าไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น สู้อดกลั้นความเสียใจ ยังคงปฏิบัติหน้ที่คือการเลี้ยงภัตตาหารแด่พระสงฆ์ตามปกติ
  • เป็นผู้มีใจกว้าง มีความเมตตาสูงยิ่ง สามีและบุตรถูกฆ่าตายทั้งๆ ที่ไม่มีความผิด พระนางแม้จะมีความเสียใจ เสียดาย แต่ก็ทำใจได้ ไม่ผูกอาฆาตพยาบาทผู้เป็นเหตุให้พวกเขาตาย และยังสั่งสอนให้สะใภ้ทั้ง 32 คน ไม่ให้ผูกอาฆาตพยาบาทด้วย ให้ถือว่าเป็นผลกรรมของแต่ละคนที่ทำมา นับว่าเป็นผู้มีเมตตากรุณาแท้จริง น้อยคนจะทำได้อย่างนี้
  • เป็นภรรยาที่ดี แม้ถูกสามีส่งกลับมาตุภูมิเพราะหาว่าเป็นหมัน พระนางก็ยินดีปฏิบัติตาม ทั้งๆ ที่การที่สามีและภรรยาแต่งงานกันแล้วไม่มีบุตรนั้น ยังไม่แน่ว่าเป็นความบกพร่องของใคร อาจจะเป็นความบกพร่องของสามีก็ได้ แต่พระนางก็ยอมรับว่าตนบกพร่อง นับเป็นภรรยาที่ดีตามคติของชาวชมพูทวีปสมัยโบราณ ปัจจุบันคุณสมบัติข้อนี้ ถึงเราจะไม่นำมาใช้ทั้งหมด ก็สามารถปรับใช้ได้ในประเด็นที่ว่า เมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นในครอบครัว ภรรยาหรือสามี ก็ไม่ควรโทษแต่ฝ่ายหนึ่งแต่อย่างเดียว ควรหันมาพิจารณาตนเองด้วยว่าตนเองก็อาจมีข้อบกพร่องอะไรที่ควรปรับปรุงบ้าง เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น

3 Comments

Filed under :: พระพุทธศาสนา ::

::หมอชีวกโกมารภัจ::

หมอชีวกโกมารภัจเอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสในบุคคล เอตทัคคะ เป็นตำแหน่งทางพุทธศาสนาที่พระบรมศาสดาได้ประทานแต่งตั้งให้พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถเด่นกว่าท่านอื่นๆในด้านนั้นๆ และแต่ละตำแหน่ง พระพุทธองค์ประทานแต่งตั้งเพียง รูปเดียว ท่านเดียวเท่านั้น เหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องพุทธบริษัททั้ง 4 ไว้ในตำแหน่ง คือ

ได้รับการยกย่องตามเรื่องที่เกิดขึ้น ( อัตถุปปัตติโต ) ได้แสดงความ สามารถให้ปรากฏ
โดยสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ได้รับการยกย่องตามที่ได้สะสมบุญมาในอดีตชาติ ( อาคมันโต ) ได้สร้างบุญสะสมในด้านนั้น
มาตั้งแต่อดีตชาติ พร้อมทั้งตั้งจิตปราถนา เพื่อบรรลุตำแหน่งนั้นด้วย
ได้รับการยกย่อง ตามความเชี่ยวชาญ ( จิณณวสิโต ) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเป็นพิเศษ
ได้รับการยกย่องตามความสามารถเหนือผู้อื่น ( คุณาติเรกโต ) มีความสามารถในเรื่องที่ทำให้
ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะเหนือกว่าผู้อื่นที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน

หมอชีวกโกมารภัจ เป็นหมอที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก บรรดาหมอแผนโบราณรู้จักหมอชีวก โกมารภัจจ์กันเป็นอย่างดี

ชาติกำเนิด
ชีวกโกมารภัจ เป็นลูกของนางสาลวดี ซึ่งเป็นหญิงโสเภณีในเมืองราชคฤห์ธรรมดา หญิงโสเภณีจะไม่เลี้ยงลูกชาย เพราะช่วยสืบสายอาชีพไม่ได้ ดังนั้นเมื่อนางคลอดลูกออกมา แล้วรู้ว่าเป็นเพศชาย จึงให้สาวใช้นำลูกชายใส่กระด้งไปวางไว้ที่กองขยะ

บ่าย วันนั้น อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารเสด็จประพาสพระนคร ผ่านมาทางนั้น เห็นฝูงนกการุมล้อมเด็กทารกอยู่ ตรัสสั่งให้นายสารถีไปดูว่าเด็กยังมีชีวิตอยู่ หรือเปล่า เมื่อนายสารถีกลับมากราบทูลว่ายังมีชีวิตอยู่จึงรับสั่งให้อุ้มมาแล้วนำเข้า ไปมอบให้ นางนมเลี้ยงดูเป็นอย่างดีภายในประราชนิเวศแล้วตั้งชื่อให้ว่า “ชีวก” ซึ่งมาจากคำว่า “ชีวิต” คือรอดชีวิตมาได้ เมื่อเจริญวัยขึ้นมาได้ประทานนามเพิ่มเติมว่า “โกมารภัจ” ซึ่งหมายถึง เป็นบุตรบุญธรรมของพระราชกุมาร ทรงชุบเลี้ยงดูโอรสแท้ ๆ ของพระองค์ แม้ พระเจ้าพิมพิสารก็โปรดปรานประดุจหลานของพระองค์ และประชาชนทั่วไปก็เข้าใจว่าเป็นโอรสที่แท้จริง ของอภัยราชกุมาร

การศึกษา
เมื่อชีวกโกมารภัจ เจริญเติบโตเข้าสู่วัยเรียน และทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า จึงต้องการ ที่จะศึกษาวิชาความรู้เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต อาชีพที่เขาชอบคือหมอรักษาโรคเพื่อช่วย เหลือชีวิตมนุษย์ ดังนั้นเขาได้หนีออกจากวังเดินทางไปกับกองเกวียนพ่อค้า จนถึงเมืองตัก สิลา แล้วให้พ่อค้าที่เขาอาศัยมานั้นช่วยพาไปฝากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ คือ พระฤาษีโรคาพฤกษตริญญา ผู้เป็นเจ้าสำนัก ชีวกได้มอบหมายถวายตัวเป็นศิษย์รับใช้ ทำงานทุกอย่างในสำนักอาจารย์เพื่อแลกกับวิชาความรู้เพราะตนไม่มีทรัพย์สิน เป็นค่าเรียน เขาศึกษา อย่างตั้งอกตั้งใจ ทำให้เรียนได้เร็วกว่าศิษย์คนอื่น ๆ และสำเร็จจบหลักสูตรใน 7 ปี ซึ่งปกติคนอื่น จะเรียนถึง 16 ปี แม้จบหลักสูตรแล้ว ก็ยังมีความสงสัยในความรู้ของตนเองว่าอาจจะไม่ สมบูรณ์ จึงเข้าไปปรึกษาอาจารย์ ซึ่งอาจารย์ได้สั่งให้เขาออกไปหาต้นไม้ใบหญ้าหรือพืชชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ ที่เห็นว่าใช้ทำยาไม่ได้มาให้อาจารย์ เขาได้ใช้เวลาหลายวันเข้าไปในป่ารอบ ๆ เมืองตักสิลา ค้นหาจนทั่วก็ไม่พบใบหญ้าหรือพืชสักชนิดเดียวที่ใช้ทำยาไม่ได้ จึงรู้สึกผิดหวังกลัวอาจารย์จะตำหนิแต่พอแจ้งแก่อาจารย์แล้ว อาจารย์กลับยิ้มอย่างพอใจและกล่าวว่า “เธอเรียนจบแล้ว ออกไปประกอบอาชีพรักษาคนไข้ได้แล้ว”

ชีวกโกมารภัยได้เรียนวิชาแพทย์พิเศษ
ชีวกโกมารภัจ เป็นศิษย์ที่มีอัธยาศัยดี มีความเคารพนับถือเชื่อฟังอยู่ในโอวาทของอาจารย์ มีความกตัญญูกตเวที มีศีลธรรม และอัธยาศัยความสุขุมละเอียดเยือกเย็น สุภาพเรียบร้อยไม่พลาดพลั้ง อีกทั้งเชาว์ปัญญาก็ดีเยี่ยมจึงเป็นที่รักของอาจารย์ ท่านอาจารย์จึงเมตตาสอนวิชาแพทย์พิเศษให้อีกแขนงหนึ่ง ซึ่งอาจารย์จะไม่ค่อยสอนให้แก่ใคร ๆ คือ วิชาประสมยา ปรุงยาขนานเอก พร้อมทั้งวิธีการรักษาโรคให้ด้วย ยาขนานนี้พิเศษจริง ๆ สามารถรักษาโรคได้ทุกชนิด และวางยาครั้งเดียวไม่ต้องซ้ำ ยกเว้นโรคที่เกิดจากผลกรรมรักษาไม่ได้ เมื่อศึกษาจบครบ วิชาการที่อาจารย์ประสิทธิ์ประสาทให้แล้วได้ลาอาจารย์กลับสู่บ้านเมืองของตน

คนไข้คนแรกของชีวกโกมารภัจ
หมอชีวกโกมารภัจ ออกเดินทางจากเมืองตักสิลามุ่งสู่กรุงราชคฤห์พักผ่อนรอนแรมในระหว่างทางเสบียงที่อาจารย์มอบหมายก็ใกล้หมด จึงเที่ยวหารักษาใช้พอดีภริยาเศรษฐีในเมืองสาเกตเป็นโรคปวดศีรษะมาเป็นเวลาประมาณ 7 ปี พยายามรักษาสิ้นทรัพย์จำนวนมากก็ไม่หาย หมดอาลัยในชีวิตจึงปล่อยไปตามกรรม  เมื่อหมอชีวกโกมารภัจ ทราบจึงเข้าไปอาสารักษาให้ ทั้งคนไข้และเศรษฐีเห็นหมอยังหนุ่มอยู่ไม่เชื่อความสามารถ จึงบอกปัดไม่ยอมให้รักษา เพราะเกรงว่าจะเสียค่ารักษาเปล่า ๆ ไม่ได้ประโยชน์ แต่หมอชีวกโกมารภัจบอกจะรักษาให้ก่อน เมื่อหายแล้ว จึงจะรักค่ารักษา ดังนั้นเศรษฐีและภริยาจึงตอบตกลงยอมให้รักษา หมอชีวกโกมารภัจ ประกอบยาให้นัตถุ์เข้าทางจมูก ฤทธิ์ยาทำให้คนไข้อาเจียนออกมาทางปาก หลังจากนั้นโรคของนางก็หายเป็นปกติ เขาได้ รับค่ารักษาและรางวัลมาถึง 16000 กหาปณะ แล้วเดินทางต่อไปจนถึงกรุงราชคฤห์ เมื่อถึงแล้วหมอชีวกโกมารภัจ ได้เข้าเฝ้าพระบิดาอภัยราชกุมาร กราบทูลขออภัยโทษที่หนีไปโดยมิได้ทูลลา ทูลเล่าเรื่องการศึกษาวิชาแพทย์ตั้งแต่ต้นจนจบ ตลอดจนการเดินทางกลับแล้วได้ถวายเงินรางวัลที่ได้รับระหว่างทางแก่พระบิดา พระอภัยราชกุมารทรงปลาบปลื้มพระทัย คืนทรัพย์สินที่ถวายให้กลับคืนเพื่อเป็นทุนใช้สอย

ประวัติการรักษาโรคครั้งสำคัญ
เมื่อหมอชีวกโกมารภัจ เดินทางถึง กรุงราชคฤห์แล้ว ได้รับรักษาโรคต่าง ๆ จนมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลือทั่วทั้งกรุงราชคฤห์และแคว้นอื่น ๆ การรักษาโรครั้งสำคัญของหมอชีวก ก็คือ

* รักษาโรคริดสีดวงทวารให้พระเจ้าพิมพิสารจนหายสนิท ทำให้พระองค์สบายพระวรกายขึ้นได้พระราชทานรางวัลเป็นอันมากทั้งทรัพย์สินเงินทอง ข้าทาสบริวารและที่ดิน แต่หมอชีวกขอรับเพียงอย่างเดียวคือสวนมะม่วง จากนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงแต่งตั้งให้เป็น แพทย์หลวงประจำพระองค์
* ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ ซึ่งป่วยปวดศีรษะมานานเกือบ 10 ปี
* ผ่าตัดโรคฝีในลำไส้ให้ลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี
* รักษาอาการประชวรด้วยโรควัณโรคปอด ให้พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตีในการรักษาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตนั้น หมอชีวกเกือบถูกประหารชีวิตเนื่องจากพระองค์ท่านมีพระอัธยาศัยโหดร้าย สั่งประหารคนง่าย ๆ โดยไม่มีเหตุผลและพระองค์เกลียดกลิ่นเนยใสเป็นที่สุด บังเอิญยาที่จะรักษานั้นก็มีส่วนผสมเนยใสอยู่ด้วย ทำให้หมอชีวกหนักใจมาก จึงวางแผนเตรียมก่อนที่จะถวายการรักษา ได้กราบทูลขอพระราชทานช้างชื่อภัททวดี ซึ่งมีฝีเท้าเร็ว และประตูเมืองหนึ่งประตู โดยอ้างว่าเพื่อสะดวกในการออกไปเที่ยวหาตัวยาสมุนไพร ซึ่งบางชนิดต้องเก็บในเวลากลางคืน บางชนิดต้องเก็บในเวลากลางวัน การรักษาจึงจะได้ผลหมอชีวกได้ผสมยาโดยเคี่ยวใส่เนยใสบนเตาไฟจนสี รส และ กลิ่น เปลี่ยนไปเสร็จ แล้วนำเข้าไปถวายพระราชากราบทูลว่าเป็นโอสถสูตรใหม่มิได้ผสมเนยใสเมื่อพระ ราชาเสวย แล้วกราบทูลลากลับ เพื่อขอไปจัดโอสถมาถวายอีก พอออกมาพ้นพระราชนิเวศน์แล้วรีบตรงไปยังโรงช้างแจ้งแก่พนักงานดูแลช้างว่าขอ ช้างพังชื่อภัททวดี เพื่อรีบไปเก็บตัวยา เมื่อขึ้น หลังช้างแล้วรีบออกจากกรุงอุชเชนี ทันที พระโอสถที่พระจ้าจัณฑปัชโชตเสวยแล้ว ก็ละลายกระจายรสและกลิ่นออกมา ทำให้ พระเจ้าจัณฑปัชโชต ได้กลิ่นเนยใส จึงกริ้วขึ้นมาทันที รับสั่งให้ทหารรีบไปจับตัวหมอชีวกมา โดยเร็ว เมื่อทรงทราบว่าหนีออกจากเมืองไปแล้วรับสั่งให้ทหารนำพาหนะที่มีฝีม้าเร็ว ติดตาม จับตัวมาให้ได้ และทหารผู้นั้นก็ได้ติดตามไปทับ ณ หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามที่หมอชีวกได้คาดการณ์ไว้แล้วจึงเตรียมยาระบายอย่างแรงซ่อนไว้ ในเล็บ เมื่อนายทหารผู้นั้นจะเข้ามาจับกุม จึงถูกหมอชีวกหลอกให้กินยาระบายจนถ่ายท้องหมดเรี่ยวแรง ปล่อยให้หมอชีวกหนีต่อไปได้ ฝ่ายพระเจ้าจัณฑปัชโชต เมื่อพระโอสถออกฤทธิ์แล้ว พระอาการประชวรก็หายเป็นปกติ พระวรกายโปร่งเบาสบาย รู้สึกขอบใจหมอชีวก แม้ทหารที่ติดตามไปจับตัวหมอชีวก แล้วถูกหลอกให้กินยาระบายจับตัวไม่ได้ กลับมารายงานแล้ว พระราชาก็มิได้กริ้วโกรธแต่ประการใด รับสั่งให้จัดส่งของมีค่าหลายประการรวมทั้งผ้าเนื้อดีจากแคว้นการสี อันเป็นที่นิยมกันว่าเป็นผ้าดีฝีมือการเย็บการทอ ยอดเยี่ยมกว่าผ้าเมืองอื่น ๆ ให้ทูตนำไปมอบให้แก่หมอชีวกโกมารภัจ ที่กรุงราชคฤห์ หมอชีวกรับของรางวัลมาแล้วพิจารณาเห็นว่าเป็นผ้าเนื้อดีไม่สมควรที่ตนจะใช้ สอยเป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้เก็บรักษาไว้เพื่อ นำไปถวายพระบรมศาสดาต่อไป

แพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์
พระเจ้าพิมพิสารนอกจากจะแต่งตั้งให้หมอชีวกโกมารภัจ เป็นแพทย์ประจำพระองค์ แล้ว ยังมอบให้รับหน้าที่เป็นแพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอีกด้วย หมอชีวกโกมารภัจ ได้เคยถวายการรักษาให้พระบรมศาสดาครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก ได้ปรุงยาระบายชนิดพิเศษถวาย เพื่อระบายสิ่งหมักหมมในพระวรกายออก ครั้งที่สอง ในคราวที่พระเทวทัตกลิ้งหินหมายปลงพระชนม์พระศาสดาแต่หินกลิ้งไป
ผิดทาง มีเพียงสะเก็ดหินก้อนเล็ก ๆ กระเด็นมากระทบพระบาทจนทำให้พระโลหินห้อขึ้น หมอชีวกได้ปรุงพระโอสถพอกที่แผลแล้วใช้ผ้าพันแผลไว้พอรุ่งขึ้นตอนเช้าแผลก็ หายสนิท เป็นปกติ นอกจากนี้หมอชีวกยังได้ให้การรักษาพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคต่าง ๆ โดยไม่คิดมูลค่า จนไม่ค่อยจะมีเวลารักษาให้คนทั่ว ๆ ไป เพราะท่านหมอมีความห่วงใยพระภิกษุสงฆ์มากกว่าจงเป็นเหตุให้คนบางพวกเมื่อ เจ็บป่วยหรือเป็นโรคขึ้นมา ก็พากันมาบวชเพื่อสะดวกแก่ การให้หมอรักษา พอหายดีแล้วก็ลาสิกขาไป

กราบทูลขอพรห้ามบวชคนที่มีโรคติดต่อ
สมัยหนึ่งในพระนครราชคฤห์เกิดโรคสกปรก โรคติดต่อและโรคร้ายแรง ระบาดไปทั่วกรุง เช่น

* กุฏฐัง โรคเรื้อน
* คัณโฑ โรคฝีดาษ
* กิลาโส โรคกลาก
* โสโส โรคไข้มองคร่อ
* อปมาโร โรคลมบ้าหมู

ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นกันทั่วไปแก่ประชาชนพลเมือง ทั้งภายนอกทั้งภายในราชสำนัก ตลอดจนพระสงฆ์ในอารามต่าง ๆ หมอทั้งหลายต้องทำงานกันอย่างหนัก ส่วนหมอชีวกโกมารภัจ ก็จะให้การรักษาแก่พระภิกษุสงฆ์และบุคคลภายราชสำนักก่อน เนื่องจากหมอชีวกโกมารภัจ รักษาแล้วได้ผลหายเร็วค่ารักษาถูกกว่าหมออื่น โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์แล้วจะรักษาให้ โดยไม่คิดค่ายาค่ารักษาแต่ประการใด ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีคนคิดอาศัยพระศาสนาเพื่อเข้ามารักษาตัว โดยเข้ามาบวชเป็น พระให้หมอรักษาจนหายจากโรคที่เป็นอยู่แล้วก็สึกออกไป และคนพวกนี้ก็เป็นตัวนำเชื้อโรคบางอย่างมาแพร่เชื่อติดต่อให้พระ เช่น โรคเรื้อนและโรคกลากเกลื้อน เป็นต้น จนระยะหลัง ๆ หมอชีวกสังเกตเห็นว่าคนหัวโล้นมีมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม เมื่อสอบถามดู จึงได้ทราบความจริงว่าเพิ่งสึกมาจากพระ และที่บวชก็มิได้บวชด้วยศรัทธา แต่บวชเพื่อรักษาตัว เมื่อโรคหายแล้วก็สึกออกมา ด้วยเหตุนี้ วันหนึ่งหมอชีวกเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลของพรว่า “ขออย่าได้บวชให้คนที่มีโรคติดต่อทั้ง 5 ชนิดข้างต้นเลย”  พระพุทธองค์ประทานให้ตามที่กราบทูลขอ และได้ประกาศให้ภิกษุสงฆ์ทราบโดยทั่วกัน ตั้งแต่นั้นมา คนที่เป็นโรคทั้ง 5ชนิดนั้นก็ไม่สามารถบวชในพระพุทธศาสนาได้

กราบทูลขอพรให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้
หมอชีวกโกมารภัจ หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชตจนหาย เป็นปกติดีแล้ว ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นผ้าเนื้อดีจากแคว้นกาสี แต่ท่านหมอคิดว่า ผ้าเนื้อดี อย่างนี้ ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้น้อมนำผ้านั้นไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า “ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้” พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ การที่หมอชีวกโกมารภัจ กราบทูลขอพรเช่นนั้น ก็เพราะแต่ก่อนนั้นภิกษุใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่ชาวบ้านทั้งหลายทิ้งตามกองขยะบ้าง กองหยากเยื่อบ้าง ผ้าที่ห่อศพทิ้งในป่าบ้าง นำมาทำความสะอาดแล้วเย็บย้อมเป็นผ้าสบงจีวร สำหรับนุ่งห่ม จะไม่รับผ้าที่ชาวบ้านถวาย หมอชีวกโกมารภัจ เห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้ จึงกราบทูลขอพรและได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรก ผ้าที่ภิกษุรับอย่างนี้เรียกว่า“คฤหบดีจีวร” แม้พระพุทธองค์จะทรงอนุญาตตามที่หมอชีวกโกมารภัจ กราบทูลขอ แต่ก็ยังมีพุทธ ดำรัสตรัสว่า “ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือ ปรารถนาจะรับคฤหบดีรจีวรก็ให้รับ” และได้ตรัสสรรเสริญความสันโดษคือความยินดีตามมีตามได้ พระพุทธองค์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุโมทนาบุญแก่หมอชีวกผู้ถวายผ้านั้น เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมดำรงอยู่ในอริยภูมิคือพระโสดาบัน

หมอชีวกโกมารภัจสร้างวัด
หมอชีวกโกมารภัจ เมื่อยามว่างเว้นจากการรักษาคนไข้ก็หวนคิดถึงตนเอง มีความปรารถนาจะเข้าเฝ้าใกล้ชิดพระบรมศาสดาอย่างน้อยวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น เพื่ออบรมจิตใจได้มากขึ้น แต่วัดเวฬุวันก็ตั้งอยู่ห่างไกลจากบ้าน อีกทั้งไม่สะดวกในการฟังธรรม และการรักษาพยาบาลภิกษุไข้ จึงได้น้อมนำถวายสวนมะม่วงที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้แก่ตนนั้น สร้างวัดถวายในพระพุทธศาสนาสร้างพระคันธกุฏีที่ประทับส่วนพระพุทธองค์ พร้อมด้วยกุฏิสงฆ์ ศาลาฟังธรรมบ่อน้ำ และกำแพงขอบเขตวัดพร้อมบริบูรณ์ทุกสิ่งแล้ว กราบทูลอาราธนา พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พุทธสาวกเสด็จเข้าประทับยังพระอารามใหม่นั้น ถวาย อาหารบิณฑบาตเป็นการฉลองพระอารามแล้ว หลังน้ำทักษิโณทกให้ตกลงบนฝ่าพระหัตถ์ของพระบรมศาสดา กล่าวอุทิศถวายมอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคาร ให้เป็นศาสนสถานอยู่จำพรรษาของภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง 4 พระอารามใหม่นี้ได้นามตามผู้ถวายว่า “ชีวกัมพวัน” (ชีวก+อัมพวัน)

พาพระเจ้าอชาตศัตรูเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
อชาตศัตรูราชกุมาร มีพระอัธยาศัยคิดทรยศไม่ซื่อตรง ขาดความจงรักภักดีต่อพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นพระราชบิดาอยู่แล้วต่อมาได้คบหาสมาคมกับพระเทวทัต มีศรัทธาเลื่อมใสได้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงด้วยปัจจัย 4 ถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระบิดา อีกทั้งให้การ สนับสนุนพระเทวทัตกระทำอนัตริยกรรมลอบปลงพระชนม์พระบรมศาสดาและทำสังฆเภท ทำลายสงฆ์ให้แตกแยกกัน ต่อมา พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบเพราะกระทำกรรมหนัก พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทราบ ข่าวก็สะดุ้งพระทัยกลัวภัยจะถึงตัว ถึงกับเสวยไม่ได้บรรทมไม่หลับติดต่อกันหลายวัน กลัด กลุ้มพระทัยเป็นที่สุด คืนเพ็ญวันหนึ่งพระองค์ไม่สามารถจะนิทราหลับลงได้จึงเรียกอำมาตย์ทั้งหลายเข้าเฝ้ายามดึกทรงปรึกษาว่า “คืนเดือนเพ็ญอย่างนี้จะไปหาสมณพราหมณ์ผู้มีศีลคนดี จึงจะสามารถทำจิตใจให้สงบได้” พวกอำมาตย์ล้วนแต่แนะนำเดียรถีย์อาจารย์ของตน ได้แก่ ครูทั้ง 6 ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูก็เคยไปฟังคำสอนมาแล้วล้วนแต่ไร้สาระทั้งสิ้น หมอชีวกโกมารภัจ อยู่ในที่นั้นด้วย จึงกราบทูลแนะนำให้ไปเฝ้า พระสมณโคดมบรมศาสดา ซึ่งขณะนี้พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ชีวกัมพวันใกล้ ๆ บ้านของตนนี่เอง พระเจ้าอชาตศรัตรูทรงเห็นด้วย จึงเสด็จไปพร้อมด้วยกองจตุรงคเสนา เมื่อเสด็จไปถึง ได้เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ตรัสทักทายปฏิสันถารขึ้นก่อนแล้ว ตรัสถามถึงราชกิจต่าง ๆ ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูไม่เก้อเขิน และทรงดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ที่ พระพุทธองค์ไม่ทรงถือโทษในการกระทำของพระองค์ที่ผ่านมาพระพุทธองค์ ทรงทราบว่าพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระทัยผ่องใสดีแล้ว จึงแสดงพระธรรมเทศนา สมัญผลสูตร ให้ทรงสดับ เมื่อจบลงทรงมีพระทัยผ่องใสโสมนัสยิ่งขึ้น เกิดศรัทธาเลื่อมใสถวายตัวเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งตลอดชีวิต (ถ้าพระองค์ไม่ทำ ปิตุฆาตคือฆ่าพระบิดาเสียก่อน ก็จะได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นแน่) จากนั้น ได้กราบขอขมาโทษต่อพระพุทธองค์เสด็จกลับพระราชนิเวศน์ หมอชีวกโกมารภัจ ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชนทั่วไปเป็นอเนกประการ ท่านเป็นอุบาสกผู้เป็นพระอริยชั้นพระโสดาบัน พระบรมศาสดา ได้ ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่ายเลื่อมใสในบุคคล

คนไข้คนแรกของชีวกโกมารภัจ
หมอชีวกโกมารภัจ ออกเดินทางจากเมืองตักสิลามุ่งสู่กรุงราชคฤห์พักผ่อนรอนแรมในระหว่างทางเสบียงที่อาจารย์มอบหมายก็ใกล้หมด จึงเที่ยวหารักษาใช้พอดีภริยาเศรษฐีในเมืองสาเกตเป็นโรคปวดศีรษะมาเป็นเวลาประมาณ 7 ปี พยายามรักษาสิ้นทรัพย์จำนวนมากก็ไม่หาย หมดอาลัยในชีวิตจึงปล่อยไปตามกรรม  เมื่อหมอชีวกโกมารภัจ ทราบจึงเข้าไปอาสารักษาให้ ทั้งคนไข้และเศรษฐีเห็นหมอยังหนุ่มอยู่ไม่เชื่อความสามารถ จึงบอกปัดไม่ยอมให้รักษา เพราะเกรงว่าจะเสียค่ารักษาเปล่า ๆ ไม่ได้ประโยชน์ แต่หมอชีวกโกมารภัจบอกจะรักษาให้ก่อน เมื่อหายแล้ว จึงจะรักค่ารักษา ดังนั้นเศรษฐีและภริยาจึงตอบตกลงยอมให้รักษา หมอชีวกโกมารภัจ ประกอบยาให้นัตถุ์เข้าทางจมูก ฤทธิ์ยาทำให้คนไข้อาเจียนออกมาทางปาก หลังจากนั้นโรคของนางก็หายเป็นปกติ เขาได้ รับค่ารักษาและรางวัลมาถึง 16000 กหาปณะ แล้วเดินทางต่อไปจนถึงกรุงราชคฤห์ เมื่อถึงแล้วหมอชีวกโกมารภัจ ได้เข้าเฝ้าพระบิดาอภัยราชกุมาร กราบทูลขออภัยโทษที่หนีไปโดยมิได้ทูลลา ทูลเล่าเรื่องการศึกษาวิชาแพทย์ตั้งแต่ต้นจนจบ ตลอดจนการเดินทางกลับแล้วได้ถวายเงินรางวัลที่ได้รับระหว่างทางแก่พระบิดา พระอภัยราชกุมารทรงปลาบปลื้มพระทัย คืนทรัพย์สินที่ถวายให้กลับคืนเพื่อเป็นทุนใช้สอย

1 Comment

Filed under :: พระพุทธศาสนา ::

:: พุทธประวัติ ::


ในสมัยพุทธกาล อินเดียหรือชมพูทวีป แบ่งอาณาเขตเป็น 2 เขตคือ

ภาคกลาง เรียกว่า มัชฉิมชนบทหรือมัธยมประเทศ เป็นที่อยู่ของชนชาติอริยกะ หรืออารยัน แปลว่า ผู้เจริญเป็นดินแดนของชนผิวขาว

ภาครอบนอก เรียกว่า ประจันตชนบทหรือประจันตประเทศ คือ ประเทศปลายเขตเป็นที่อยู่ของชนชาติมิลักขะ หรืออนารยชน เป็นดินแดนของชนพื้นเมือง

ชมพูทวีป คืออาณาเขตที่เป็นประเทศอินเดีย และเนปาลในปัจจุบัน (ปัจจุบันเลิกใช้ชื่อชมพูทวีปนี้แล้ว) ในสมัยพุทธกาล ชมพูทวีปนอกจากแบ่งเป็น 2 เขตดังกล่าวแล้ว ได้แบ่งเป็นแคว้นต่างๆ มีจำนวน 16 แคว้น แต่ละแคว้นที่มีความสำคัญในสมัยพุทธกาลมีเพียง 6 แคว้น คือ แคว้นมคธ แคว้นวังสะ แคว้นอวันตี แคว้นกาสี แคว้นสักกะ และแคว้นโกศล

* แคว้นมคธ ตั้งอยู่ในบริเวณยุทธศาสตร์ คือ เป็นแหล่งแม่น้ำคงคา และลำน้ำหลายสาขามาบรรจบกัน จึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีกรุงราชคฤห์เป็นเมืองหลวง พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ครองนครเดิม กรุงราชคฤห์มีลักษณะเป็นหุบเขามีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก ต่อมาสมัยพระเจ้าอชาตศัตรูได้ย้ายกรุงราชคฤห์ออกจากหุบเขา ไปสร้างเมืองปาฏลีบุตรเป็นเมืองหน้าด่านเพื่อป้องกันการรุกรานของพวกวัชชี
* แคว้นวังสะ ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำคงคา และแม่น้ำยมนา มาบรรจบกัน จึงเป็นชุมทางพาณิชย์ทั้งทางบกและทางน้ำ มีกรุงโกสัมพีเป็นเมืองหลวง มีพระเจ้าอุเทนเป็นผู้ครองนคร ความสำคัญในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาเผยแผ่ศาสนาหลายครั้ง ทำให้มีผู้เสื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระนางสามาวดี มเหสีของพระเจ้าอุเทนด้วย
* แคว้นอวันตี เป็นแคว้นใหญ่ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของมัชฌิมชนบท มีกรุงอุชเชนีเป็นเมืองหลวง พระเจ้าจัณฑปัชโชติเป็นผู้ครองนคร ความสำคัญในสมัยพุทธกาล พระเจ้าจัณฑปัชโชติ ได้ทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จมายังกรุงอุชเชนี แต่พระพุทธเจ้าได้ส่งพระกัจจายนะมาประกาศศาสนาแทน
* แคว้นกาสี เป็นชุมทางของแม่น้ำคงคาและลำน้ำหลายสาขามาบรรจบกัน จึงมีความเจริญด้านพาณิชย์และวัฒนธรรม รองจากแคว้นมคธ และแคว้นโกศล แคว้นกาสีเป็นคู่แข่งของแคว้นโกศล ได้ทำสงครามตลอดมา มีกรุงพาราณาสีเป็นเมืองหลวง พระเจ้าพรหมฑัตต์เป็นผู้ครองนคร ความสำคัญในสมัยพุทธกาล แคว้นกาสีมีสินค้าที่มีชื่อ คือ ผ้าและไม้จันทน์ ซึ่งมีกลิ่นหอม
* แคว้นสักกะ ตั้งอยู่บนเชิงเขาหิมาลัย ตอนเหนือเป็นภูเขา ตอนใต้เป็ฯที่ราบเชิงเขา ลักษณะลาดเขา เรียกว่า Terai เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร เพราะเป็นที่สะสมตมตะกอน เป็นปุ๋ยธรรมชาติที่ดี ความสำคัญในสมัยพุทธกาล เป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธเจ้า คือกรุงกบิลพัสดุ
* แคว้นโกศล พื้นที่ส่วนใหญ่ครอบคลุมบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา มีกรุงสาวัตถีเป็นเมืองหลวง พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้ครองนคร ความสำคัญในสมัยพุทธกาล เป็นแหล่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้ประกาศศาสนาและเผยแผ่ศาสนาถึง 26 ปี ส่วนพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงเป็นอุบาสถตลอดพระชนมายุ

ลักษณะทางด้านการปกครอง แบ่งได้ 2 ระบบ

การปกครองแบบราชาธิปไตย พระมหากษัตริย์หรือผู้ครองแคว้นมีอำนาจสิทธิขาดผู้เดียว มีรัชทายาทสืบสันตติวงศ์แคว้นใหญ่ๆ ส่วนมากปกครองด้วยระบบนี้ เช่น

* แคว้นมคธ มีพระเจ้าพิมพิสารปกครอง
* แคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง
* แคว้นอวันตี มีพระเจ้าจันปัชโชตปกครอง
* แคว้นวังสะ มีพระเจ้าอุเทนปกครอง

การปกครองของกษัตริย์ แม้จะมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง แต่ก็มีธรรมเป็นหลักในการปกครอง หลักธรรมสำคัญของกษัตริย์ ได้แก่

* ทศพิธราชธรรม 10 ประการ
* สังคหวัตถุ 4 ประการ

ทศพิธราชธรรม มีธรรมประกอบด้วย

ทาน     การให้
ศีล     การรักษากาย วาจา ใจให้เป็นปกติ
บริจาคะ     การแบ่งปัน การบริจาคแก่ผู้ยาก
อาชวะ     ความซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น
มัททวะ     ความอ่อนโยน ไม่กระด้าง
ตบะ     ความเพียรพยายาม
อักโกธะ     ความไม่โกรธ
อวิหิงสา     ความไม่เบียดเบียน
ขันติ     ความอดทน อดกลั้น
อวิโรธนะ     ความไม่ทำให้ผิด (ความไม่คลาด)

สังคหวัตถุ ประกอบด้วย
ทาน     การให้ คือการให้สิ่งของให้คุณธรรม ให้อภัย
ปิยะวาจา     คำปราศรัยอันอ่อนโยน
อัตถจริยา     การทำตนให้เกิดประโยชน์
สมานัตตา     การวางตนเสมอตน เสมอปลาย

การปกครองแบบสามัคคีธรรม หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบนี้ไม่มีพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด ไม่มีการสืบสันตติวงศ์ การปกครองระบบนี้การบริหารประเทศขึ้นอยู่กับสถาบันสำคัญ คือ รัฐสภา ซึ่งสมัยเรียกว่า สัณฐาคาร มีประมุขรัฐสภาและมีคณะกรรมการรัฐสภาเป็นคณะกรรมการบริหารในสมัยพุทธกาล มีลักษณะดังนี้

ประมุขรัฐสภา     ผู้เคยดำรงตำแหน่งนี้คือพระเจ้าสุทโธทนะ
แห่งศากยวงศ์ แคว้นสักกะ กรุงกบิลพัสดุ์
คณะกรรมการ
ฝ่ายบริหารบ้านเมือง     ในสมัยพุทธกาล ได้แก่ กษัตริย์ลิจฉวี แห่งเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
กรรมการรัฐสภา     มาจากหัวหน้าครอบครัวใหญ่ๆ ระดับเมือง (ชนบท) ระดับอำเภอ

สมาชิกรัฐสภาจะต้องให้คำปฏิญญาต่อสัณฐาคาร หรือรัฐสภา เช่น จะรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ส่วนรวม จะไม่ขาดประชุม จะแสดงความคิดโดยเปิดเผย จะต้องปราศจากความโกรธแคว้นเมื่อถูกกล่าวหา และจะยอมรับสารภาพถ้ากระทำผิด

หลักธรรมที่การปกครองยึดถือปฏิบัติคือ อปริหานิยธรรม มีสาระสำคัญ คือ

* หมั่นประชุมกันอย่างเนืองนิตย์
* พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพียงกันเลิกประชุม
* ไม่บัญญัติสิ่งใหม่อันขัดต่อหลักการเดิม ไม่ล้มล้างบัญญัติเก่าที่ยังใช้ได้อยู่
* เคารพนับถือและเชื่อฟังผู้ใหญ่
* ปกครองสตรี มิให้ถูกข่มเหงรังแก
* เคารพในปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ
* คุ้มครองป้องกันภัยแก่ สมณ ชี พราหมณ์ ผู้เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน

ลักษณะสังคมของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล

สังคม หมายถึง กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน เป็นบ้าน เป็นเมือง เป็นประเทศชาติ โดยมีระบบแห่งความสัมพันธ์ที่มีหลักการ ได้แก่ การปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ ศาสนา ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยา และการนันทนาการ

ลักษณะทางสังคมของชมพูทวีปสมัยพุทธกาล ได้มีการแบ่งวรรณะอยู่แล้วเป็น 4 วรรณะคือ

* วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ พวกเจ้า กษัตริย์ นักรบ นักปกครอง สีประจำวรรณะ คือสีแดง
* วรรณะพราหมณ์ ได้แก่ นักบวช ศึกษาคัมภีร์พระเวท มีหน้าที่ติดต่อกับเทวะหรือเทพเจ้า ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สีประจำวรรณะ คือสีขาว
* วรรณะแพศย์ ได้แก่ พ่อค้า คหบดี หรือบุคคลที่ประกอบอาชีพต่างๆ เช่น พาณิชยกรรม เกษตรกรรม ศิลปหัตถกรรม พวกนี้เป็นชนชั้นกลางในสังคม สีประจำวรรณะ คือสีเหลือง
* วรรณะศูทร ได้แก่ กรรมกร ลูกจ้าง เป็นพวกชนชั้นต่ำ ผู้ใช้แรงงาน เป็นชนชั้นล่างของสังคม สีประจำวรรณะ คือสีเขียว หรือสีดำ

นอกจากนี้ ยังมีพวกนอกวรรณะ ที่เรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนชั้นต่ำสุด เพราะถือกำเนิดจากมารดาที่มีวรรณะสูงกว่าบิดา เช่น มารดาเป็นแพศย์ บิดาเป็นศูทร บุตรจะเกิดมาเป็นจัณฑาล ถูกเหยียดหยามจากวรรณะอื่นๆ ไม่มีศักดิ์และสิทธิ์ใดๆ ทางสังคม

มูลเหตุที่ทำให้เกิดวรรณะ

* ทฤษฏีเกี่ยวกับองคายพของพระผู้สร้าง กล่าวว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์จากอวัยวะส่วนต่างๆของพระองค์ สร้างวรรณะพราหมณ์จากพระโอษฐ์ สร้างวรรณะกษัตริย์จากพระพาหา สร้างวรรณะแพศย์จากพระอูรุ (โคนขาหรือตะโพก) สร้างวรรณะศูทรจากพระบาท
* สันนิษฐานตามหลักวิชา คำว่า วรรณะ แปลว่า สีผิว นักวิชาการสันนิษฐานว่า การแบ่งชนชั้น จะมีที่มาจากการถือเผ่าพันธ์และสีผิว พวกวรรณะสูง ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ และพวกพ่อค้า คือเผ่าอารยัน ส่วนพวกศูทรเป็นพวกเผ่ามิลักขะ หรือพวกดราวิเดียน ชนชาติอารยัน หรือพวกอริยกะ อพยพมาจากทางเหนือของภูมิภาคของชมพูทวีป และได้ขับไล่พวกมิลักขะหรือดราวิเดียนลงไปอยู่ทางใต้

ลักษณะเศรษฐกิจในชมพูทวีป

เศรษฐกิจในครั้งพุทธกาล ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ รองลงมา คือการค้าขาย และหัตถกรรมภายในครัวเรือน เช่น ช่างปั้นภาชนะดิน ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างทอผ้า ช่างฝึกม้าฝึกช้าง เป็นต้น เศรษฐกิจในชมพูทวีปโดยเฉพาะในแว่นแคว้นทางตอนเหนือและตอนกลาง ที่ราบลุ่มแม่น้ำจะมีเศรษฐกิจที่ดี ความเป็นอยู่เรื่องการอุปโภคบริโภคอยู่ในระดับดี มีกินมีใช้ เพราะสภาพภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์

ลักษณะความเชื่อทางศาสนา

ความเชื่อทางศาสนา แบ่งได้ 3 กลุ่ม

ความเชื่อในวิญญาณและเทพเจ้า เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนพื้นเมืองเดิม คือพวกมิลักขะเดิม พวกนี้จะเชื่อในสภาพ ดิน ฟ้า อากาศ ภูเขา ต้นไม้ เมื่อสภาพธรรมชาติเดิการเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พายุใหญ่ ชนพื้นเมืองจะเข้าใจว่าเป็นการกระทำของวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพวกมิลักขะได้ยกให้เป็นเทพเจ้า ซึ่งพวกอารยันที่มาภายหลังก็ยอมรับนับถือตามไปด้วย และได้ตั้งหลักการเกี่ยวกับเทพเจ้าหรือเทวดาไว้ 3 ประเภท คือ

* สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ เช่น พวกมหากษัตริย์ พระราชเทวี พระราชโอรส
* อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด เช่น เทวดาในสวรรค์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ความสุข ถ้าใครรักษาความดี ก็จะเกิดเป็นเทวดา เพราะเทวดาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม
* วิสุทธิเทพ เทวดาโดยบริสุทธิ์ หมายถึง การเป็นเทวดาด้วยความเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากกิเลส ปราศจากความเศร้าหมองจากความชั่ว วิสุทธิเทพนี้ หมายถึง พระพุทธเจ้า พระอรหันต์

ความเชื่อของพวกพราหมณ์ ได้แก่ ความเชื่อในคัมภีร์ไตรเพท มีความเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก จักรวาล และสรรพสิ่งทั้งปวง ความเชื่อของพราหมณ์อีกประการหนึ่งที่ละเลยไม่ได้ คือ ความเชื่อในเรื่องการล้างบาป มีความเชื่อว่า บาปของมนุษย์นั้นชำระล้างได้ด้วยแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ แม่น้ำคงคา ถ้าใครได้อาบ หรือได้กินน้ำในแม่น้ำคงคา ถือว่าได้บุญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองพาราณาสี ซึ่งเป็นเมืองของพระศิวะ และที่เมืองคยา ถือว่าเป็นเมืองของพระวิษณุ ผู้ที่ได้อาบ หรือดื่มกินน้ำในแม่น้ำคงคา โดยเฉพาะเมืองดังกล่าวถือว่าได้บุญมาก ความชั่วทั้งหมดจะถูกลอยไปกับสายน้ำกลายป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งทางกายและทางใจ

ลัทธิอิสระ คือ กลุ่มที่มีความเชื่ออิสระเป็นพวกนักบวชที่มีความมุ่งหมายที่จะค้นหาความจริงอย่างเป็นอิสระ มีหลักฐานกล่าวไว้ว่า มีถึง 336 ลัทธิ แต่หลักฐานทางพระพุทธศาสนากล่าวว่ามี 62 ลัทธิ แต่ที่ตั้งสำนักสั่งสอนในกรุงราชคฤห์แคว้นมคธนั้น มีลัทธิอิสระ 6 ลัทธิ สรุปได้ดังนี้

* ปูรณกัสสป มีความเห็นว่า บุญบาปไม่จริง การกระทำใดๆ ไม่ว่าดี เลว จะไม่มีผลอะไรตอบสนอง ลัทธินี้เรียกว่า อกิริยทิฐิ ซึ่งมีความเห็นว่าทำก็เท่ากับไม่ทำ
* มักขลิโคสาล มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์และความมัวหมอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ และเศร้าหมองเองตามธรรมชาติ ลัทธินี้เรียกว่า อเหตุกทิฐิ เห็นว่าไม่มีเหตุ ไม่มีผล
* อชิตเกสกัมพล มีความเห็นว่า คนไม่มี สัตว์ไม่มี มีแต่การประชุมแห่งธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
* ปกุธกัจจายนะ มีความเห็นว่า สิ่งที่เที่ยงแท้มีอยู่ 7 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ลม สุข ทุกข์ และชีวะไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่น มีอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เรียกว่า สัสตทิฐิ (เห็นว่านิรันดร) ในด้านจริยธรรม ถือว่าไม่มีการฆ่า ไม่มีคนถูกฆ่า เป็นเพียงแต่อาวุธชำแหละผ่านอวัยวะที่ไม่ยั่งยืนเท่านั้น แต่ชีวะที่เที่ยงแท้ไม่มีใครฆ่าได้
* นิครนถ์นาฏบุตร มีความเห็นว่า การทรมานกายให้ลำบากด้วยวิธีต่างๆ เป็นทางหลุดพ้น คือการไม่เบียดเบียน ไม่มีสมบัติที่จะครอบครอง ประพฤติตนสันโดษ เชื่อว่าการทรมานกายจะทำให้หลุดพ้นทุกข์ เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
* สัญชัยเวลัฏฐบุตร เป็นลัทธิที่ไม่ติดกับทรรศะใดๆ เป็นลัทธิลื่นไหลไม่ตายตัวแน่นอน เรียกว่า อมราวิกเขปิกาทิฐิ

Leave a comment

Filed under :: พระพุทธศาสนา ::

พลเมืองดี

ความหมายของประชาธิปไตย

ประชาธิปไตย มาจากคำว่า ประชา+อธิปไตย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Demukratia อันประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ demos (ประชาชน) และCratos (การปกครอง) ฉะนั้น ประชาธิปไตย จึงหมายถึง ประชาชนปกครอง หรือการปกครองโดยประชาชน

ความหมายของ ประชาธิปไตย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง “ระบอบการปกครองที่ถือมติของปวงชนเป็นส่วนใหญ่หรือการถือเสียงข้างมากเป็น ส่วนใหญ่”

ศ.ดร.กมล ทองธรรมชาติ ได้ให้ความหมายของประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน”

สรุปได้ว่า ประชาธิปไตยนั้นมีความหมายได้สองนัย ได้แก่ ประชาธิปไตยในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม หมายถึง รูปแบบของพฤิตกรรมมนุษย์ที่สอคดล้องกับหลักการของประชาธิปไตย และความหมายโดยนัยทางการปกครองในสังคม จะหมายถึง การปกครองที่ประชาชนมีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง ในการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมเป็นหลัก

 

หลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

* หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
* หลักเสมอภาค ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกันภายใต้กฏหมาย ความเท่าเทียมกันทางการเมือง
* หลักสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ได้แก่ การที่ประชาชนมีอำนาจอันชอบทำในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีอิสระในการกระทำในขอบเขตของกฏหมายและมีแนวทางปฏิบัติตนที่เป็นอิสระภายใต้ ขอบเขตของกฏหมาย
* หลักนิติธรรม การปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหลักกฏหมายเป็นกฏเกณฑ์และกติกาของประเทศ คือ การที่ประชาชนใช้กฏหมายเป็นหลักในการทำงานเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และเกิดความยุติธรรมในสังคม
* หลักการยอมรับเสียงข้างมาก คือ การที่ประชาชนในรัฐใช้มติของประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลักในการทำงาน
* หลักการใช้เหตุผล คือ การที่ประชาชนใช้หลักเหตุผลเป็นหลักในการหาข้อสรุปเพื่อทำงานรวมกันหรือการอยู่ร่วมกัน
* หลักประนีประนอม คือ การที่ประชาชนไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา แต่ใช้การตกลงร่วมกันในการขจัดข้อขัดแย้งที่ไม่เห็นด้วย
* หลักการยินยอม คือ การที่ประชาชนใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเป็นตัวของตัวเองโดยปราศจากการบังคับ มีความเห็นตรงกันจึงตัดสินใจผ่านตัวแทนของประชาชนในการดำเนินงานทางการเมืองและการปกครอง

 

ลักษณะของสังคมประชาธิปไตย

ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนจะปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

* การเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ตามขอบเขตที่บัญญัติไว้ในกฏหมาย
* การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินปัญหา ข้อขัดแย้ง
* การเคารพในกฏ กติกาของสังคมเพื่อความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
* การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของส่วนรวมและสังคม
* การมีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
* การยึดมั่นในหลักความยุติธรรม และการปฏิบัติต่อกันอย่างสม่ำเสมอภาคเท่าเทียมกันของสมาชิกทุกคนในสังคม

 

คุณลักษณะที่สำคัญของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตย

* มีความยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย
* มีการรู้จักใช้ปัญญา เหตุผลในการแก้ปัญหา
* รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งมีเหตุผลและมีการประนีประนอมกันในทางความคิด
* เคารพในสิทธิและการตัดสินใจของผู้อื่น
* มีความเสียสละและเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
* สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น
* ใช้เสียงข้างมากโดยไม่ละเมิดสิทธิเสียงข้างน้อย
* ยึดถือหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของสมาชิก
* ปฏิบัติตนตามกฏข้อบังคับของสังคม
* ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม ยึดมั่นในวัฒนธรรม ประเพณี
* รู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
* เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
* มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวีถีประชาธิปไตย

* ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง
* เกิดความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ
* สังคมมีความเป็นระเบียบ สงบเรียบร้อย
* สมาชิกทุกคนได้รับสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ จากกฏหมายความเท่าเทียมกัน เกิดความเป็นธรรมในสังคม
* สมาชิกในสังคมมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจต่อกัน

คุณค่าของประชาธิปไตย

1. คุณค่าทางการเมือง

* ประชาชนมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
* ประชาชนมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงตัวผู้ปกครองรัฐ เมื่อนำการบริหารงานผิดพลาด

2. คุณค่าทางเศรษฐกิจ

* ประชาชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้
* ประชาชนมีเสรีภาพในการผลิต การบริการ การลงทุนต่างๆ
* ประชาชนมีอำนาจในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า
* ประชาชนได้รับการคุ้มครองจากรัฐอย่างเป็นธรรมในการรับบริการทางเศรษฐกิจ

3. คุณค่าทางสังคม

* ประชาชนมีโอกาสได้รับความคุ้มครองจากรัฐในด้านสิทธิมนุษยชน
* ประชาชนมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์
* ประชาชนมีความเท่าเทียมกันในโอกาสและสิทธิในการดำเนินชีวิตภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมาย
* ประชาชนรู้จักอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี
* ประชาชนร่วมมือกันทำงานเพื่อความสงบสุขในรัฐ

 

คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยระดับประเทศชาติ

คนดี หมายถึง การเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศีลธรรมและค่านิยมที่ดีงามในสังคม การเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยมีความหมายและขอบเขตข้อจำกัดมากกว่าการ เป็นคนดีโดยทั่วไป พลเมืองดี นอกจากจะเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรมแล้ว ยังต้องประกอบด้วยคุณลักษณะของระบบการปกครองตามอุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐ นั้นๆ

การเป็นพลเมืองดี ในสังคมประชาธิปไตย หมายถึง การที่พลเมืองมีหลักการดำเนินชีวิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีบทบาทในการกระทำที่มีคุณลักษณะทางประชาธิปไตยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญใน การดำเนินชีวิต คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยมีดังนี้

* ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หมายถึง การที่บุคคลมีความสำนึกถึงความสำคัญของความเป็นคนไทย มีจิตใจฝักใฝ่ศาสนา และตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตนในการผดุงรักษาสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป
* การยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ ทุกศาสนามีหลักศีลธรรมที่ช่วยสร้างจิตใจของคนให้กระทำดี ไม่เบียดเบียนกัน มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กัน สมาชิกในสังคมสมควรศรัทธาในศาสนาที่ตนนับถือ แล้วปฏิบัติตามหลักศีลธรรมของศาสนาที่ตนนับถืออย่างสม่ำเสมอ
* ความซื่อสัตย์ หมายถึง การกระทำที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมา ไม่ยึดเอาสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตน บุคคลควรซื่อสัตย์ต่อตนเอง คือ กระทำตนให้เป็นคนดี และบุคคลควรซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่นๆ หมายถึงกระทำดีและถูกต้องตามหน้าที่ต่อผู้อื่น
* ความเสียสละ หมายถึง การคำนึงถึงประโยชน์ของสังคมส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นและส่วนรวม
* ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมรับการกระทำของตนเองหรือการทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วง
* การมีระเบียบวินัย หมายถึง การกระทำที่ถูกต้องตามกฏเกณฑ์ที่สังคมกำหนดไว้
* การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานหรือทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงทันตรงตามเวลาที่กำหนดโดยใช้เวลาอย่างคุ้มค่า
* ความกล้าหาญทางจริยธรรม หมายถึง การกระทำที่แสดงออกในทางที่ถูกที่ควรโดยไม่เกรงกลัวอิทธิพลใดๆ ความกล้านี้ไม่ใช่การอวดดี แต่เป็นการแสดงออกอย่างมีเหตุผล เพื่อความถูกต้อง

1 Comment

Filed under :: หน้าที่พลเมือง ::

:: พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ::

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

จุดมุ่งหมายในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สรุปได้ดังนี้

1. เพื่อรักษาเอกราชให้พ้นจากภัยการคุกคามของพม่า
2. เพื่อรักษาความมั่นคงของราชธานี
3. เพื่อฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับคืนสู่ความเจริญรุ่งเรือง
4. เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า

ความสัมพันธ์กับล้านนา
ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 ลักษณะความสัมพันธ์ยังเป็นมิตรที่ดีกับล้านนา

สัมพันธไมตรีอันดีที่ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอย่างต่อเนื่องกับล้านนา ทำให้รัชกาลที่ 5 สามารถผนวกล้านนาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยได้ง่ายขึ้น

ความสัมพันธ์กับพม่า
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ไทยต้องรับมือกับการถูกบุกโจมตีอย่างหนักจากพม่า ถึงแม้ในบางช่วงพม่าจะส่งฑูตมาเจรจาขอเป็นไมตรีกับไทย แต่ก็ไม่ได้มีความจริงใจ เพียงต้องการตรวจสอบความพร้อมรบของฝ่ายไทยเท่านั้น

สงครามครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับพม่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ สงครามเก้าทัพ ในปี 2328 สมัย

  • รัชกาลที่ 1 พม่าได้ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีไทยพร้อมๆ กันหลายทาง แต่ผลักดันกองทัพพม่าให้ถอยกลับไปได้
  • สมัยรัชกาลที่ 2 และสมัยรัชกาลที่ 3 แม้ความสัมพันธ์จะยังเป็นศัตรูกัน แต่การทำสงครามก็ค่อยๆ ลดน้อยลงตามลำดับเพราะพม่ามีปัญหาภายในต้องทำสงครามต่อสู้กับอังกฤษ
    ในปลายปี 2352 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 พม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีหัวเมืองภาคใต้ ได้แก่ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ถลาง ระนอง กระบี่ ชุมพร แต่กองทัพไทยจากกรุงเทพฯ และกองทัพจากนครศรีธรรมราชมาช่วยกันขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ
  • สมัยรัชกาลที่ 3 ไทยก็ยังคงทำสงครามกับพม่าอยู่บ้าง แต่เป็นสงครามขนาดเล็ก เพื่อแย่งชิงการมีอิทธิพลเหนือหัวเมืองทางเหนือ คือ สงครามเมืองเชียงรุ่ง ในปี 2386 และสงครามเมืองเชียงตุงในปี 2392

ผลจากการที่ไทยดำเนินความสัมพันธ์กับพม่าอย่างแข็งกร้าว ไม่ยอมจำนนต่อการรุกรานอย่างหนักจากพม่า นอกจากจะสามารถปกป้องราชอาณาจักรไว้ได้แล้ว ยังช่วยทำให้ผู้คนเกิดความมั่นใจว่าไทยสามารถจะรับมือกับการคุกคามจากพม่าได้ และพม่าจะไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรอีกต่อไป

ความสัมพันธ์กับมอญ
ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะมีความสัมพันธ์แบบผูกไมตรี ช่วยเหลือมอญให้พ้นจากการถูกกดขี่ข่มเหงของพม่า

  • สมัยรัชกาลที่ 1 ทรงนำกองทัพไทยไปช่วยพระยาทวายรบกับพม่าที่ครอบครองเมืองทวายเอาไว้ หลังจากปิดล้อมเมืองอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพกลับ เพราะทรงมีพระราชดำริว่า ถึงตีเมืองทวายได้ก็คงรักษาเมืองไว้ได้ไม่นาน เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ตอนยกทัพกลับได้พาครอบครัวชาวมอญมายังกรุงเทพฯ ด้วย
  • สมัยรัชกาลที่ 2 ชาวมอญไม่พอใจการปกครองอย่างกดขี่ของพวกพม่า ได้อพยพครอบครัวเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เมื่อปี 2357 และ 2358 รัชกาลที่ 2 ทรงให้ความอุปถัมถ์ โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญที่เดินทางเข้ามาใหม่ ออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่กับชุมชนมอญเดิมที่แขวงเมืองนนทบุรี ปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง)
  • ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญยุติลงในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี ได้ตกไปอยู่ในอำนาจของอังกฤษ ไทยจึงหลีกเลี่ยงไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับหัวเมืองมอญ

ผลจากความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ นอกจากไทยจะได้กำลังผู้คนและความจงรักภักดีจากชาวมอญแล้ว ไทยยังได้หัวหน้ามอญไว้ใช้ในราชการและได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมบางประการจากชาวมอญมาด้วย

ความสัมพันธ์กับเขมร
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมรจะเป็นด้านการทำสงครามและด้านการเมือง เพื่อขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครอง ทั้งนี้เขมรจะเป็นดินแดนที่ไทยกับญวนต่างแข่งขันแย่งชิงอำนาจเข้าไปดูแลกันตลอดมา เขมรจึงเป็นเหมือนรัฐกันชนระหว่างไทยกับญวน

  • สมัยรัชกาลที่ 1 ไทยมีบทบาทอย่างสำคัญในการจัดการดูแลปกครองเขมรให้เรียบร้อย โดยเป็นผู้แต่งตั้งกษัตริย์ที่ขึ้นครองเขมร ในปี 2325 เกิดความไม่สงบในเขมร พระยายมราช (แบน) จึงพานักองเอง รัชทายาทเขมรลี้ภัยการเมืองเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งก็ทรงรับอุปการะชุบเลี้ยงอย่างดี เมื่อเหตุการณ์ในเขมรสงบ ราชสำนักไทยได้แต่งตั้งเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (เลื่อนบรรดาศักดิ์จากพระยายมราช) ไปเป็นผู้สำเร็จราชการชั่วคราว เมื่อนักองเองเจริญวัย ทางกรุงเทพฯ ก็แต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์เขมร ในปี 2337 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ต่อมาเมื่อสิ้นพระชนม์ได้แต่งตั้งนักองจันทร์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาขึ้นครองราชย์สืบไป
  • สมัยรัชกาลที่ 2 ลักษณะความสัมพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอีก เมื่อพระอุทัยราชาได้หันไปสนิทสนมกับญวนและแสดงท่าทีไม่ยอมรับอำนาจจากกรุงเทพฯ ทางราชสำนักไทยจึงแต่งตั้งนักองสงวนเป็น พระมหาอุปโยราช (เทียบได้กับตำแหน่งวังหน้า) เพื่อไว้ถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองของเขมร ซึ่งเขมรในระยะนี้ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับไทยและญวน
  • สมัยรัชกาลที่ 3 ไทยพยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปในเขมรอีก โดยเจ้าพระยาบดินทรเดชยกทัพไปตีเขมร ในปี 2376 และปี 2383 สามารถยึดเมืองหลวงที่พนมเปญไว้ได้ แต่ก็ถูกเจ้านายเขมรที่นิยมญวนได้ไปร่วมมือกับญวนทำการรบต่อต้านไทย ทำให้ไทยกับญวนต้องทำสงครามสู้รบกันต่อมาอีกหลายปี ในที่สุด ไทยกับญวนได้ร่วมมือกันแก้ไขข้อพิพาทร่วมกัน ตั้งนักองด้วงหรือพระหริรักษ์รามาธิบดีขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร และให้เขมรจัดส่งบรรณาการให้ไทยกับญวนอย่างเท่าเทียมกัน ปัญหาเรื่องเขมรจึงยุติลง

ความสัมพันธ์กับล้านช้าง (ลาว)
ล้านช้างหรือลาว ซึ่งนับว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันนั้น ลักษณะความสัมพันธ์ที่ไทยมีต่อล้านช้างมีอยู่หลายลักษณะผสมผสานกัน คือ มีทั้งด้านความสัมพันธ์ในด้านการเมืองที่ไทยพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปครอบงำ มีการผูกมิตรไมตรี และในบางช่วงมีความสัมพันธ์ด้านการทำสงครามทำศึกกัน

  • สมัยรัชกาลที่ 1 เชื้อพระวงศ์ของล้านช้างแย่งชิงอำนาจกันเอง และแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่าย คือเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ แต่ละฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน แต่ทั้งหมดขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ การที่ล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ฝ่าย ทำให้ไทยสามารถสร้างความสัมพันธ์ด้วยการขยายอิทธิพลเข้าไปครอบงำได้ง่ายขึ้น ผสมผสานกับการผูกมิตรไมตรี เพื่อให้เกิดความจงรักภักดีอย่างยินยอมพร้อมใจ
  • สมัยรัชกาลที่ 2 ไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับเวียงจันทน์ โดยราชสำนักไทยเห็นว่าเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์มีความจริงใจและจงรักภักดีกับไทย จึงบำเหน็จความชอบให้เจ้าราชบุตร บุตรของเจ้าอนุวงศ์ไปครองเมืองสำคัญ คือ เมืองจำปาศักดิ์ ส่งผลให้เจ้าอนุวงศ์มีกำลังเข็มแข็งมาก
  • สมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดเหตุการณ์กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับล้านช้างอย่างรุนแรง เมื่อเจ้าอนุวงศ์ซึ่งมีความคิดจะรวมเอาเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ กลับมาเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วปกครองตนเองอย่างอิสระไม่ขึ้นกับไทย ได้ยกทัพมากวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองทางอิสานของไทยใน ปี 2369

เหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้เกิดวีรสตรีคนสำคัญคือ คุณหญิงโม ซึ่งภายหลังได้รับพระราชทานนามว่า ท้าวสุรนารี คือ เมื่อกองทัพของเจ้าอนุวงศ์มาถึงนครราชสีมา ก็ได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินเพื่อจะนำกลับไปเวียงจันทน์ ขณะนั้นเจ้าเมืองนครราชสีมาไปราชการที่อื่น แต่ชาวเมืองก็ได้คุณหญิงโมเป็น ผู้นำชาวเมืองรวบรวมกำลังผู้คนต่อสู้กับทหารลาวจนแตกพ่ายไป ขณะเดียวกันทางกรุงเทพฯ ก็จัดส่งกองทัพขึ้นมาปราบ ช่วยปลดปล่อยหัวเมืองภาคอีสานที่ถูกทหารเจ้าอนุวงศ์ยึดไว้และตามไปโจมตีจน ถึงดินแดนลาว สามารถเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ไว้ได้

สำหรับเจ้าอนุวงศ์ซึ่งหลบหนีไปอยู่กับญวน ภายหลังในปี 2370 ได้หวนย้อนนำกำลังมาโจมตีทหารไทยที่อยู่รักษาเมืองเวียงจันทน์แต่พ่ายแพ้และถูกจับกุมตัวได้

การก่อกบฏของเจ้าอนุวงศ์ในปี 2369 ทำให้ทางกรุงเทพฯ ดำเนินการปรับปรุงความสัมพันธ์กับล้านช้างใหม่ โดยเข้าไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

ความสัมพันธ์กับญวน (เวียดนาม)

  • สมัยรัชกาลที่ 1 ผลจากการที่ไทยให้การอุปการะและช่วยเหลือองเชียงสือมาตลอด ภายหลังเมื่อองเชียงสือขึ้นเป็นกษัตริย์ญวน จึงทำให้สัมพันธไมตรีกับญวนดำเนินไปด้วยดี
    ในปี 2326 องเชียงสือได้ทูลขอให้ไทยช่วยส่งกำลังไปปราบกบฏ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ก็ทรงให้ความอนุเคราะห์ จึงส่งทหารไทยไปรบกับพวกไกเญิน ถึงแม้จะปราบไม่ได้ แต่ก็ทำให้องเชียงสือสำนึกในบุญคุณของไทย ดังนั้น เมื่อองเชียงสือรวบรวมแผ่นดินญวนได้เป็นปึกแผ่นและตั้งตนเป็นกษัตริย์ จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวนในช่วงนี้ดำเนินไปอย่างราบรื่น
  • สมัยรัชกาลที่ 2 ตอนต้นรัชกาล ไทยกับญวนก็ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จนกระทั้งถึงสมัยพระเจ้ามินหมาง ญวนได้ขยายอิทธิพลเข้าไปยังเขมรอีก จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับไทย แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องทำสงครามกัน
  • ในสมัยรัชกาลที่ 3 ปัญหาเขมรขยายตัวลุกลามมากขึ้น ทั้งนี้เพราะญวนมีเป้าหมายที่จะครอบครองเขมรเพื่อกลืนชาติ รวมทั้งแสดงท่าทีแข็งกร้าวกับไทย ความสัมพันธ์กับญวนจึงเปลี่ยนมาเป็นศัตรู ทำสงครามต่อสู้กัน โดยไทยส่งทหารบุกไปตีเขมรยึดพนมเปญไว้ได้ในปี 2376 และเลยไปตีเมืองไซ่ง่อนด้วย

ปัญหาการแย่งชิงอำนาจในการครอบครองเขมร ทำให้ไทยต้องทำศึกสงครามกับญวนต่อมาอีกหลายปี โดยไม่มีฝ่ายใดได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ภายหลังเมื่อญวนเกิดข้อพิพาทกับฝรั่งเศส จึงได้เปิดการเจรจากับไทย สามารถยุติสงครามระหว่างกันได้ในปี 2388 หลังจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวนก็ยุติลงอย่างเป็นทางการ เพราะญวนได้ตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นทางด้านการเมือง โดยไทยพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครองทั้งทางด้านการผูกมิตรไมตรี และการทำสงครามในบางครั้ง

  • สมัยรัชกาลที่ 1 ไทยได้หัวเมืองมลายูบางเมืองมาเป็นเมืองขึ้น คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปัตตานี ซึ่งหัวเมืองเหล่านี้ได้เข้าขออ่อนน้อมต่อไทยในปี 2328 รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ครองเมืองเดิมปกครองเมืองสืบต่อไป และมีอิสระในการบริหารกิจการบ้านเมืองของตน เพียงแต่ต้องแสดงความจงรักภักดีด้วยการส่งเครื่องราชบรรณาการ และต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาให้ทางกรุงเทพ ทุกๆ 3 ปี สำหรับการกำกับดูแลหัวเมืองดังกล่าว ทรงใช้การถ่วงดุลอำนาจมอบให้เมืองนครศรีธรรมราชดูแลไทรบุรีกับกลันตัน และมอบให้เมืองสงขลาดูแลเมืองปัตตานีกับตรังกานู แต่สถานการณ์ในหัวเมืองมลายูก็มิได้สงบเรียบร้อยดีนัก โดยในปี 2334 เจ้าเมืองปัตตานีได้ส่งกองกำลังเข้าไปโจมตีเมืองสงขลา จนไทยต้องส่งกำลังไปปราบ และเพื่อมิให้ปัตตานีมีอำนาจมากเกินไป จึงแบ่งปัตตานีออกเป็น 7 เมือง ได้แก่ ปัตตานี หนองจิก สายบุรี ยะหริ่ง ยะรา รามันห์ และระแงะ ให้ทุกเมืองขึ้นตรงกับสงขลา
  • ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับหัวเมืองมลายูตลอดสมัยรัชกาลที่ 2 และ 3 ก็มิได้ราบรื่นดีนัก ทั้งนี้เพราะหัวเมืองมลายูบางเมือง ถ้ามีโอกาสก็จะตั้งตนเป็นอิสระ ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) ก็ได้ตั้งตนเป็นอิสระ ทางกรุงเทพจึงมอบให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราชยกทัพไปปราบ เจ้าพระยาไทรบุรีได้หลบหนีไปอยู่ที่เกาะหมาก (ปีนัง) ซึ่งไทรบุรีให้อังกฤษเช่า โดยที่ทางกรุงเทพฯ ไม่ทราบเรื่องราวการให้เช่าเกาะหมากมาก่อน อย่างไรก็ตาม อังกฤษก็ได้ส่งฑูตมาเจรจาเรื่องนี้กับไทยใน ปี 2365
  • สมัยรัชกาลที่ 3 เมืองไทรบุรีได้ก่อกบฏขึ้นอีก 2 ครั้ง ใน ปี 2374 และ 2381 รวมไปถึงหัวเมืองอื่นๆ  เช่น ปัตตานี สายบุรี ยะลา กลันตัน ตรังกานู ก็ทำตาม ทางกรุงเทพฯ จึงส่งกองทัพไปปราบ เหตุการณ์ครั้งนี้มีผลทำให้รัชกาลที่ 3 ทรงจัดการปกครองหัวเมืองมลายูบางเมืองใหม่ โดยเฉพาะไทรบุรีถูกแบ่งย่อยออกเป็น 4 เมือง ได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส สตูล และกะบังปาสู

นับจากนี้ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายูจึงราบรื่นขึ้น โดยไทยพยายามให้เจ้าเมืองที่ฝักใฝ่อยู่กับไทยไปเป็นผู้ปกครองเพื่อจะได้ป้องกันมิให้เกิดข้อขัดแย้งเกิดขึ้น

ความสัมพันธ์กับจีน
ลักษณะความสัมพันธ์ยังเป็นแบบเช่นเดิม คือ เป็นการค้าในระบบรัฐบรรณาการ ได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาจนขยายตัวมากขึ้น หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชส่งฑูตไปเยือนจีน และทางราชสำนักจีนให้การยอมรับแล้ว ไทยก็ส่งฑูตนำเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน รวมทั้งหมด 52 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาเพียง 69 ปี (พ.ศ.2325-2394)

  • เหตุผลที่ทำให้สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไทยส่งฑูตไปยังจีนบ่อยครั้ง เพราะได้รับผลประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางการค้าที่ทางการจีนมอบให้ ทำให้สามารถค้าขายได้สะดวก และได้รับผลกำไรตอบแทนงดงาม ซึ่งนอกจากราชสำนักไทยโดยกรมพระคลังสินค้าจะดำเนินการค้าขายกับจีนโดยตรงแล้ว บรรดาเชื้อพระวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้าเอกชน ยังแต่งเรือสำเภาไปติดต่อค้าขายกับเมืองต่างๆ ของจีนอีกด้วย
  • สมัยรัชกาลที่ 3 การค้ากับจีนยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วง 10 ปีแรกของรัชกาล แต่หลังจากนั้นก็ค่อยๆ ซบเซา อันเป็นผลมาจากปัจจัยภายในประเทศทังของไทยและของจีน คือ ไทยให้ความสนใจมุ่งการค้ากับชาติตะวันตก ขณะที่จีนก็มีปัญหาความมั่นคงต้องรับมือกับการคุกคามของชาติตะวันตก
  • ผลจากการติดต่อสร้างสัมพันธไมตรีกับจีน นอกจากได้รับผลประโยชน์ตอบแทนทางการค้าแล้ว ยังทำให้จีนบางส่วนอพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในราชอาณาจักรไทย อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยทางอ้อม รวมทังยังให้วัฒนธรรมจีนเผยแพร่มาสู่กรุงรัตนโกสินทร์มากขึ้นด้วย

ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส
โปรตุเกสเป็นตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักไทย โดยลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นเรื่องการผูกไมตรีและติดต่อค้าขาย

  • สมัยรัชกาลที่ 1 มีการเจริญสัมพันธไมตรีอย่างปกติธรรมดาเท่านั้น การติดต่อค้าขายระหว่างกันมีน้อยมาก โดยชาวโปรตุเกสชื่อ อันโตนีโอ วิเสน เป็นผู้นำสาสน์จากทางการโปรตุเกสมาถายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อปี 2329 เพื่อขอผูกไมตรีกับไทย ซึ่งรัชกาลที่ 1 ก็ทรงต้อนรับ และมีพระราชสาสน์ตอบกลับไป
  • ช่วงรัชกาลที่ 2 ความสัมพันธ์ของไทยกับโปรตุเกสมีความแน่นแฟ้นมากขึ้น มีการติดต่อทางการฑูตและทำสัญญาระหว่งกัน โดยในปี 2361 ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสที่เกาะมาเก๊า ได้ส่ง การ์ลูส มานูเอล ดา ซิลเวย์รา นำเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาสน์ของกษัตริย์โปรตุเกสมาถวายรัชกาลที่ 2 เพื่อขอเจริญสัมพันธไมตรี ไทยก็ให้การต้อนรับอย่างดี เพราะเห็นว่าโปรตุเกสช่วยอำนวยความสะดวกแก่เรือกำปั่นหลวงที่เดินทางไปค้า ขายที่มาเก๊า รวมทั้งไทยยังต้องการซื้อปืนใหญ่จากโปรตุเกสเอาไว้ใช้ป้องกันพระนครด้วยจึง ยินดีที่จะเป็นมิตรกับโปรตุเกส
  • ต่อมาในปี  2363 ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสที่เมืองกัว ในอินเดีย ได้ร่างสัญญาทางพระราชไมตรีในนามของกษัตริย์โปรตุเกส มอบให้การ์ลูส มานูเอล ดา ซิลเวย์ราเข้ามาถวายโดยขอซิลเวียราเป็นกงสุลโปรตุเกสประจำกรุงเทพฯ ขอพระราชทานที่ดินและอาคารให้กงสุลได้พักอาศัย และขอปักธงโปรตุเกสที่สถานกงสุลด้วย ซึ่งรัชกาลที่ 2 ก็โปรดเกล้าฯ พระราชทานตามที่ขอ พร้อมแต่งตั้งให้ซิลเวย์รามีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภัยพาณิช

ความสัมพันธ์กับโปรตุเกสนับจากนี้ไปจนตลอดรัชกาลที่ 3 ก็ยังคงเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตและการติดต่อค้าขาย ซึ่งก็มีปริมาณการค้าไม่มากนัก

ความสัมพันธ์กับอังกฤษ
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อังกฤษได้ส่งฑูตเข้ามาเจรจาทางการค้าเป็นระยะๆ และได้จัดทำสัญญากับไทย เพื่อให้ตนได้ผลประโยชน์มากที่สุด

ในปี 2364 มาควิส เฮสติงส์ ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่อินเดีย ได้แต่งตั้ง จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นฑูตเดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี และเจรจาเรื่องการค้ากับไทยแต่ประสบความล้มเหลว เพราะมีปัญหาหลายประการที่เจรจาตกลงกันไม่ได้ เช่น อังกฤษตั้งเงื่อนไขการขายอาวุธปีนกับไทยไว้มาก ไทยยอมผ่อนปรนลดอัตราการจัดเก็บภาษีขาเข้าขาออก แต่ขอให้อังกฤษค้ำประกันจำนวนเรือสินค้าที่จะเข้ามาค้าขาย แต่อังกฤษไม่ยอมรับรอง และปัญหาเรื่องเมืองไทรบุรี ซึ่งไทยถือว่าเป็นเรื่องกิจการภายในราชอาณาจักรจึงไม่ยอมนำหัวข้อนี้มาเจรจา

ถึงแม้การเจรจา ครั้งนี้ไม่สำเร็จ แต่ก็มีเรือสินค้าอังกฤษเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น ซึ่งไทยก็เปิดให้มีการค้าขายอย่างสะดวกตามระเบียบกฏเกณฑ์ที่ทางการไทยกำหนด ไว้

ต่อมาในปี 2368 สมัยรัชกาลที่ 3 ลอร์ด แอมเฮิร์ส ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่อินเดียคนใหม่ ได้ส่งร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ เดินทางเข้ามาเจรจากับราชสำนักไทย ใช้เวลาเจรจาถึง 5 เดือน ในที่สุดไทยกับอังกฤษก็สามารถทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ (เรียกสั้นๆ ว่าสนธิสัญญาเบอร์นี่) ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2369 ขึ้นมาได้ ซึ่งมีสาระสำคัญบางประเด็น เช่น ไทยจะจัดเฏ็บภาษีในอัตราที่แน่นอนตามความกว้างของปากเรือ ห้ามอังกฤษนำฝิ่นเข้ามาค้าขาย การค้าข้าวจะซื้อขายกันได้แต่จากพระคลังสินค้าเท่านั้น คนในบังคับอังกฤษเมื่อเข้ามาในราชอาณาจักรต้องปฏิบัติตามกฏหมายไทย อังกฤษยอมรับอธิปไตยของไทยเหนือเมืองไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู

สัญญาเบอร์นี่ อังกฤษได้รับประโยชน์จากการค้า ส่วนไทยได้รับความเสมอภาคและการมีอำนาจเหนือหัวเมืองมลายูบางเมือง

อย่างไรก็ดี บรรดาพ่อค้าอังกฤษต่างก็ไม่พอใจสัญญาฉบับนี้ เพราะเห็นว่า เฮนรี เบอร์นี อ่อนข้อให้กับราชสำนักไทยมากเกินไป ดังนั้นในปี 2393 ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษจึงส่งเซอร์ เจมส์ บรูค เดินทางเข้ามาขอแก้ไขสัญญาเบอร์นี่กับไทย ซึ่งอังกฤษต้องการให้ไทยยกเลิกระบบการผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า ขอให้ไทยลดภาษีปากเรือจากวาละ 1,700 บาท เหลือ 500 บาท และห้ามเก็บค่าธรรมเนียมอื่นใดอีก ขอให้กงสุลอังกฤษเข้ามาร่วมพิพากษาคดีความที่เกิดกับคนในบังคับอังกฤษ รวมทั้งขอสิทธิพิเศษอีกหลายข้อ ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์กับอังกฤษทั้งสิ้น ขณะที่ไทยเห็นว่าข้อตกลงในสัญญาเบอร์นี่ มีความเหมาะสม อังกฤษได้รับผลประโยชน์มากอยู่แล้ว ถ้าไทยยอมแก้ไขสัญญาให้สิทธิพิเศษแก่อังกฤษมากไป จะทำให้ชาติอื่นๆ ถือเป็นแบบอย่าง ทำตามอังกฤษบ้าง ดังนั้น การเจรจาจึงไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อเซอร์ เจมส์ บรูค กลับไปถึงสิงคโปร์ ได้เสนอให้รัฐบาลอังกฤษใช้กำลังทหารบีบบังคับไทยให้ยอมแก้ไขสัญญา แต่รัฐบาลอังกฤษไม่เห็นชอบ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับอังกฤษจึงเป็นไปตามสนธิสัญญาเบอร์นีที่ จัดทำขึ้นในปี 2369

ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา
ไทยกับสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ต่อกันทางด้านการค้า และวัฒนธรรม ฝ่านคณะมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์

  • ชาวอเมริกันเริ่มเข้ามาติดต่อกับไทยเป็นครั้งแรก ในปี 2361 ตรงกับรัชกาลที่ 2 เมื่อกัปตันเฮล นำปืนคาบศิลาจำนวน 500 กระบอก มาจำหน่ายให้ไทย ซึ่งกำลังต้องการอาวุธไว้ต่อสู้กับพม่า รัชกาลที่ 2 ทรงพอพระทัย จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นหลวงภักดีราชกปิตัน
  • ในสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวอเมริกันได้เดินทางเข้ามายังราชอาณาจักรไทยมากขึ้น โดยเฉพาะคณะมิชชันนารีอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมด้วย เพราะคณะมิชชั่นนารีช่วยนำวิทยาการสมัยใหม่มาเผยแพร่ให้คนไทย นอกเหนือไปจากการสอนศาสนา ตัวอย่างเช่น หมอบรัดเลย์ เป็นผู้นำความรู้ด้านการพิมพ์มาเผยแพร่ ทำให้การจัดทำหนังสือ เอกสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการออกหนังสือพิมพ์ตามแบบตะวันตก อาทิ บางกอกรีคอร์เดอร์ บางกอกกาเลนเดอร์ รวมทั้งนำความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ มาเผยแพร่ให้กับคนไทย เป็นต้น
  • สำหรับสัมพันธไมตรีทางด้านการค้า สหรัฐอเมริกาได้ส่ง เอ็ดมัน โรเบิร์ตส์ เข้ามาถวายสาสน์ของประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็คสัน ต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจรจาทางการค้ากับไทย ซึ่งสามารถตกลงกันได้และลงนามในเดือนมีนาคม 2375 ซึ่งมีสาระสำคัญคล้ายคลึงกับสัญญาเบอร์นีที่ไทยเคยทำกับอังกฤษ เช่น พ่อค้าอเมริกันมีเสรีภาพในการซื้อขายสินค้าต่งๆ ยกเว้นสินค้าต้องห้าม, ไทยจะเรียกภาษีตามความกว้างของปากเรือ วาละ 1700 บาท สำหรับเรือที่บรรทุกสินค้าเข้ามาจำหน่ายและ 1500 บาท สำหรับเรือเปล่า แต่พ่อค้าอเมริกันห็นว่าสัญญาที่เอ็ดมันด์ โรเบิร์ตส์ ได้ทำกับไทยยังไม่สะดวกต่อการค้าขาย เพราะสินค้าหลายอย่างถูกผูกขาดโดยกรมพระคลังสินค้า และไทยเรียกเก็บภาษีสูงเกินไป ดังนั้น ใน พ.ศ.2393 สหรัฐอเมริกาจึงส่งโจเซฟ บาเลสเตีย ซึ่งเป็นกงลุสประจำอยู่ที่สิงค์โปร์ เป็นฑูตเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับไทย โดยสหรัฐอเมริกาขอให้ไทยยกเลิกการจัดเก็บภาษีปากเรือ ให้เก็บโดยวิธีอื่น และขอตั้งสถานกงสุลหรือผู้แทนการค้าในกรุงเทพฯ

ผลการเจรจาครั้งนี้ไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะไทยยอมรับเงื่อนไขได้เพียงบางข้อ และไม่เต็มใจที่จะแก้ไขสัญญาทั้งหมด เพราะจะทำให้ชาติอื่นขอทำตามอย่างบ้าง ขณะเดียวกันไทยก็วิตกต่อการแพร่ขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก เกรงว่าการแก้ไขสัญญาจะทำให้ชาติตะวันตกเข้ามามีบทบาทในดินแดนไทยมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย

พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างปี 2495-2501 ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ ระหว่างปี 2499-2500

จุดมุ่งหมายสำคัญในสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในช่วงนี้

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ไทยต้องประสบปัญหาหนัก จากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะในขณะที่ชาติตะวันตกอื่นๆ ดำเนินความสัมพันธ์กับไทยในลักษณะเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตอบแทนทางการค้ามากที่สุด แต่อังกฤษและฝรั่งเศสกลับมุ่งหวังที่จะให้ได้ดินแดนของไทยด้วย
ดังนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ไทยจึงต้องใช้วิเทโศบายทางการฑูตหลายประการ เพื่อรับมือการคุกคามจากทั้งสองชาติ  ไม่ว่าจะเป็นการยอมประนีประนอม ผูกสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้น ถ่วงดุลอำนาจ ยอมเสียสละประโยชน์บางส่วน โดยยอมอดทนต่อการยั่วยุให้ใช้กำลังทหารโต้ตอบ เพราะทรงทราบดีว่าขีดความสามารถทางการรบของไทยไม่เอื้อให้ทำเช่นนั้น ดังมีบทเรียนมาแล้วจากชาติเพื่อนบ้านในเอเซีย เช่น จีน พม่า ที่ประสบกับความพ่ายแพ้อย่างยับเยิน เมื่อทำสงครามกับชาติตะวันตก
นอกจากนี้ ไทยยังดำเนินการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในหลายๆ ด้าน รวมไปถึง ด้านความสัมพันธ์ รัชกาลที่ 5 ทรงส่งฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป แม้แต่พระองค์เองก็เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ในปี 2440 และ 2450 ไม่นับถึงการส่งเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ไปศึกษาต่อที่อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย เป็นต้น นอกเหนือไปจากการมีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้านในเอเซียมาก่อนแล้ว

ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายดังนี้

  1. เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติมิให้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก
  2. เพื่อรักษาดินแดนของไทยมิให้ถูกแบ่งแยก
  3.  เพื่อปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแนวทางตะวันตก
  4. เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า

ลักษณะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย
ในสมัยปรับปรุงประเทศ  บทบาทความสัมพันธ์ของไทยกับชาติเพื่อนบ้านได้ลดน้อยลงไปมาก บางชาติความสัมพันธ์ก็ยุติลง ทั้งนี้เพราะชาติเพื่อนบ้านเหล่านั้นต่างเผชิญกับปัญหาการคุกคามของชาติตะวันตก และเพื่อนบ้านบางชาติก็ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ หรือฝรั่งเศส เช่นในปี  2405 ภาคใต้ของเวียดนามตกเป็นของฝรั่งเศสในปี 2428 พม่าก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ส่วนลาวและเขมรซึ่งเป็นประเทศราชของไทย ฝรั่งเศสก็พยายามแผ่อิทธิพลเข้ามาครอบครอง
ทางด้านความ สัมพันธ์กับจีน ไทยส่งฑูตไปเยือนจีนในลักษณะรัฐบรรณาการเป็นครั้งสุดท้าย ในปี 2395 อันเป็นปีแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 นับจากนั้นมา ความสัมพันธ์กับจีนจะมีลักษณะเสมอภาคเท่ากันเหมือนกับแนวทางเจริญสัมพันธ ไมตรีกับชาติอื่นๆ

1. ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2394-2411)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงรอบรู้ศิลปวิทยาการตะวันตก ทรงมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษอย่างเชี่ยวชาญ จนเมื่อขึ้นครองราชย์ในปี 2394 แล้ว ทรงตระหนักถึงภัยอันจะเกิดจากชาติตะวันตก พระองค์จึงเร่งปรับปรุงแนวทางการดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศเสียใหม่ ทรงยอมผ่อนปรนประนีประนอมกับชาติต่างๆ ในยุโรปมากขึ้น โดยเฉพาะกับอังกฤษและฝรั่งเศส รวมทั้งใช้วิธีการถ่วงดุลกับชาติอื่นๆ เพื่อมิให้ชาติใดชาติหนึ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อไทยมากเกินไป

ความสัมพันธ์กับอังกฤษ   หลัง จากที่เซอร์ เจมส์ บรูค ประสบความล้มเหลวในการเจรจาของแก้ไขสัญญาเบอร์นีกับไทยในปลายรัชกาลที่ 3 เมื่อถึงต้นรัชกาลที่ 4 อังกฤษก็ได้แต่งตั้ง เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นผู้แทนเข้ามาเจรจาการค้ากับไทยอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 9 เมษายน 2398 และเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น ไทยกับอังกฤษก็บรรลุข้อตกลง สามารถลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ต่อกันได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398 ซึ่งเรียกสนธิสัญญาฉบับนี้ว่า “สัญญาเบาริง” อันเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของไทยอย่างกว้างขวาง สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบาริง มีดังนี้

  1. อังกฤษมีสิทธิตั้งสถานกงสุลเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของตน และได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในการตั้งศาลพิพากษาคดีคนในบังคับของตน
  2. คนในบังคับอังกฤษมีสิทธิทำการค้าได้อย่างเสรีทั่วทุกเมืองท่าของไทย
  3. คนในบังคับอังกฤษมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
  4. คนในบังคับอังกฤษมีสิทธิซื้อที่ดินได้ภายใน 4 ไมล์ จากกำแพงเมือง ถ้าพ้นจากเขตนี้ ต้องอยู่อาศัยครบ 10 ปี จึงจะมีสิทธิ์ซื้อได้
  5. ไทยยกเลิกภาษีปากเรือ และเรียกเก็บภาษีขาเข้าตามราคาสินค้าในอัตราร้อยชัก 3 ส่วนภาษีขาออกให้เก็บได้ครั้งเดียวตามอัตราที่กำหนด
  6. ฝิ่น เงินแท่ง ทองแท่ง ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่ายได้ ส่วนฝิ่นต้องขายตรงให้กับเจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น ถ้าเจ้าภาษีฝิ่นไม่ซื้อต้องนำกลับออกไป
  7. ไทยมีสิทธิห้ามส่งข้าว เกลือ และปลาออกนอกประเทศได้ในกรณีขาดแคลน แต่ต้องแจ้งให้กงสุลทราบล่วงหน้า 1 เดือน
  8. ภายหลังถ้าไทยทำสัญญาให้สิทธิและผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาฉบับนี้แก่ชาติอื่น อังกฤษจะได้สิทธิและผลประโยชน์นั้นด้วย
  9. สัญญาจะยกเลิกไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงจะกระทำได้เมื่อสัญญาผ่านไปแล้ว 10 ปี โดยต้องการได้รับการยินยอมจากคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 1 ปี

ผลของสนธิสัญญาเบาริง มีทั้งข้อดีและเสียดังต่อไปนี้

* ข้อดี ทำให้ไทยสามารถรักษาเอกราชของชาติไว้ได้ ทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง มีการติดต่อค้าขายอย่างกว้างขวาง ข้าวกลายเป็นสินค้าออกสำคัญ ทำให้พื้นที่ทำนาขยายตัว รวมท้งได้รับวิทยาการสมัยใหม่ อันเป็นผลมาจากการเดินทางเข้ามาของชาวตะวันตกจำนวนมาก
* ข้อเสีย ไทยต้องเสียอธิปไตยทางการศาลให้กับต่างชาติ ประเทศราชของไทยเริ่มปลีกตัวออกห่าง เพราะเห็นว่าไทยคงไม่สามารถช่วยคุ้มครองภัยให้ตนได้ รวมทั้งไทยก็ได้รับภาษีน้อยกว่าที่ควรจะได้ เนื่องจากอัตราภาษีถูกกำหนดไว้ตายตัว
ถึงแม้ว่าไทยจะพยายามผูกไมตรี ยอมประนีประนอมทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษแล้ว แต่ก็ยังเกิดข้อพิพาทกับอังกฤษขึ้นอีก ใน ปี 2405 ด้วยเรื่องหัวเมืองมลายู โดยผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่สิงคโปร์กล่าวหาไทยว่าละเมิดข้อตกลงในสัญญา เบอร์นี ที่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของเมืองตรังกานูซึ่งเป็นอิสระ โดยสนับสนุนให้เจ้าพระยาตรังกานู โจมตีเมืองปะหัง ซึ่งอยู่ใต้การครอบครองของอังกฤษ ทางอังกฤษจึงส่งกองเรือเข้าปิดล้อมและโจมตีเมืองตรังกานู ฝ่ายไทยจึงยื่นประท้วงไปยังลอร์ด รัสเซลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชองอังกฤษ ซึ่งอังกฤษก็ยอมขอโทษที่เกิดการเข้าใจผิด ทั้งนี้เพราะในสัญญาเบอร์นีระบุชัดเจนว่า เมืองตรังกานูเป็นของไทย และการที่เจ้าพระยาตรังกานูส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาถวายกษัตริย์ไทย ก็สดงว่าตรังกานูมิได้เป็นรัฐอิสระ แต่ยอมอยู่ใต้อำนาจของไทย การยอมประนีประนอมและแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างสันติวิธีทำให้ไทยรอด พ้นจากการถูกอังกฤษคุกคามมาได้จนตลอดรัชกาลที่ 4

ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส สมัยรัชกาลที่ 4  ไทยมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศสแผ่อิทธิพลเข้ามาในเขมร ซึ่งทำให้ไทยต้องยอมรอมชอมผ่อนปรนกับฝรั่งเศส เพื่อป้องกันมิให้ปัญหาเขมรลุกลามให้ฝรั่งเศสใช้เป็นข้ออ้างเข้ามาโจมตีดิน แดนไทย หลังจากที่ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการยึดแคว้นโคชินไชนา ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของญวน ในปี 2405 แล้ว ฝรั่งเศสก็มุ่งเป้าหมายขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้อำนาจของไทย เหตุผลที่ฝรั่งเศสต้องการจะครอบครองเชมร ก็เพื่อใช้เขมรซึ่งมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าสู่มณฑลยูนนานของจีน ซึ่งฝรั่งเศสเห็นว่าน่าจะเป็นตลาดการค้าที่สำคัญของตน รวมทั้งจะใช้เขมรเป็นฐานที่มั่นขยายอิทธิพลสู่ลาว และเป็นแหล่งผลิตเสบียงอาหารเพื่อป้อนกองทัพฝรั่งเศสในแถบอินโดจีน ทางฝรั่งเศสได้ส่งฑูตไปเจรจาเกลี้ยกล่อมให้พระนโรดมองค์บริรักษ์ กษัตริย์เขมรยอมลงนามในสัญญายินยอมให้เขมรเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศสได้ สำเร็จ ในเดือนสิงหาคม 2406 เมื่อไทยทราบเรื่องจึงยื่นคำประท้วงไปยังกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส แต่ไม่ได้ผล ไทยจึงจัดทำสัญญาลับกับเขมร เมื่อเดือนธันวาคม 2406 เพื่อให้เขมรยืนยันว่ายังเป็นประเทศราชของไทยอยู่ตามกฏหมาย ซึ่งสัญญาลับฉบับนี้กงสุลอังกฤษประจำประเทศไทยให้การสนับสนุน เพราะเกรงว่า ถ้าฝรั่งเศสได้ครอบครองเขมรแล้ว ก็คงจะขยายอิทธิพลเข้าสู่ไทยต่อไป อันจะทำให้ผลประโยชน์ของอังกฤษในหัวเมืองมลายู มอญ และพม่าได้รับความเสียหาย เมื่อฝรั่งเศสทราบเรื่องสัญญาลับ จึงขอให้ไทยยกเลิกสัญญา และยอมรับอำนาจของฝรั่งเศสว่ามีเหนือเขมร แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ฝรั่งเศส จึงส่งเรือรบ “มิตราย” เข้ามาจอดข่มขู่ไทยกลางแม่น้ำเจ้าพระยา รัชกาลที่ 4 ทรงหวั่นเกรงว่าเหตุการณ์จะบานปลาย และกลายเป็นข้ออ้างให้ฝรั่งเศสใช้เป็นเหตุเข้ามาโจมตีดินแดนของไทย รวมทั้งยังทรงคาดหวังว่า การผูกสัมพันธไมตรกับฝรั่งเศสไว้จะช่วยถ่วงดุลอำนาจกับอังกฤษได้ ดังนั้น ฝ่ายไทยจึงยอมเจรจาทำสัญยากับฝรั่งเศสในเดือนเมษายน ปี 2408 ซึ่งมีสาระสำคัญว่า “ไทยยอมยกเลิกสัญญาลับที่ทำกับเขมรและยอมรับว่าเขมรอยู่ภายใต้การปกครองของ ฝรั่งเศส ทั้งนี้ฝรั่งเศสยินยอมให้เขมรส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายกษัตริย์ไทย รวมทั้งยอมรับว่าไทยมีอำนาจอธิปไตยเหนือเมืองพระตะบอก นครวัด และดินแดนลาว”
แต่ภายหลัง รัฐบาลฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมให้การรับรองสัญญาฉบับนี้อย่างเป็นทางการ เพราะไม่ต้องการให้ไทยอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนลาว สถานการณ์ทำท่าจะยืดเยื้อและบานปลายออกไป ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อไทย ดังนั้น รัชกาลที่ 4 จึงส่งฑูตเดินทางไปเจรจากับฝรั่งเศสอีก ณ กรุงปารีส และสามารถลงนามกันได้ในเดือนกรกฏาคม 2410 โดยไทยต้องเสียดินแดนเขมรส่วนใหญ่ และเกาะ 6 เกาะ รวมเป็นเนื้อที่ประมาณ 124,000 ตารางกิโลเมตร ให้ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยอมระบุว่าไทยมีกรรมสิทธิ์เหนือเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง แต่มิได้ระบุว่ามีสิทธิเหนือดินแดนลาวลงไปด้วย
การสูญเสียดินแดนบางส่วนที่เป็นประเทศราชให้กับฝรั่งเศส นับเป็นพระบรมราโชบายที่มีความสำคัญต่อการปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติเอาไว้ แต่การเสียดินแดนเขมรในครั้งนี้ก็แสดงให้เห็นถึงภยันตรายของลัทธิจักรวรรดิ นิยมตะวันตกว่ากำลังขยายอำนาจเข้ามาสู่ประเทศไทยทุกขณะ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นวิกฤตการณ์ช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากไทยถูกชาติมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะจากอังกฤษและฝรั่งเศสคุกคามอย่างหนัก

1. ปัญหาความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส
ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงยินยอมยกเขมรส่วนใหญ่ยก เว้น เสียมราฐ พระตะบองให้กับฝรั่งเศส ใน พ.ศ.2410 ไปแล้วก็ตาม แต่ฝรั่งเศสก็ยังไม่หยุดท่าทีที่จะคุกคามไทยต่อไป เพราะฝรั่งเศสยังต้องการขยายอำนาจเข้าไปในลาวซึ่งเป็นประเทศราชของไทยต่อไป ด้วยเหตุนี้ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเสวยราชสมบัติแล้ว จึงเกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้น ฝรั่งเศสพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดอิทธิพลของไทยไปจากบริเวณฝั่งแม่น้ำโขง เพราะฝรั่งเศสต้องการใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางไปสู่จีนตอนใต้ จึงเกิดการปะทะกันตามชายแดน แต่ฝรั่งเศสไม่สามารถขับไล่ทหารไทยออกไปให้หมดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงได้ จึงเปลี่ยนมาใช้ “นโบายเรือปืน” จนเกิดการปะทะกันระหว่างเรือรบฝรั่งเศสและกองกำลังของไทยบริเวณปากน้ำ ในวันที่ 13 กรกฏาคม 2436 ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ จำต้องยินยอมให้ฝรั่งเศสบีบบังคับให้ทำสัญญาเสียเปรียบ ซึ่งสาระสำคัญของสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว สรุปได้ดังนี้

  1. ประเทศไทยต้องยอมยกเลิกสิทธิทางฟากตะวันออกของแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ
  2. ประเทศไทยต้องจ่ายเงิน 2 ล้านฟรังซ์เพื่อชดใช้ค่าเสียหายของเรือรบของฝรั่งเศส
  3. ประเทศไทยต้องตั้งศาลพิจารณาโทษทหารที่มีส่วนร่วมในการยิงเรือรบของฝรั่งเศส และการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสที่ชายแดนแม่น้ำโขง
  4. ประเทศไทยต้องไม่สร้างด่านหรือตั้งค่ายทหารในแขวงเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และในเขต 25 กิโลเมตรบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ถือเป็นเขตปลอดทหาร แม้เจ้าหน้าที่ของไทยจะเข้าไปเกี่ยวข้องก็ไม่ได้

นอกจากนี้ในสัญญายังระบุให้ประเทศไทยรื้อป้อมค่ายบริเวณปลอดทหารภายในเวลา 1 เดือน ระหว่างนั้นฝรั่งเศสจะยึดจันทบุรีไว้เพื่อเป็นประกันว่าไทยจะปฏิบัติตามสนธิสัญญาอย่างเคร่งครัด ประเทศไทยจำต้องยอมทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าว เพราะเป็นประเทศเล็กและเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

ต่อมาในปี 2438 ไทยได้เปิดเจรจากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับสัญญาเสียเปรียบดังกล่าว การเจรจาครั้งนั้นกินเวลานานมาก มีการเจรจาทั้งที่กรุงเทพและที่ปารีส แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนกระทั่งปี 2447 ได้มีการเจรจาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่กรุงปารีส และในที่สุด ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาร่วมกันเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2447 โดยมีสาระสำคัญคือ

  1. รัฐบาลต้องยกดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบางอันได้แก่มโนไพร และจำปาศักดิ์ให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจันทบุรี และรัฐบาลทั้งสองจะจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนทำการปักปันเขตแดนตามเวลาที่กำหนด
  2. ฝ่ายไทยยอมรับชาวเอเซียที่เป็นคนในบังคับฝรั่งเศส โดยที่ฝ่ายไทยมิได้เห็นชอบมาก่อนให้เป็นคนในบังคับของฝรั่งเศสได้ แต่บุตรของคนเหล่านั้นต้องเป็นคนในบังคับของไทย คนในบังคับเหล่านี้เดิมขึ้นศาลกงสุล แต่ฝรั่งเศสยอมผ่อนผันให้ว่าถ้าเป็นคดีอาญาให้ขึ้นกับตุลาการฝรั่งเศส ถ้าเป็นคดีแพ่งและโจทก์เป็นคนไทยให้ขึ้นศาลกงสุล แต่ถ้าคนไทยเป็นจำเลยให้ขึ้นศาลต่างประเทศทั้งที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และตามท้องถิ่นนั้นๆ
  3. เขต 25 กิโลเมตร จากริมฝั่งแม่น้ำโขงและเขมรส่วนใน คือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณนั้น กำหนดว่าทางไทยที่จะเข้าไปในบริเวณดังกล่าว จะต้องเป็นทหารที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของคนไทยเท่านั้น เพื่อเป็นหลักประกันว่าไทยจะปฏิบัติตามพันธะกรณีที่มีอยู่ ฝรั่งเศสจึงได้ถอนตัวออกจากจันทบุรี แต่ไปยึดตราดไว้เป็นหลักประกันจนกว่าไทยจะปฏิบัติตามข้อตกลง

อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาดังกล่าวก็ยังไม่อาจแก้ปัญหาความยุ่งยากระหว่างไทยกับฝรั่งเศสให้คลี่คลายลงได้ ในที่สุดได้มีการเจรจาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเพื่อยุติปัญหาขัดแย้งระหว่างกันอีกในปี 2450 การเจรจาในครั้งนี้ไทยยอมยกดินแดนเขมรส่วนใน ซึ่งได้แก่ เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับด่านซ้าย ตราดและเกาะต่างๆ ที่อยู่ใต้แหลมสิงห์ลงไปถึงเกาะกูด และแลกกับอำนาจทางการศาลของไทยเหนือคนในบังคับฝรั่งเศส ซึ่งในที่สุดก็เจรจายุติลงได้ในเดือนธันวาคม 2450

สนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ.2450 จัดว่าเป็นสนธิสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ยิ่งกว่าสนธิสัญญาฉบับใดที่ไทยเคยทำกับฝรั่งเศสในข่วง 14 ปี หลังวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436)

2. ปัญหาความสัมพันธ์กับอังกฤษ
สืบเนื่องมาจากการที่ฝรั่งเศสได้ปิดฉากคุกคามไทยด้วยกำลังทหารในปี 2436 ทำให้ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องหาหลักประกันในกรณีที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเข้ารุกรานไทยต่อไปอีก ด้วยเหตุนี้ไทยจึงมองเห็นว่า ชาติที่ถ่วงดุลอำนาจของฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดีในขณะนั้นคือ อังกฤษ ซึ่งกำลังมีอิทธิพลครอบงำพม่าและมลายูบางส่วน

ต่อมาเมื่ออังกฤษเสนอให้รัฐบาลไทย ทำสัญญาคุ้มครองดินแดนทางใต้ของไทย เพราะอังกฤษเกรงว่าจะมีชาติอื่นเข้าไปมีบทบาทแทนตน อันจะทำให้กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของอังกฤษในมลายูและบริเวณทางใต้ของไทย ไทยจึงถือโอกาสเปิดการเจรจากับอังกฤษจนสามารถลงนามในสนธิสัญญาในวันที่ 15 มกราคม 2440 สนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษใน พ.ศ.2440 มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

รัฐบาลไทยจะไม่ยินยอมให้ชาติหนึ่งชาติหนึ่งเข้ามาเช่าซื้อ หรือถือกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนไทยบริเวณตั้งแต่ตำบลบางสะพานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป โดยปราศจากความเห็นชอบของรัฐบาลอังกฤษ และฝ่ายรัฐบาลอังกฤษตกลงจะให้ความคุ้มครองแก่ไทยในกรณีที่ถูกรุกรานจากชาติอื่น

ข้อตกลงระหว่างไทยกับอังกฤษฉบับ นี้เป็นเหตุให้อังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจในดินแดนไทย ตั้งแต่ตอนใต้ตำบลบางสะพานลงไปจนสุดเขตแดน กล่าวคือ รัฐบาลไทยต้องขอความเห็นชอบจากอังกฤษในการให้สัมปทานการทำเหมืองแร่แก่ชาว ต่างชาติในบริเวณดังกล่าว ทำให้การทำงานล่าช้า และอังกฤษมักจะขัดขวางการลงทุนของชาติอื่นๆ รัฐบาลไทยจึงต้องพยายามหาทางเจรจายกเลิกสัญญาฉบับนี้กับอังกฤษให้ได้

อย่างไรก็ตาม ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษในขณะนั้นมิได้มีเพียงสนธิสัญญา ระหว่างไทยกับอังกฤษใน พ.ศ. 2440 เท่านั้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับอังกฤษ ปัญหาการแทรกแซงของอังกฤษในหัวเมืองมลายูของไทย และปัญหาการสร้างทางรถไฟสายใต้ของไทยอีกด้วยทำให้ไทยต้องเปิดการเจรจากับ อังกฤษเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ใน พ.ศ. 2452

ไทยได้เสนอยกหัวเมืองมลายู อันได้แก่ ไทรบุรี กลันตันและตรังกานู ให้กับอังกฤษ ซึ่งเป็นดินแดนที่มิได้มีประโยชน์ต่อไทยแต่อย่างใด ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการทหาร

จากการที่ไทยมีนโยบายในการเจรจากับอังกฤษด้วยข้อเสนอดังกล่าว ทำให้ไทยกับอังกฤษสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้จนกระทั่งมีการลงนามในสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2452 สรุปสาระสำคัญมีดังนี้

  1. รัฐบาลไทยยอมยกเลิกสิทธิการปกครองและการบังคับบัญชาเหนือดินแดนรัฐมลายู ซึ่งประกอบด้วย ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานูและปะลิส รวมทั้งเกาะใกล้เคียงให้แก่อังกฤษ
  2. คนในบังคับอังกฤษที่เป็นชาวเอเชียและจดทะเบียนก่อนวันเซ็นสัญญาจะย้ายไปขึ้นศาลไทย มีตุลาการแล้วแต่ไทยจะแต่งตั้ง แต่เวลาพิจารณาคดีกงสุลอังกฤษจะไปนั่งฟังอยู่ด้วย

กรณีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นจำเลย กงสุลอาจพิจารณาขอถอนคดีได้ ส่วนคนในบังคับที่จดทะเบียนหลังวันเซ็นสัญญาจะอยู่ในอำนาจศาลไทย คนในบังคับเหล่านี้จะเปลี่ยนไปใช้ศาลไทยทั้งหมดอย่างเต็มที่เมื่อประเทศไทย มีประมวลกฎหมายลักษณะอาญา และกฎหมายแพ่งพาณิชย์ กฎหมายลักษณะวิธีพิจารณาคดี และกฎหมายลักษณะพระธรรมนูญจัดตั้งศาลแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีการทำสนธิสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดนและสนธิสัญญาเรื่องอำนาจศาลแยกเป็นพิเศษอีกด้วย รวมทั้งภาคผนวกว่า ต้องการยกเลิกสนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษ ปี 2440 และว่าด้วยการสร้างทางรถไฟสายใต้ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษจะให้เงินกู้ในการก่อสร้าง ภายใตเงื่อนไขที่ว่าอังกฤษจะต้องเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง

กล่าวโดยสรุป ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เป็นปัญหาที่สำคัญต่อความอยู่รอดของเอกราชและบูรณภาพเขตแดนของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความสัมพันธ์กับอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งไทยต้องใช้วิเทโศบายที่ฉลาดและสุขุมคัมภีรภาพ รู้จักปรับตัวโอนอ่อนตามความต้องการของประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้เราต้องสูญเสียอธิปไตยของชาติโดยส่วนรวม ด้วยพระบรมราโชบายที่ชาญฉลาดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงตัดสินพระทัยได้ถูกต้องและเกิดผลดีต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งต่างก็มุ่งขยายอิทธิพลเข้าไปในดินแดนเพื่อนบ้านของไทย จนกระทั่งประชิดไทยไว้คนละด้าน เป็นสภาวะที่ล่อแหลมอันตรายมาก ถ้าพระองค์ทรงดำเนินวิเทโศบายผิดพลาดในครั้งนั้น ประเทศไทยอาจต้องกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสเช่นเดียวกับประเทศ เพื่อนบ้านของไทยที่ได้ประสบชะตากรรมก่อนหน้านี้แล้วก็เป็นไปได้

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 6
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2475)

การเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1
จากกรณีที่เกิดสงครามสู้รบในยุโรปจนกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี  2457 นั้น นับเป็นการสู้รบของกองทัพ 2 ฝาย คือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งมี 4 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำ สำหรับประเทศในเอเซียที่ประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร มีประเทศญี่ปุ่น ไทย และจีนตามลำดับ

การเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ของประเทศไทยในครั้งนั้น มิได้เร่งรีบตัดสินใจแต่ประการใด เพราะสงครามโลกเริ่มต้นในปี 2457 แต่ไทยเริ่มเข้าสู่สงครามใน พ.ศ.2460 กล่าวได้ว่าได้มีการพิจารณาไตร่ตรองข้อดีข้อเสียต่างๆ จนมั่นใจว่าจะเกิดผลดีต่อประเทศไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจ กลางในวันที่ 22 กรกฏาคม 2460 หลังจากที่ได้ประกาศวางตัวเป็นกลางมาโดยตลอด

สาเหตุที่ไทยประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1
เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยที่ประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรมีอยู่ 3 ประการคือ

  1. ทรงเห็นว่าสัมพันธมิตรจะเป็นฝ่ายมีชัยชนะในสงครามอย่างแน่นอน จึงทรงหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์จากการยกเลิกสนธิสัญญาที่ไทยทำเสียเปรียบเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการีในอดีต รวมทั้งอาจได้รับการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคกับนานาประเทศในภายหลัง
  2. ทรงเห็นว่าการรักษาความเป็นกลางมีผลเสียมากกว่าผลดี จึงทรงมีพระราชประสงค์จะหลีกเลี่ยงการคุกคามจากประเทศคู่สงครามทั้งสองฝ่าย ทรงดำริว่าถ้าไทยยังคงรักษาความเป็นกลางต่อไปและสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายมีชัย ก็จะไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างใดมีแต่เสมอตัวกับขาดทุน
  3. พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะรักษาธรรมระหว่างประเทศไว้ เพื่อป้องกันมิให้ประเทศใหญ่ใช้อำนาจอันไม่เป็นธรรมรุกรานประเทศเล็กกว่า

ภายหลังการประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรแล้ว รัฐบาลไทยได้จัดส่งกองทหารอาสาไปร่วมรบกับสัมพันธมิตรตามคำขอร้องของฝรั่งเศส กองทหารอาสาสมัครดังกล่าว ประกอบด้วยกองปืนทหารบกจำนวน 400 คนเศษ และกองทหารรถยนต์อีกประมาณ 850 คน รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,250 คน กองทหารอาสาทั้งหมดอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพันเอกพระเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) ออกเดินทางจากประเทศไทยไปยังประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 20 มิถุนายน 2461

ผลจากการที่ไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สิ้นสุดลงโดยมหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายปราชัย ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงจัดให้มีการประชุมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสัมพันธมิตร ก็ได้รับเกียรติจากคณะผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรให้ส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมประชุม และลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศมหาอำนาจกลางทั้งสี่ ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และบัลกาเรีย ยกเว้นตุรกี ซึ่งผู้แทนไทยมิได้เชิญ

โดยเฉพาะเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการีนั้นเป็นประเทศคู่สงครามกับไทย จึงเป็นผลให้ไทยได้รับประโยชน์ตามความในสนธิสัญญาหลายประการ ส่วนบัลกาเรียเนื่องจากมิได้เป็นประเทศคู่สงครามกับไทยและมิได้มีสนธิสัญญา ทางพระราชไมตรีต่อกันจึงย่อมไม่มีผลเกิดขึ้นแต่อย่างใด

นอกจากไทยจะได้รับประโยชน์จาก ประเทศคู่สงครามแล้วในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ไทยได้รับการยกย่องว่ามีฐานะและสิทธิเท่าเทียมกับนานาประเทศ เพราะภายหลังเมื่อประเทศต่างๆได้พร้อมใจกันสถาปนาองค์การสันนิบาตชาติขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกนั้น ปรากฏว่าไทยเป็นประเทศหนึ่งทีได้รับเกียรติให้เข้าร่วมในฐานะสมาชิกผู้ริ เริ่มก่อตั้งองค์การนี้ และมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเช่นเดียวกับบรรดาประเทศ สมาชิกทั้งหลาย

ส่วนจุดมุ่งหมายสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งพระทัยไว้คือการขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคกับนานาประเทศ ซึ่งต่อมาในภายหลังได้บรรลุผลสำเร็จสมดังพระราชประสงค์ทุกประการ

การแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคกับนานาประเทศ

  1. การยกเลิกสนธิสัญญาเสียเปรียบกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี นับ ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฏาคม 2460 เป็นต้นมา พระราชไมตรีระหว่างไทยกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีได้สิ้นสุดลง แต่การณ์กับเป็นประโยชน์ต่อไทยเพราะเป็นผลให้ไทยหลุดพ้นจากข้อผูกมัดอันเสีย เปรียบในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีที่ไทยทำไว้กับเยอรมนี เมื่อ พ.ศ.2404 และออสเตรีย-ฮังการี ในปี 2412 โดยปริยาย ภายหลังที่ไทยได้ประกาศปฏิญญาณยกเลิกสัญญาทั้งหมดที่ทำไว้กับเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2462 ปัญหาเรื่องที่ไทยเสียเปรียบเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีทางด้านการศาล การเก็บภาษีอากรจึงหมดสิ้นไป และไม่ต้องเสียเวลาไปเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาเช่นเดียวกับที่ได้ปฏิบัติต่อ ประเทศต่างๆ ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส
  2. การแก้ไขสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกา  ในการประชุมเพื่อทำสนธิสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงแล้ว ประเทศไทยได้แถลงในที่ประชุมให้ทราบถึงความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาที่นานาประเทศผูกมัดไทย และขอแก้สนธิสัญญาไม่เสมอภาคให้เท่าเทียมกัน  หลังจากนั้นการขอแก้ไขสนธิสัญญา กับสหรัฐอเมริกาก็เป็นผลสำเร็จในปี 2463 สนธิสัญญา ฉบับใหม่นี้ให้ประโยชน์แก่ประเทศไทยหลายประการ คือ ทางด้านการศาลรัฐบาลสหรัฐอเมริกายอมสละสิทธิทางการศาลที่มีอยู่ในไทยจนหมด สิ้น ภายหลังที่ไทยประกาศใช้ประมวลกฏหมายครบถ้วนแล้วไม่เกิน 5 ปี แต่ในระยะเวลาดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐอเมริกายังคงสงวนสิทธิให้ทูตหรือกงสุลอเมริกันมีสิทธิถอนคดีที่ ชาวอเมริกันเป็นจำเลยในศาลไทยไปพิจารณาความตามกฏหมายอเมริกันได้ทุกศาล(ยก เว้นศาลฏีกา) แต่ถ้าคดีใดมีเนื้อความอยู่ในประมวลกฏหมายที่ไทยประกาศใช้ และได้แจ้งให้สถานทูตอเมริกันทราบแล้ว การพิจารณาคดีจะต้องเป็นไปตามกฏหมายไทย  ทางด้านภาษีอากร รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกข้อที่กำหนดให้ไทยเก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยชัก 3 เป็นครั้งแรก และยอมคืนสิทธิการเก็บภาษีทั้งหมดให้แก่ไทย แต่มีข้อแม้ว่าไทยจะต้องปฏิบัติต่อสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่ยอมให้เพิ่มภาษี (โดยไม่มีข้อแลกเปลี่ยน) อย่างเท่าเทียมกัน  อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสนธิสัญญาระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาจะมีเงื่อนไขที่รัฐบาลสหรัฐ อเมริกาสงวนสิทธิไว้บางประการ แต่ก็มีความสำคัญยิ่งที่ทำให้ไทยได้รับเอกสิทธิ์ทางการศาลอย่างสมบูรณ์ใน สมัยต่อมาและการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกายินยอมให้ไทยแก้ไขสนธิสัญญาใหม่ โดยมิได้เรียกร้องผลประโยชน์เป็นการตอบแทนนับว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง
  3. การแก้ไขสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ในการเจรจาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสค่อนข้างจะมีปัญหาในตอนแรก เพราะฝรั่งเศสมีผลประโยชน์มากกว่าสหรัฐอเมริกา และยังมีปัญหาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนอินโดจีนกับไทยอีกด้วย การเจรจาจึงไม่ได้ผลคืบหน้าเท่าที่ควรแต่ไทยก็พยายามโอนอ่อนผ่อนปรนต่อฝรั่งเศสในที่สุดรัฐบาลฝรั่งเศสตกลงยินยอมทำสนธิสัญญากับไทยตามแบบอย่างสหรัฐอเมริกา แแต่ยังคงสงวนสิทธิบางประการ และทั้งสองฝ่ายได้ตกลงนามในสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2467 ภายหลังได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2468
  4. การแก้ไขสนธิสัญญากับอังกฤษ ในการเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษได้เสนอข้อเรียกร้องที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน โดยให้ฝ่ายไทยรับรองว่าจะให้ชาวอังกฤษเข้ามารับราชการในตำแหน่งต่างๆ พร้อมกันนั้นก็ได้สงวนสิทธิบางประการไว้ คือให้ไทยเพิ่มอัตราภาษีในระดับปานกลาง และกำหนดอัตราภาษีสินค้าบางชนิดให้แน่นอนลงไป ซึ่งฝ่ายไทยก็เห็นชอบตามข้อเสนอของอังกฤษ ในที่สุดทั้งสองฝ่ายตกลงลงนามในสนธิสัญญาเสมอภาคเมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2468
    ภายหลังที่สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษตกลงยินยอมให้ไทยแก้ไขสนธิสัญญาแล้ว ประเทศต่างๆ ก็มีสนธิสัญญาผูกมัดไทย ก็ได้ตกลงยินยอมให้ไทยแก้ไขสนธิสัญญาตามแบบสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านั้น ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน ใน พ.ศ.2468 อิตาลี เบลเยี่ยม นอร์เวย์ ปี 2469 และญี่ปุ่น ปี 2466

ในการแก้ไขสนธิสัญญาเสมอภาคกับนานาประเทศในครั้งนั้น ส่วนใหญ่คงยินยอมทำสนธิสัญญากับไทยตามแบบอย่างสหรัฐอเมริกา และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะถูกผูกมัดด้วยข้อเรียกร้องบางประการ แต่ข้อผูกมัดเหล่านี้ก็มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ดังนั้น ต่อมาในปี 2481 รัฐบาลไทยจึงสามารถแก้ไขสนธิสัญญาใหม่กับนานาประเทศ จนเป็นผลให้ไทยได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม การที่ไทยได้รับการยกเลิกสนธิสัญญาเสียเปรียบจากนานาประเทศในครั้งนี้ ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ไทยได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร การที่ฝ่ายสัมพันธมิตรประสบชัยชนะ ไทยจึงได้รับความเห็นใจจากฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้ยอมแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบกับไทย ทำให้ประเทศอื่นๆ ยอมแก้ไขสนธิสัญญาซึ่งไทยเสียเปรียบตามไปด้วย ดังนั้น ถ้ากล่าวโดยสรุปแล้วการดำเนินนโยบายต่างประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน

ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2
ภายหลังประเทศฝรั่งเศสได้ยอมแพ้แก่ประเทศเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้ตกลงทำสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2482 แล้วรัฐบาลฝรั่งเศสได้เร่งเร้ามายังประเทศไทยให้ยอมรับกติกาไม่รุกรานกัน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในทันที

ประเทศไทยภายใต้รัฐบาลพลตรีหลวงพิบูลสงคราม (ต่อมาเป็น จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้ตอบไปว่า ไทยพร้อมจะยอมรับรับรองกติกาสัญญาไม่รุกรานกัน เพียงแต่ฝรั่งเศสจะยอมรับข้อเสนอของฝ่ายไทย 3 ข้อ คือ

  1. ให้เส้นเขตแดนตามลำน้ำโขง (ถือร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์) เป็นไปตามกฏหมายระหว่างประเทศ
  2. ให้ถือว่าแม่น้ำโขงเป็นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและอินโดจีน ตั้งแต่ทิศเหนือมาจดใต้จนถึงเขตแดนกัมพูชา โดยให้ไทยได้รับดินแดนทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบางและปากเซกับคืนมา
  3. ขอให้รัฐบาลฝรั่งเศสรับรองว่า ถ้าอินโดจีนเปลี่ยนจากอธิปไตยฝรั่งเศสไป ฝรั่งเศสจะต้องคืนอาณาเขตลาวและกัมพูชาให้แก่ไทย
    ฝรั่งเศสไม่ยอมตกลงกับไทยจึงเกิดกระทบกระทั่งกันทางชายแดนเป็นประจำและรุนแรงมากขึ้น ในที่สุดประเทศไทยได้ประกาศเข้าสงครามกับอินโดจีนตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2484 เป็นต้นไป โดยส่งกองทัพเข้ายึดพื้นที่ของอินโดจีนฝรั่งเศสบางส่วนเอาไว้ได้

ต่อมาประเทศญี่ปุ่นได้ยื่นมือเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทที่เกิดขึ้น และได้จัดให้มีการประชุมร่วมกันที่กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2484 ผลของการเจรจาปรากฏว่าฝรั่งเศสยอมยกดินแดนบริเวณเมืองศรีโสภณ มงคลบุรี และพระตะบองให้แก่ประเทศไทย ส่วนประเทศไทยจะจ่ายเงินเป็นค่าเสียหายในการทำสงครามให้กับฝรั่งเศสจำนวนหนึ่ง

หลังจากนั้นไม่นาน ญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในประเทศไทยตอนเช้ามืดของวันที่ 7 ธันวาคม 2484 รัฐบาลไทยประกาศยุติการสู้รบเพื่อรักษาชีวิตของคนไทย และตกลงกับประเทศญี่ปุ่นว่า ไทยยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินผ่านประเทศไทยไปเท่านั้น โดยที่อำนาจอธิปไตยของประเทศไทยยังคงดำรงอยู่

ต่อมานายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการที่ประเทศไทยต้องถูกบังคับให้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยอย่างลับๆ เพื่อต่อสู้ให้ประเทศไทยและคนไทยได้สิทธิและเสรีภาพกลับคืนมา เหมือนเหตุการณ์ก่อนวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ภายหลังเมื่อนายปรีดี พนมยงค์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อการดำเนินงาน เกี่ยวกับขบวนการเสรีไทยยิ่งขึ้น

ในวันที่ 21 ธันวาคม 2484 ประเทศไทยได้ตกลงทำสัญญาสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เพื่อป้องกันประเทศไทยและในที่สุดได้เปลี่ยนนโยบายเป็นประเทศคู่สงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในวันที่ 25 มกราคม 2484

ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลไทย ทำให้คนไทยในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าประเทศไทยจะต้องประสบกับความเสียหาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้ประการจัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และประกาศไม่ยอมรับนโยบายของรัฐบาลไทยในขณะนั้น โดยกล่าวว่า เป็นความเห็นของบุคคลเพียงกลุ่มเดียว ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศต่างไม่เห็นด้วย ในอังกฤษก็ได้มีการจัดตั้งขบวนการเสรีไทยเช่นเดียวกัน

จากบทบาทของขบวนการเสรีไทยทั้งในและนอกประเทศ ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูกยึดครองจากฝ่ายพันธมิตร ภายหลังที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 14 สิงหาคม 2488 ทั้งนี้เพราะฝ่ายสัมพันธมิตรมีความเห็นใจขบวนการขบวนการเสรีไทยที่ต่อต้านญี่ปุ่น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้มีส่วนช่วยเหลือประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทำให้อังกฤษและประเทศในฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นๆ ไม่กล้าทำอะไรรุนแรงกับประเทศไทย

2. ประเทศไทยกับนโยบายผูกมิตรกับโลกตะวันตกเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อสงครามโลกได้สิ้นสุดลงแล้ว โลกต้องประสบกับความตึงเครียดอีกครั้งหนึ่ง เพราะสหภาพโซเวียตซึ่งปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ ได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบงำในภูมิภาคต่างๆ ทำให้สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรตะวันตกอื่นๆในโลกเสรีได้รวมตัวกันต่อต้านการ ขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ต่อมาจีนคอมมิวนิสต์ได้ยึดครองประเทศจีนเป็นผล สำเร็จใน ปี 2492 ทำให้สหรัฐอเมริกามีความวิตกกังวลมาก จึงมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างแข็งกร้าว

ประเทศไทยก็มีความวิตกกังวลต่อการ ขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เช่นเดียวกัน จึงหวังพึ่งสหรัฐอเมริกาในการป้องกันการรุกรานของคอมมิวนิสต์ จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาแน่นแฟ้นขึ้นตามลำดับ

ในปี 2493 สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่ไทยด้วยการทำสัญญาความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือทางทหาร และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค ซึ่งสหรัฐอเมริกาเชื่อว่า การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจนั้น จะสามารถสกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ได้ ความช่วยเหลือที่สหรัฐอเมริกาให้กับประเทศไทยในระยะแรกๆ ได้เน้นทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการ ซึ่งไทยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริการะหว่างปี .2493-2500 คิดเป็นมูลค่า 50,735,930 เหรียญสหรัฐ

สำหรับความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ สหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนคนไทยไปศึกษาและดูงานในสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง ส่วนความช่วยเหลือทางด้านการทหาร สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือกองทัพไทย โดยพัฒนาประสิทธิภาพของกำลังพลและกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งข้อตกลงช่วยเหลือป้องกันประเทศไทยทางด้านการทหาร ถ้าถูกรุกรานจากภายนอก

ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกผู้ ร่วมก่อตั้งองค์การป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.) ในปี 2497 โดยมีสมาชิกรวม 8 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน และประเทศไทย ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการต่อต้านและป้องกันการคุกคามของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยตรง

ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยหันไปเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในพ.ศ.2515 ประเทศไทยก็เปลี่ยนนโยบายตามสหรัฐอเมริกา ด้วยการเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนในพ.ศ.2518 เช่นกัน

ประเทศไทยก็ได้มีนโยบายที่จะรวมกลุ่มประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน เพื่อรวมมือทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยไม่มุ่งทางการทหาร ภายหลังจากที่องค์การ ส ป อ ได้ยกเลิกไปแล้ว (ซึ่งต่อมาองค์การนี้เป็นที่รู้จักกันดีในนาม สหประชาชาติในกลุ่มอาเซียน ) ความร่วมมือของสหประชาชาติในกลุ่มอาเซียนทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ได้ทำให้ประเทศไทยมีอำนาจต่อรองทางการเมืองระหว่างประเทศสูงขึ้น

3. ประเทศไทยกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ
ภายหลังการสถาปนาความสัมพันธ์กับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2517 อันเป็นการเริ่มต้นการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน แล้ว นโยบายการต่อต้านประเทศคอมมิวนิสต์ตามนโยบายของสหรัฐอเมริกาที่เคยดำเนินมา ภายหลังตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ประเทศไทยได้เปิดความสัมพันธ์ทางการเมืองและการค้ากับสาธารณรัฐประชาชน จีนอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนในการต่อต้านการขยาย อิทธิพลของเวียดนามในประเทศกัมพูชา

อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศไทยและสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้สนับสนุนการแสวงหาสันติภาพในเวียดนามและประเทศไทยก็มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงให้การสนับสนุนบทบาทของประเทศไทยและกลุ่มอาเซียนเป็นอย่างดี จนกระทั่งมีผลให้องค์การสหประชาชาติเข้ามามีบทบาทในการสร้างสันติภาพในกัมพูชาอย่างจริงจังต่อไป

ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2531-2534) ได้ประกาศนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงสนามรบในอินโดจีนให้เป็นตลาดการค้าแทน ซึ่งเท่ากับว่าประเทศไทยมุ่งมั่นในการเปิดสัมพันธภาพทางการทูตและการค้า ตลอดจนความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอินโดจีน (ประกอบด้วยลาว กัมพูชา เวียดนาม)อย่างใกล้ชิดต่อไป

การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่จะมีความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้ากับกลุ่มประเทศอินโดจีนอย่างใกล้ชิดของประเทศไทยนั้น มิได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศแถบตะวันตก เปลี่ยนแปลงไป สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศญี่ปุ่น ก็มีความสนิทสนมใกล้ชิดทั้งทางด้านเมืองและการค้า อันล้วนแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยโดยส่วนรวมทั้งสิ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ดำเนินไปอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และ เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมาทุกยุคสมัย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2394) ประเทศไทยดำเนินนโยบายสร้างความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างระมัดระวัง ไม่ผลีผลามตกลงทำสัญญาที่เสียเปรียบกับประเทศตะวันตก เพราะสถานการณ์ขณะนั้นยังไม่รุนแรงถึงขั้นที่จะเป็นอันตรายต่อประเทศไทย เพราะมหาอำนาจตะวันตกยังมีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านของไทยอยู่ ขณะเดียวกันกับประเทศเพื่อนบ้านไทยก็ดำเนินนโยบายแข็งกร้าว ไม่ยอมอ่อนข้อให้ โดยเฉพาะกับพม่าและเวียดนาม ส่วนลาวและเขมร ไทยก็ขยายอำนาจเข้าครอบงำจนอยู่ภายใต้อิทธิพลของไทย

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2394) ประเทศไทยดำเนินนโยบายสร้างความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก เพราะสถานการณ์ขณะนั้นยังไม่รุนแรงถึงขั้นที่จะเป็นอันตรายต่อประเทศไทย เพราะมหาอำนาจตะวันตกยังมีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านของไทยอยู่ ขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านไทยก็ดำเนินนโยบายแข็งกร้าว ไม่ยอมอ่อนข้อให้ โดยเฉพาะกับพม่าและเวียดนาม ส่วนลาวและเขมร ไทยก็ขยายอำนาจเข้าครอบงำจนอยู่ภายใต้อิทธิพลของไทย

ในสมัยปรับปรุงประเทศ (พ.ศ.2394-2475) รัชกาลที่ 5 ดำเนินนโยบายผ่อนปรนกับประเทศแถบตะวันตก เพื่อมิให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราชอธิปไตย ด้วยการยอมสูญเสียดินแดนลาว เขมร และมลายู ให้กับฝรั่งเศสและอังกฤษตามลำดับ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี โดยเป็นพันธมิตรกับอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศไทยได้มีโอกาสแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบที่ทำไว้กับประเทศแถบ ตะวันตกเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 4

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยดำเนินนโยบายเข้ากับญี่ปุ่น โดยประกาศสงครามกับอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา แต่ภายหลังประเทศญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงคราม ทำให้ประเทศไทยเกือบถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครอง แต่เป็นเพราะขบวนการเสรีไทยซึ่งดำเนินการต่อต้านญี่ปุ่นร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากการตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปได้

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศแถบตะวันตก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิด ประเทศไทยจึงดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามสหรัฐอเมริกาอย่างแข็งกร้าว จนประเทศไทยตกเป็นเป้าหมายของการคุกคามและบ่อนทำลายของคอมมิวนิสต์

เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงนโยบายหันไปเป็นมิตร กับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และสถาปนาความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอินโดจีน แสดงบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพในกัมพูชาร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว ประเทศไทยก็ได้รับการยอมรับบทบาทในวงการระหว่างประเทศเป็นอย่างดี

กล่าวโดยสรุป สมัยรัตนโกสินทร์ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์และความอยู่รอดของประเทศชาติเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ดำเนินพระบรมราโชบายในการรักษาความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศ โดยเฉพาะกับฝรั่งเศสและอังกฤษอย่างสุขุมคัมภีรภาพ จึงส่งผลให้ประเทศไทยสามารถดำรงเอกราชมาได้ตราบเท่าทุกวันนี้

Leave a comment

Filed under :: ประวัติศาสตร์ ::

::พัฒนาการทางด้านสังคมและวัฒนธรรม::

สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี

องค์ประกอบของสังคมไทยประกอบด้วยสถาบันต่างๆ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ และทาส

1. พระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา

* พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์สมมติเทพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพตามติของศาสนาพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสมมติเทพ เช่น การสร้างที่ประทับ พระที่นั่งพระราชวัง การประกอบพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น
* พระมหากษัตริย์ในฐานะธรรมราชา ตามคติธรรมราชานั้นถือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม 10 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ

อย่างไรก็ตาม โดยขัตติยราชประเพณีแล้วพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะประดุจดังสมมติเทพ โดยคติความเชื่อ แต่ในทางปฏิบัติ พระองค์ทรงเป็นธรรมราชา ทำให้ฐานะของพระมหากษัตริย์ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะของความเป็นผู้ นำทางการเมืองที่เหมือนคนธรรมดามากขึ้น แต่พระองค์ก็ยังทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเป็นเจ้าชีวิตของปวงชน เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นจอมทัพ เป็นต้น และพระบรมราชโองการของพระองค์ ผู้ใดจะฝ่าฝืนไม่ได้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษอย่างหนัก

2. พระบรมวงศานุวงศ์

* สกุลยศและอิสริยยศของพระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายส่วนใหญ่ก็อยู่ในฐานะอันสูงส่ง ทั้งนี้เพราะเป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศกับอิสริยศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสรยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น อิสริยยศที่สำคัญที่สุดและสูงที่สุด ได้แก่ พระมหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับตำแนห่งทรงกรมก็คือเป็นอิสริยยศด้วยเหมือนกัน ได้แก่ กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จ
* การถือศักดินาของพระบรมวงศานุวงศ์ แตกต่างกันไปตามลำดับ ถ้าเป็นเจ้าฟ้าจะมีศักดินาสูงสุด หม่อมราชวงศ์จะมีศักดินาต่ำสุด แต่ถ้าทรงกรมก็มีศักดินาสูงกว่าเจ้านายในระดับเดียวกัน แต่มิได้ทรงกรม เช่น เจ้าฟ้าที่เป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระมหากษัตริย์ถ้าไม่ได้ทรงกรมจะถือศักดินา 20,000 ไร่ ถ้าทรงกรมจะถือศักดินาถึง 50,000 ไร่ตามลำดับ
* สิทธิตามกฏหมายของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีสิทธิอยู่ 2 ประการ คือ จะพิจารณาคดีของพระบรมวงศานุวงศ์ในศาลใดๆ ไม่ได้นอกจากศาลของกรมวัง และ จะนำพระบรมวงศานุวงศ์ไปขายเป็นทาสไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้กระทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้นได้อย่างถูกต้องตาม กฏหมาย

3. ขุนนาง คือ บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ ขุนนางเปรียบเหมือนข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการแผ่นดินบางคนจะไม่ได้มีฐานะเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางต้องขึ้นอยู่กับศักดินาของตนด้วย ผู้มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปถึงได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็กเพราะถือว่าพวกนี้เป็นขุนนางอยู่แล้ว

* การลำดับยศของขุนนาง ยศของขุนนางมี 7 ลำดับ จากสูงสุดไปต่ำสุดดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น และ พัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไป มีศักดินาไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้เป็นพัน หมื่น ขุนอาจมีสิทธิไม่ได้เป็นขุนนางก็ได้ ถ้าศักดินาของตนเองไม่ถึง 400 ไร่ และอาจมีสิทธิเป็นขุนนางได้ถ้ามีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป
* สิทธิตามกฏหมายของพวกขุนนาง เช่น ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานไปใช้ โดยการยกเว้นนี้ต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย แต่ถ้าผู้ใดเป็นข้าราชการมีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ก็จะได้รับเอกสารยกเว้นการเกณฑ์แรงงานเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้มิได้คลุมไปถึงลูกของข้าราชการเหล่านั้น สำหรับผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้ เป็นต้น

4. ไพร่ ฐานันดรไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสภาพไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยา ไพร่ถูกมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้ เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช้ในราชการต่างๆ ด้วยเหตุนี้ไพร่จึงต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วยและถ้าเจ้าขุนมูลนายของตนสังกัดอยู่กรมกองใด ไพร่ผู้นั้นก็ต้องสังกัดในกรมกองนั้นตามเจ้านายด้วย

ไพร่อาจแบ่งประเภทตามสังกัดได้เป็น 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงและไพร่สม ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

* ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ระบุไว้ของแต่ละกรมกอง ดังนั้นไพร่หลวง จึงอยู่ในกรม 2 ประเภท คือ
o ไพร่หลวงที่ต้องมารับราชการตามที่ทางราชการกำหนดไว้ หากมาไม่ได้ต้องให้ผู้อื่นมาแทนหรือส่งเงินแทนการรับราชการ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯให้ไพร่หลวงเปลี่ยนเป็นอยู่เวรรับราชการปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงลดเวลารับราชการของไพร่หลวงลงอีกจาก 4 เดือน เป็น 3 เดือนต่อปี คือเข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 3 เดือน
o ไพร่หลวงที่ต้องเสียเงิน แต่ไม่ต้องมารับราชการ ซึ่งเรียกว่า ไพร่หลวงส่วย
* ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีเงินเดือน การควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงการได้รับผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ได้รับส่วนลดจาการเก็บเงินค่าราชการ หรือได้รับของกำนัลจากไพร่ เป็นต้น

ไพร่สมนั้นจะตกเป็นของมูลนายตราบเท่าที่ขุนนางผู้เป็นมูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่งราชการ เมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรของขุนนางผู้นั้นจะยื่นคำร้องขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดา

ไพร่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะของตนเองได้ใน 2 กรณี คือ ถ้าทำความดีความชอบอย่างสูงต่อแผ่นดิน อาจได้รับเลื่อนฐานะเป็นขุนนางได้ แต่ถ้ามีความผิดหรือเป็นหนี้สินต่อนายเงิน ก็จะต้องตกเป็นทาสได้เช่นกัน

ในเรื่องความเป็นอยู่ของไพร่นั้น ไพร่หลวงจะมีฐานะลำบากที่สุด ส่วนไพร่ส่วยสบายที่สุด เพราะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานเพื่อเข้ารับราชการ ทั้งในยามสงครามและยามสงบปีละ 3 เดือน ส่วนไพร่สมก็มีหน้าที่รับใช้มูลนายเป็นส่วนใหญ่ ไพร่สมจึงทำงานเบากว่าไพร่หลวง

5. ทาส หมายถึง บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส นายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้น

* การแบ่งประเภทของทาส ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทาสคงมีอยู่ 7 ประเภทเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ได้แก่ ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์,ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย,ทาสที่ได้มาข้างฝ่ายบิดา มารดา,ทาสมีผู้ให้,ทาสอันได้ช่วยกังวลธุระทุกข์ด้วยคนต้องโทษทัณฑ์,ทาสที่ เลี้ยงเอาไว้ในเวลาข้าวยากหมากแพง,และทาสเชลย ทาสเหล่านี้อาจไม่ยอมขอทานเพราะถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงยอมขายตัวลงเป็นทาส
* การหลุดพ้นจากความเป็นทาส ทาสมีโอกาสได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาส ในกรณีต่อไปนี้
o ถ้านายเงินอนุญาตให้ทาสบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรหรือนางชี ก็ถือว่าหลุดพ้นจากความเป็นทาส แม้ภายหลังจะลาสิกขาบทแล้ว ก็จะเอาคืนมาเป็นทาสของตนไม่ได้
o ในกรณีนายเงินใช้ทาสไปทำสงครามและทาสถูกจับเป็นเชลย ต่อมาหนีรอดมาได้ก็หลุดพ้นจากความเป็นทาส
o ถ้าทาสฟ้องนายว่าเป็นกบฏและสวบสวนได้ว่าเป็นจริง ให้ทาสนั้นพ้นจากความเป็นทาสได้
o นายเงิน พ่อของนายเงิน หรือพี่น้องลูกหลานของนายเงิน ได้ทาสเป็นภรรยา ให้ทาสนั้นเป็นไท และลูกที่เกิดมานั้นเป็นไทด้วย
o ถ้าทาสนั้นตายด้วยการทำธุรกิจใดๆ ให้แก่นายเงิน นายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายไม่ได้ แต่ถ้าตายด้วยเหตุอื่นนายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายได้บ้าง
o เป็นอิสระด้วยการไถ่ตัว อาจจะเป็นผู้ขอไถ่ตัวเอง หรือมีบุคคลใดก็ได้มาไถ่ให้เป็นอิสระ

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายหลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทาสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกทาสได้เพิ่มจำนวนมาก และคาดว่าผู้ที่เป็นทาสนั้นมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่ยอมเป็นทาสเพราะปัญหาซึ่งมีหนี้สินเป็นจำนวนมากที่สุด ทั้งนี้เพราะพวกชาวบ้านเป็นจำนวนมากที่ต้องเป็นหนี้สินเนื่องจากเก็บเกี่ยว ไม่ได้ผล แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน

นอกจากนี้สถาบันสงฆ์ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส อาจเปลี่ยนสถานภาพจากฆราวาสมาเป็นพระภิกษุในสถาบันสงฆ์ได้ และผู้เป็นพระสงฆ์จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์แรงงาน

พระสงฆ์จะเป็นผู้ได้รับความเคารพนับถือจากคนไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงไพร่และทาส แต่ในบางครั้งเมื่อสถาบันพระสงฆ์เสื่อมโทรมด้วยข้อวัตรปฏิบัติ พระมหากษัตริย์จะทรงเอาเป็นพระธุระเพื่อปรับปรุงแก้ไข และทำการปฏิรูปคณะสงฆ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น ดังเช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงออกกฏหมายพระสงฆ์เพื่อควบคุมให้พระสงฆ์มีความบริสุทธิ์ เป็นต้น

สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนัก อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรมีอยู่ด้วยกันหลายพวก เป็นต้นว่า มอญ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน บางพวกก็หนีร้อนมาพึ่งเย็น บางพวกก็ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย ไม่ได้มีโอกาสกลับบ้านเมืองของตนเอง แต่ในบรรดาคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรและมีผลกระทบอย่าง สำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของไทยในสมัยนี้คือพวกคนจีน

ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นใหม่ นอกจากนี้ก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ให้วัฒนธรรมไทยในยุคนี้ด้วย นับได้ว่าเป็นการธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อยุธยาให้กลับเจริญรุ่งเรือง หลังจากประสบกับวิกฤตการณ์สงครามสู้รบระหว่างไทยกับพม่ามาแล้ว

สภาพทางสังคมของไทยตั้งแต่อดีต ได้ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมจึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนาด้วย ศิลปกรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บรรจงสร้างด้วยความประณีตก็เกิดจากแรงศรัทธาทางศาสนาทั้งสิ้น

1. การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนา

* ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ใน พ.ศ.2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ 5 เดือน
* ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา เหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน 3 วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด
* ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย ในสมัยนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้มีโอกาสเผยแผ่ ในประเทศไทยโดยพวกมิชชันนารี ทำให้คนไทยบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันในวงการพระพุทธศาสนาของไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปข้อ วัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทยให้สอดคล้องกับคำสอนในพระไตรปิฏก โดยเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และได้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2370-2394) ทรงเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปครั้งนั้น จนกระทั่งได้ทรงตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า “ธรรมยุติกนิกาย”

2. การทำนุบำรุงศิลปกรรม

* การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 ในบรรดาศิลปกรรมของไทยซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงให้ความสนพระทัยมากนั้น ได้แก่ บรรดาตึกรามต่างๆ ที่สร้างขึ้น ล้วนมีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงามทั้งภายในและภายนอก ทั้งโดยปูนและโดยไม้แกะสลัก ตึกที่ทรงให้จัดสร้างขึ้นส่วนมากเป็นวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งไพศาลทักษิณ, พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน, พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นต้น

รัชกาลที่ 1 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดี ดังนั้นในสมัยนี้จึงมีบทวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ นอกจากนี้ก็มีการแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทย เช่น หนังสือสามก๊ก ,ราชาธิราช เป็นต้น

* การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 2 ทรงสนพระทัยในเรื่องการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่างๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง “สวนขวา” ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 3) พระปรางค์จะตกแต่งด้วยถ้วยและชามจีนซึ่งทุบให้แตกบ้าง แล้วติดกับฝาทำเป็นลวดลายรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการแกะสลัก ดังจะเห็นได้จากประตูวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น

รัชกาลที่ 2 โปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะและท่ารำต่างๆ โดยพระองค์เอง พระองค์โปรดให้มีพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่ หรือเอาเรื่องเดิมมาแต่งขึ้นใหม่ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มีทั้งหมด 7 เรื่อง เรื่อง”อิเหนา” เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เองตลอดทั้งเรื่อง ส่วนอีก 6 เรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้กวีท่านอื่นๆ ร่วมงานด้วย

* การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 การผลิตงานทางด้านศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 จัดว่ามีลักษณะเยี่ยมยอดในวงการศิลปะของไทยไม่แพ้ในสมัยอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมุ่งซ่อมแซมและปรับปรุงปราสาทมากกว่าจะสร้างใหม่ โดยระมัดระวังรักษาแบบดั้งเดิมเอาไว้ พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์และขยายเขตวัดวาอารามมากมาย ทรงสร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้น 5 วัด ให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางสร้างอีก 6 วัด วัดสำคัญที่สร้างในสมัยนี้ได้แก่ วัดเทพธิดาราม,วัดราชนัดดา,วัดเฉลิมพระเกียรติ์,วัดบวรนิเวศวรวิหาร,วัดบวรสถาน,วัดประยูรวงศ์,วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น สิ่งก่อสร้างมากมายที่เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระสถูป พระมลฑป หอระฆัง เป็นต้น โบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาลาดเป็นชั้น มุงกระเบี้องสี ผนังก่ออิฐถือปูนประดับลวดลาย และมีเสาใหญ่รายรอบรับชายคา โบสถ์ขนาดใหญ่และสวยงามที่สร้างในรัชกาลนี้คือ โบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งสร้างแบบสามัญ ส่วนโบสถ์วัดบวรนิเวศวรวิหารสร้างเป็นแบบมีมุขยื่นออกมาทั้งสองข้างทางด้านปลาย

สถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างอื่นๆ ที่มีความสำคัญรองลงมา คือ พระมณฑป ศาลา หอระฆัง และระเบียงโบสถ์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นงานที่ดีที่สุด คือ ระเบียงรอบพระวิหารที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งมีหน้าบันแกะสลักไว้อย่างงดงาม

ผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่ได้ก่อสร้างไว้บริเวณวัด และจัดอยู่ในจำพวกสิ่งก่อสร้างปลีกย่อยคือ เรือสำเภาซึ่งก่อด้วยอิฐ รัชกาลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อว่าในอนาคตเมื่อไม่มีการสร้างเรือสำเภากันอีก แล้ว ประชาชนจะได้แลเห็นว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร วัดที่พระองค์ทรงรับสั่งให้สร้างสิ่งอันเป็นประวัติศาสตร์นี้ คือ “วัดยานนาวา”

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพเขียนแบบไทยต่างๆ ส่วนมากไม่โดดเด่น ที่เขียนขี้นมาส่วนใหญ่เพื่อความมุ่งหมายในการประดับให้สวยงามเท่านั้น ส่วนงานช่างแกะสลักในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนามากกว่างานช่างในสาขาจิตรกรรม โดยเฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องบันดาลใจอันสำคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดผลงานทางด้านศิลปะประเภทนี้

ทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ 3 ทรงสนับสนุนวรรณคดีทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ดังเช่น หนังสือเรื่อง “มลินทปัญญา” เป็นต้น แต่ในสมัยนี้ไม่สนับสนุนให้มีการแสดงละครภายในพระบรมมหาราชวัง ทั้งยังไม่โปรดปรานนักแสดงหรือนักประพันธ์คนใดเลย

กล่าวโดยสรุป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทำนุบำรุงและฟื้นฟูทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และการทำนุบำรุงก็กระทำโดยวิธีรักษารูปแบบเดิมไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมาก

สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4

1. การปรับปรุงด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4
เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงที่ไทยเริ่มปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียม ตะวันตกเท่าที่สามารถจะกระทำได้ ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับชาติตะวันตก อย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา รัชกาลที่ 4 ก็ทรงดำเนินการปรับปรุงทางด้านสังคมควบคู่ไปด้วย ดังนี้

* อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน เพื่อให้บรรดาไพร่ที่มีอยู่ใช้แรงงานของตนไปทำงานส่วนตัวได้
* ออกประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาไปเป็นทาสโดยที่เจ้าตัวไม่สมัครใจ เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี ถ้าจะต้องถูกบังคับในเรื่องดังกล่าว
* ให้สตรีที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีสิทธิเลือกสามีได้ โดยบิดามารดาจะบังคับมิได้
* อนุญาตให้บรรดาเจ้าจอมกราบถวายบังคมลาไปอยู่ที่อื่น หรือไปแต่งงานใหม่ได้
* โปรดเกล้าฯ ให้สตรีในคณะผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้แก่สตรีในราชสำนักเป็นเวลาประมาณ 3 ปี
* ใน พ.ศ.2408 โปรดเกล้าฯ ให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ สตรีชาวอังกฤษเข้าไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดา โดยตั้งโรงเรียนขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพราะทรงเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประเทศชาติต่อไปในอนาคต
* ทรง จัดส่งข้าราชการไปศึกษาและดูงานในต่างประเทศเพื่อจะได้นำความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยดังเช่น ทรงส่งหวาด บุนนาค บุตรพระอภัยสงครามไปฝึกหัดวิชาทหารเรือ ส่งเนตร บุตรพระยาสมุทบุรารักษ์ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ประเทศสิงค์โปร์ และส่งพร บุนนาค ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ เป็นต้น

2. การปรับปรุงทางด้านวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 4 (ยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย)
ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษในปี 2398 แล้ว การติดต่อกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับชาติตะวันตกได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวาง ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก บางครั้งก็ทำให้วัฒนธรรมไทยเปลี่ยนแปลงตามแบบตะวันตก แต่บางครั้งก็มีการส่งเสริมให้วัฒนธรรมไทยแต่ดั้งเดิมดำรงอยู่ต่อไป

การส่งเสริมด้านศิลปะ ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ทรงเปิดความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่องานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของไทยอยู่บ้าง แต่ในขณะเดียวกัน การทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของไทยก็เพิ่มพูนมากขึ้นไปด้วย

รัชกาล ที่ 4 ทรงซื้อและโปรดเกล้าฯ ให้ทำการต่อเรือกลไฟตามแบบตะวันตกหลายลำ เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการค้าขาย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เรือจักรสำหรับเป็นเรือพระที่นั่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงรับเรือพายพระที่นั่งอันงดงามมาจากรัชกาลก่อนๆ นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือขึ้นอีกลำหนึ่ง โดยพระราชทานนามว่า “อนันตนาคราช” ที่หัวเรือทำเป็นพญานาคเจ็ดเศียร ซึ่งยังคงรักษาเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

สำหรับในพระบรมมหาราชวัง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกขึ้นใหม่หลายอาคาร ทั้งแบบไทยและแบบฝรั่ง ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ 5 วัดในกรุงเทพ และโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมอีก 20 วัด นอกจากนี้ยังทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ในต่างจังหวัดอีกด้วย เช่น ที่เพชรบุรีทรงสร้างวัดแบบไทย แต่พระราชวังที่ประทับซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันกลับสร้างเป็นแบบฝรั่งและมีหอดูดาว ในกรุงเทพฯ ก็ทรงสร้างวังตามแบบศิลปะตะวันตก เช่น วังสราญรมย์ เป็นต้น

ใน สมัยรัชกาลที่ 4 นี้เอง โปรดเกล้าฯ ให้มีการก่อสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นครอบพระเจดีย์โบราณที่พระองค์เสด็จ ธุดงค์ไปพบเข้าที่นครปฐมเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ แต่การบูรณะก่อสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ไม่ประสบผลสำเร็จในรัชกาลนี้ แต่เพิ่งมาประสบผลสำเร็จในรัชกาลที่ 5

3. การเปลี่ยนแปลงด้านประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ มีดังนี้

* ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี   รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งไม่เคย ปรากฏมาในรัชกาลก่อนๆ กับทั้งยังทรงออกประกาศให้ทราบทั่วกันว่าในการเข้าเฝ้านั้น ชาวต่างประเทศสามารถแสดงความเคารพบต่อพระองค์ได้ตามธรรมเนียมประเพณีนิยมของ เขา เช่น ให้ชาวตะวันตกยืนตรงถวายคำนับได้ โดยไม่ต้องถูกบังคับให้หมอบกราบเหมือนดังที่พวกฑูตฝรั่งต้องปฏิบัติตอนเข้า เฝ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนๆ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงแก่ชาวต่างประเทศ พร้อมทั้งแจกของที่ระลึกอีกด้วย สำหรับคนไทยนั้นยังคงโปรดเกล้าฯ ให้หมอบกราบตอนเข้าเฝ้าต่อไปตามประเพณีนิยมเดิมของไทย แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ ทรงออกประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อในเวลามาเข้าเฝ้าทุกคน ทั้งนี้เพื่อมิให้ชาวต่างประเทศดูถูกข้าราชการไทยที่ไม่สวมเสื้อว่าเป็นคน ป่าเถื่อนดังแต่ก่อน
* การเรียกพระนามพระมหากษัตริย์ตามแบบยุโรป รัชกาลที่ 4 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงวางระเบียบการเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินให้แน่นอนตามประเพณีนิยมของยุโรป ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากประเพณีโบราณ พระนามพระเจ้าแผ่นดินที่จารึกใพระสุพรรณบัฏของรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ว่า “สมเด็จพระบรมราชาธิราชธิบดี” เหมือนกันทุกพระองค์ รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกพระนามตามพระนามเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ โดยให้จารึกพระสุพรรณบัฏเมื่อทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยตั้งต้นว่า “พระบามสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ” อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์และลงท้ายว่า “พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งคำว่า “จอม” ก็มีความหมายมาจากคำว่า “มงกุฏ” เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ราษฏรเรียกพระนามซ้ำกันแต่ก่อน ประเพณีการเรียกพระนามพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์อย่างแน่นอนลงไปเป็นการเฉพาะพระองค์เช่นนี้ ได้กลายเป็นประเพณีสืบทอดปฏิบัติมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
* การเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ตามประเพณีเดิม พระมหากษัตริย์จะประทับเป็นองค์ประธาน และให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นผู้ถือน้ำ และสาบานตนว่า จะซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ยุติธรรม คือ ให้พระมหากษัตริย์เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และกระทำสัตย์ด้วยว่าจะทรงซื่อสัตย์ต่อราษฏรของพระองค์
* การจัดให้มีธงประจำชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแบบอย่างการใช้ธงประจำชาติจากสถานกงสุลและเรือพาณิชย์ของชาติต่างๆ ในประเทศไทย พระองค์จึงทรงเห็นว่าประเทศไทยควรจะมีธงประจำชาติและธงอื่นๆ ด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำธงสีแดงที่เคยใช้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาใช้ โดยใช้พื้นธงเป็นสีแดงล้วนและมีช้างเผือกยืนอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ธงประจำองค์พระมหากษัตริย์และธงประจำกองทัพขึ้นด้วย

สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปทางด้านสังคม

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกอย่างกว้างขวาง ได้ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็นการเจริญรอยตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 4 ที่ได้ทรงริเริ่มเอาไว้

การปฏิรูปสังคมที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการปฏิรูปการศึกษา

1. การเลิกทาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอน ดังนี้

ใน พ.ศ.2417 ได้มีการประกาศให้ผู้มีทาสทำการสำรวจจำนวนทาสในครอบครองของตน ซึ่งจะเข้ามาอยู่ในข่ายของเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติที่จะออกมาในระยะไล่ เลี่ยกันนั้น เป็นการวางข้อกำหนดเพื่อการตระเตรียมการโดยให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในทางปฏิบัติตามแผนการขั้นต่อไป

ภายหลังการประกาศแผนการที่จะเตรียมการเลิกทาสใน พ.ศ.2417 และได้มีการสำรวจจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นต้นมาแล้ว ก็ได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติกระเษียรลูกทาสลูกไท”

ตามพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดแนวทาง ปฏิบัติที่สำคัญคือ ทาสคนใดถูกขายตัวเป็นทาส ถ้าเกิดใน พ.ศ.2411 และปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปี ให้พ้นค่าตัวเป็นไทได้ ไม่ว่าทาสนั้นจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับเจ้าขุนมูลนายใหม่ก็ตาม ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็ยังต้องเป็นทาสต่อไปตามกฏหมายเดิม แต่ถึงแม้ว่าบุคคลที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมา จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวแล้วนั้น ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษที่ถูกกว่าทาส ซึ่งเกิดก่อน พ.ศ.2411

ใน พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติทาษรัตนโกสินทร์ศก 124” ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการกำหนดหลักการและวิธีการสำคัญๆ ในการปลดปล่อยทาส คือ กำหนดให้บรรดาลูกทาสที่เกิดมามิต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อน และห้ามคนที่เป็นไทแก่ตัวและทาสที่หลุดพ้นค่าตัวกลับไปเป็นทาสอีก รวมทั้งให้มีการลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ซึ่งะทำให้ทาสเป็นไทแก่ตัวเร็วขึ้น

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “พระราชบัญญัติทาษรัตนโกสินทร์ศก124” กับมณฑลพายัพอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า พระบรมราโชบายการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้วิธีดำเนินการเป็นขั้นตอน อาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของบรรดาเจ้าของทาส และผู้ที่ตกเป็นทาส อันจะทำให้เกิดการปลดปล่อยทาสดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะต่อมา ทั้งนี้เป็นเพราะความสุขุมรอบคอบของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแท้

2. การยกเลิกระบบไพร่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระบรมราโชบายในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปเช่นเดียวกับการเลิกทาส ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ที่บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการอาจได้รับจากระบบไพร่ การประวิงเวลาพอสมควรจะช่วยให้พระบรมราโชบายในการเลิกระบบไพร่ของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

การเลิกระบบไพร่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินการอย่างมีขั้นตอนดังนี้

* โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 โดยทรงเลือกจากบรรดาพระราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัวทั้งผู้ใหญ่ และเด็กเป็นจำนวนกว่าพันคนเข้ามาเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
ใน พ.ศ.2423 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมทหารหน้า โดยการรับสมัครบรรดาไพร่ที่นายของตนตาย ให้เข้ามารับราชการเป็น “ทหารสมัคร” จำนวนมาก โดยทรงพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท พร้อมผ้า 1 สำรับเป็นสินน้ำใจให้แก่ทหารสมัครทุกคน ต่อมาได้มีการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆ ละ 10 บาท รวมทั้งเลี้ยงอาหารวันละ 2 มื้อด้วย
* พ.ศ.2431 ได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติทหาร” ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของพลทหารทั้งทหารบกและทหารเรือ พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปีจึงจะครบเกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือนตามอัตราเดิม คือเดือนละ 2 บาท ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้ง เรียกว่า “เงินปี” ส่วนในราชการพิเศษมีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราวไม่มีข้อกำหนด เรียกว่า “เงินรางวัล”
* ได้มีประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 บาท ส่วนไพร่หลวงส่วยถ้าไม่ได้ส่งของ ต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาทตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง และตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นต้นไป บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้น
* พ.ศ.2448 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124″ โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุครบ 18 ปี เข้ารับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปอยู่ในกองหนุน ผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆ จนตลอดชีวิต ดังนั้น พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124” ฉบับนี้ จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มีมานานหลายศตวรรษโดยสิ้นเชิง
การยกเลิกระบบไพร่ในสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นการปลดปล่อยคนไทยให้เป็นอิสระแก่ตนเองโดยสิ้นเชิง หลังจากที่ต้องเป็นคนในสังกัดมูลนายมาหลายศตวรรษ ทำให้สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก

3. การปฏิรูปการศึกษา

สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษา การที่รัชกาลที่ 5 มีดังนี้

* การคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
* การได้รับอิทธิพลทางด้านสติปัญญา และความคิดตามแบบตะวันตกจากชาวยุโรปและอเมริกัน ที่มาเมืองไทยเพื่อทำการค้าและการเผยแผ่ศาสนา
* การเสด็จประพาสต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งในเอเซียและยุโรป ทำให้พระองค์ได้รับแนวความคิดในการจัดการศึกษาแบบใหม่เพื่อนำมาใช้ในประเทศไทย
* ทรงมีพระราชดำริที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือให้ผู้ที่พ้นจากการเป็นทาสนำไปใช้ในการยังชีพ
* ความจำเป็นที่ต้องอาศัยบุคคลที่ได้รับการศึกษาตามแบบแผนใหม่เข้ารับราชการเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาคนไทยให้มีความรู้วิทยาการแบบตะวันตก โดยเฉพาะในยามที่ประเทศไทยกำลังปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย คนไทยที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการสมัยใหม่จึงเป็นที่ต้องการของทาง ราชการ รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเริ่มปฏิรูปการศึกษา โดยเริ่มจากในพระบรมมหาราชวังก่อน ทรงจัดตั้ง “โรงเรียนหลวง” ใน พ.ศ.2414 มีสถานที่เล่าเรียนจัดไว้เฉพาะ มีฆราวาสเป็นครูและทำการสอนตามเวลาที่กำหนด วิชาที่สอนมีทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และวิชาอื่นๆ ที่ไม่เคยสอนในโรงเรียนแผนโบราณมาก่อน และรับนักเรียนไว้เฉพาะเพื่อจะได้ฝึกหัดเล่าเรียน จะได้รู้หนังสือ รู้จักคิดเลขและขนบธรรมเนียมราชการให้ชัดเจน และในปีเดียวกันนั้น พระองค์ได้ทรงสถาปนาโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นอีก เพื่อสอนภาษาอังกฤษให้แก่เจ้านายสำหรับใช้ประโยชน์ในการเจรจากับชาวต่าง ประเทศและผู้แทนของชาติมหาอำนาจตะวันตก

ใน พ.ศ.2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็กขึ้น เรียกว่า “โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก” หรือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในขั้นแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ฝึกวิชาทหาร แต่เนื่องจากมีผู้นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนี้มากขึ้น จึงทรงขยายโรงเรียนให้กว้างขวางออกไปและเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนพลเรือน” พร้อมกับเปลี่ยนแปลงให้มุ่งฝึกสอนนักเรี่ยนเพื่อการรับราชการพลเรือนเป็น สำคัญ ส่วนนักเรียนมหาดเล็กที่มีความประสงค์จะรับราชการพลเรือนเป็นนั้น เมื่อเรียนสำเร็จวิชาความรู้เบื้องต้นแล้วก็ให้แยกไปฝึกหัดวิชาทหารต่อไป

ในขณะที่มีการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อผลิตคนออกมารับราชการตามความต้องการของบ้านเมืองในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงละเลยการศึกษาของราษฏร จะเห็นได้จากทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นที่ “วัดมหรรณพาราม” เมื่อได้ผลแล้วก็ได้ขยายการตั้งโรงเรียนหลวงตามวัดต่างๆ ให้ขยายออกไปตามลำดับทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ปรากฏว่าการจัดการศึกษาของราษฏรนี้ วัดกับรัฐบาลได้ร่วมมือกันจัดการศึกษาอย่างใกล้ชิด

ต่อมาใน พ.ศ.2430 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “กรมศึกษาธิการ” ขึ้น เพื่อรับผิดชอบในด้านการศึกษาโดยเฉพาะ เช่น ควบคุมดูแลทางด้านการศึกษา การจัดตั้งโรงเรียน ดูแลเรื่องแบบเรียนหลวงและการสอบไล่ เป็นต้น โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดูแลกรมศึกษาธิการ ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “กรมธรรมการ” ขึ้นทำหน้าที่ด้านการศึกษาและพระศาสนาโดยเฉพาะ กรมธรรมการมีหน่วยงานที่สำคัญ คือ กรมธรรมการสังฆารี ,กรมศึกษาธิการ, กรมพยาบาล ,กรมแผนที่ และพิพิธภัณฑสถาน โปรดเกล้าฯ ยกฐานะกรมธรรมการขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบการศึกษาของชาติ และได้มีประกาศใช้แผนการศึกษาของชาติขึ้นเป็นครั้งแรก

การศึกษาที่จัดขึ้นในรัชกาลนี้ มีทั้งการศึกษาของเด็กชายและเด็กหญิง มีทั้งโรงเรียนหลวง โรงเรียนเชลยศักดิ์หรือโรงเรียนราษฏร์ในความหมายปัจจุบัน ผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษานอกจากรัฐบาลและวัดแล้ว ยังมีพวกบรรดามิชชันนารีอเมริกันทั้งหญิงและชายซึ่งมีส่วนทำให้การศึกษาของ ไทยเจริญก้าวหน้าตามแบบตะวันตก เช่น ศาสตราจารย์ เอส.จี.แมคฟาร์แลนด์ เป็นผู้วางรากฐานการศึกษาตามแบบตะวันตกด้วยการตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษขึ้น ใน พ.ศ.2422 นายแพทย์ จี.บี.แมคฟาร์แลนด์ บุตรชายเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาวิชาแพทย์แผนใหม่ นางแฮเรียต เอช.เฮาส์ เป็นผู้ริเริ่มการตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสำหรับสตรีแห่งแรกของไทย เป็นต้น

โรงเรียนที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตคนเข้ารับราชการก็ขยายตัวไปอย่างแพร่หลายตามความต้องการของหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียนไปรษณียโทรเลย โรงเรียนทำแผนที่ โรงเรียนกฏหมาย โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน โรงเรียนเกษตร โรงเรียนราชแพทยลัย เป็นต้น พระองค์ทรงวางแผนให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดขอบการจัดการศึกษาเบื้องต้น (ระดับประถมศึกษา) ให้กับทวยราษฏร์ทั่วราชอาณาจักร ส่วนกระทรวงธรรมการรับผิดชอบการจัดการศึกษาในชั้นที่สูงกว่า

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้ทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์ และบุตรขุนนางที่ทรงเห็นสมควรไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ และได้ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งเป็นทุนเล่าเรียนหลวง ส่งผู้ที่มีสติปัญญาดีที่เรียนภาษาอังกฤษจบพอสอบไล่แข่งขันไปศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ ปีละ 2 คน เพื่อนำความรู้มาทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองต่อไป การสอบชิงทุนเล่าเรียนนี้ทรงเปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วไปที่มีความรู้ความ สามารถโดยไม่เลือกชนชั้น ได้มีสิทธิ์เข้าสอบชิงทุนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเท่าเทียมกัน

การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างใหญ่หลวง เพราะการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาบุคคลทุกระดับให้มีความรู้ความเข้าใจ ต่อการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก

4 การปรับปรุงด้านสาธารณสุขและการแพทย์ การพัฒนาด้านสาธารณสุขได้เริ่มมาแล้วในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมิชชันนารีอเมริกันเป็นผู้นำการแพทย์แผนใหม่เข้ามายังประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการแพทย์ไทย คนไทยเริ่มรู้จักวิธีการปลูกฝึป้องกันโรคไข้ทรพิษ การผ่าตัดแบบตะวันตก การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ นอกจากนี้ พวกมิชชันนารียังจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น ที่เชียงใหม่ พิษณุโลก เพชรบุรี นครศรีธรรมราช เป็นต้น นับเป็นการปูพื้นฐานการแพทย์สมัยใหม่ให้แก่การแพทย์ไทยในสมัยต่อมา

ใน พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะกรรมการดำเนินงานจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น โดยก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่รัฐบาลก่อตั้งขึ้นใน กรุงเทพฯ และได้จัดให้มีการสอนวิชาแพทย์แผนปัจจุบันขึ้นที่โรงพยาบาลแห่งนี้ โดยคณะมิชชันนารีอเมริกันได้ให้ความช่วยเหลือทั้งในการด้านสอน และการรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ และได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนราชแพทยาลัย โดยนายแพทย์ แมคฟาร์แลนด์ เป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้ง เพื่อเปิดหลักสูตรฝึกอบรมนักเรียนแพทย์แผนใหม่จนเจริญก้าวหน้ามาถึงทุก วันนี้ นับว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ

สังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ 6

การปฏิรูปด้านสังคมและการศึกษา

เนื่องจาก สังคมไทยได้มีการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 และจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาทางด้านสติปัญญาของคนไทยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นใน พ.ศ.2454 รัชกาลที่ 6 จึงทรงมีพระบรมราโชบายให้ผู้ปกครองส่งเด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุย่างเข้า 8 ปี เข้าเรียนในโรงเรียน นอกจากนี้ยังแบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 ประเภท คือ

* การศึกษาขั้นต้น (มูลศึกษา) เป็นหน้าที่ของราษฏรทุกคนทั้งหญิงและชายจะต้องเรียนรู้ ดังนั้นควรมีสถานที่เรียนทุกตำบลเพื่อให้เพียงพอแก่จำนวนเด็ก
* การศึกษาขั้นสูงขั้นไป ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาจัดให้ทวยราษฏร์ได้เลือกเรียนตามกำลังทรัพย์และสติปัญญา ซึ่งจะมีโรงเรียนตั้งไว้ในที่ชุมนุมชนเป็นแห่งๆ ตามความต้องการของท้องถิ่น

ใน พ.ศ.2456 รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อหาเลี้ยงชีพในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะความรู้ทางด้านหัตถกรรมและพาณิชยกรรม เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากการเป็นเสมียน รวมทั้งส่งเสริมให้ราษฏรแสวงหาวิชาความรู้ในด้านนี้อย่างเด็ตที่ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้จัดทำโครงการศึกษาฉบับใหม่

ในพ.ศ.2458 กระทรวงธรรมการได้ปรับปรุงโครงการศึกษาให้ทันสมัย และประกาศใช้ในปีเดียวกันนี้เอง ต่อมาภายหลังรัฐบาลได้ปรับปรุงโครงการศึกษาให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น

ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลจะได้พยายามปรับ ปรุงการศึกษา โดยจัดทำโครงการศึกษาของชาติมาแล้วหลายฉบับ แต่บิดามารดาและผู้ปกครองของเด็กเป็นจำนวนมากก็ยังไม่สนใจที่จะส่งเด็กใน อุปถัมภ์ของตนเข้าเรียน หรือถ้าเรียนก็เรียนเพียงครึ่งๆ กลางๆ ไม่เต็มหลักสูตรที่กำหนดไว้ เนื่องจากประชาชนยังไม่ตระหนักในประโยชน์และความจำเป็นของการศึกษาที่จะมี ต่ออาชีพอื่นๆ ต่อมาใน พ.ศ.2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นว่า ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่จะออกพระราชบัญญัติบังคับการศึกษาแก่ราษฏร เพื่อให้การศึกษาระดับประถมศึกษาเจริญกว้างขวาง เป็นการยกระดับคนทั้งประเทศให้มีความรู้อย่างทั่วถึงกัน

รัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นและประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2464 โดยกำหนดให้เด็กชายหญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7-14 ปี ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และถ้ายังอ่านเขียนไม่ได้ก็ต้องเรียนต่อไปจนกว่าจะอ่านออกเขียนได้

พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 ส่งผลให้ประชาชนทั้งประเทศเกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ไม่แตกต่างกันเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย สร้างความผสมผสานกลมกลืนในหมู่ชาวจีน ชาวไทยอิสลาม รวมทั้งประชาชนในมณฑลต่างๆ ที่มีภาษาถิ่นแตกต่างไปจากภาคกลาง ให้เกิดการรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยใช้หลักสูตรและหนังสือแบบเรียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดให้ เรียนเหมือนกันหมดทั่วระราชอาณาจักร ยกเว้นแต่หนังสือภาษาจีนหรือภาษาอิสลาม กระทรวงศึกษาธิการจะอนุญาตให้สอนเป็นบางโรงเรียนตามแต่จะพิจารณาเห็นสมควร

การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 6

ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงเชื่อว่าขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคม ตลอดจนวัฒนธรรมในการแต่งกายเป็นเครื่องแสดงความเจริญก้าวหน้าของประเทศได้ทางหนึ่ง พระองค์จึงทรงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการแต่งกาย ชีวิตความเป็นอยู่ และระเบียบประเพณีในสังคมที่สำคัญๆ ดังนี้

* การจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช
ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2453 ครั้งที่ 2 ในปี 2454 ครั้งหลังนี้เรียกว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชเป็นงานฉลองที่โปรดเกล้าฯ ให้จัดอย่างมโหฬาร มีการแสดงโขนหลวงและละคร ณ โรงละครสวนมิสกวัน นับเป็นครั้งแรกที่มีผู้แทนประมุขและผู้แทนของประเทศต่างๆ มาร่วมถวายความยินดีในพระราชพิธีในครั้งนี้
* การประดิษฐ์ธงชาติใหม่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงธงชาติใหม่ให้เหมาะสม 2 ครั้ง ครั้งแรก ในปี 2459 ครั้งที่ 2 ในปี 2460 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กองทหารอาสาไทยกำลังจะเดินทางไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธ มิตรในยุโรป เพื่อให้กองทัพไทยมีธงประจำชาติอย่างสมศักดิ์ศรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ธงขึ้นใหม่มี 3 สี ตามแบบที่อารยประเทศส่วนใหญ่นิยมใช้อยู่ในขณะนั้น และพระราชทานนามธงชาติสามสีห้าริ้วนี้ว่า ธงไตรรงค์ ซึ่งเป็นธงสำหรับชาติไทยมาจนทุกวันนี้
* การกำหนดคำนำหน้าเด็กและสตรี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดคำนำหน้าเด็กตามเพศว่า เด็กชายและเด็กหญิง ส่วนสตรีที่ยังเป็นโสด ให้ใช้คำนำหน้าว่า นางสาว และผู้ที่สมรสแล้วให้ใช้คำว่า นาง ตามแบบสากลนิยม

4. การตราพระราชบัญญัตินามสกุล
รัชกาลที่ 6 ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นใช้ในปี 2456 โดยทรงใช้เหตุผลว่านามสกุลเป็นหลักของการสืบเชื้อสายต่อเนื่องกันทางบิดาผู้ ให้กำเนิด เป็นศักดิ์ศรี และแสดงสายสัมพันธ์ในทางร่วมสายโลหิตของบุคคล นอกจากนี้ นามสกุลยังก่อให้เกิดความเป็นหมู่คณะ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีระหว่างเครือญาติ ตั้งแต่คนชั้นสูงจนถึงชั้นต่ำ เป็นสิ่งกระตุ้นให้คนไทยรักความเป็นไทยและภูมิใจที่จะเกิดมาเป็นคนไทย มีบรรพบุรุษที่เป็นคนไทยและให้รักศักดิ์ศรีของความเป็นไทยตลอดไป

5. การใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทร์ศก
เนื่องจากรัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. ซึ่งเคยใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ค่อนข้างยุ่งยากในการนับเวลาย้อนหลัง ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พุทธศักราชหรือ พ.ศ. แทน ร.ศ. เพราะเป็นศักราชทางพระพุทธศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือกันอยู่ และให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2456 เป็นต้นมา เช่นเดียวกับประเทศทางตะวันตกที่ใช้ศักราชทางศาสนาคริสต์ ที่คนส่วนใหญ่นับถือให้เรียกว่า คริสตศักราช หรือ ค.ศ.

6. การเปลี่ยนแปลงประเพณีการแต่งกาย
ในสมัยนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับสตรีประการหนึ่งคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทความไปลงหนังสือพิมพ์ โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “อัศวพาหุ” พระองค์ทรงแนะนำให้สตรีทุกๆ ภาคไว้ผมยาวและนุ่งซิ่น ซึ่งสตรีไทยในกรุงเทพฯ และภาคกลาง ก็ทำตามพระราชประสงค์ ต่อมานิยมไปแต่งแบบฝรั่ง ซึ่งเราเรียกว่า “แบบสากล”

7. การเปลี่ยนแปลงวิธีการนับเวลา
แต่เดิมเรานับเวลาตอนกลางวันเป็นโมง และตอนกลางคืนเป็นทุ่ม ซึ่งไม่สอดคล้องกับการนับเวลาของประเทศอื่นๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อกับต่างประเทศและเพื่อให้เป็นไปตามสากลนิยม พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการใหม่ ให้ถือเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นวันใหม่ และให้เปลี่ยนวิธีเรียกระยะวเลา “ทุ่ม” ในตอนกลางคืน “โมง” ในตอนกลางวัน เป็น “นาฬิกา” โดยให้ถือเวลาที่ตำบลกรีนิช ประเทศอังกฤษ เป็นมาตรฐานในการนับเวลาดังเช่นนานาประเทศปฏิบัติ

8. การส่งเสริมด้านศิลปะและวรรณกรรม
รัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดีเป็นอย่างมาก ทรงเป็นกวีที่มีความสามารถพระองค์หนึ่ง ทรงแปลวรรณกรรมตะวันตกเป็นภาษาไทยหลาเรื่อง เช่น เวนิชวานิช แปลจากเรื่อง The Merchant of venice ของวิลเลี่ยม เชคสเปียร์ กุศโลบาย แปลจากเรื่อง A Royal Family ของโรเบิร์ต มาร์แขล (Robert Marshall) หมอจำเป็น แปลจาก เรื่อง Le Medicin Malgre Lui ของโมลิเออร์(Moliere) เป็นต้น

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์งานวรรณกรรมประเภทต่างๆ อีกหลายเรื่อง อาทิ ปรเภทบทละคร ได้แก่ หัวใจนักรบ, สาวิตรี, ศกุนตลา, มัทนะพาธา, พระร่วง, ท้าวแสนปมปล่อยแก่ และหนามยอกหนามบ่ง ประเภทประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น เที่ยวเมืองพระร่วง ประเทศไอยคุปต์ สงครามสืบราขสมบัติโปแลนด์ เป็นต้น ประเภทปาฐกถาและบทความเช่น ปลุกใจเสือป่า เทศนาเสือป่า ยิวแห่งบูรพาทิศ โคลนติดล้อ เมืองไทยจงตื่นเถิด เป็นต้น ประเภทร้อยกรองทั่วไป เช่น พระนลคำหลวง ลิลิตพายัพ ธรรมาธรรมะสงคราม เป็นต้น ประเภทสารคดี เช่น บ่อเกิดรามเกียรติ์ ปกิณกะคดี เป็นต้น และที่สำคัญพระองค์ทรงริเริ่มการแสดงละครพูดไทยแบบฝรั่งขึ้นมาเป็นครั้งแรก

นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงริเริ่มให้ใช้เงินที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าของพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจัดสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทรงพระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่ให้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเพื่อ ใช้เป็นแหล่งรวบรวมศิลปวิทยาการให้กับประชาชนชาวไทยมาจนทุกวันนี้

สภาพสังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สังคมไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 สถานภาพของบุคคลในสังคมไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

1. สถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงดำรงฐานะเป็นองค์ประมุขของรัฐ แต่ก็ไม่ทรงสามารถใช้พระราชอำนาจสิทธิ์ขาดดังเช่นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชได้อีกต่อไป เพราะพระองค์ทรงบริหาราชการแผ่นดินภายใต้รัฐธรรมนูญที่ผู้แทนของปวงขนชาวไทยเป็นผู้ร่างเอาไว้ และพระองค์ทรงใช้อำนาจบริหารโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรี อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฏร และอำนาจตุลาการโดยผ่านทางผู้พิพากษา

2. พระบรมวงศานุวงศ์ บรรดา พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวงถูกห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง ในช่วงเวลาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ ชั่วระยะหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองกลับคืนสู่สภาพปกติแล้วจึงได้รับอนุญาตให้มีสิทธิ เกี่ยวข้องทางการเมืองได้ เอกสิทธิ์ใดๆ ที่เคยได้รับในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชได้ยกเลิกโดยสิ้นเชิง และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์จะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฏหมายเข่นเดียว กับประชาชนคนธรรมดาโดยทั่วไป

3. ขุนนางข้าราชการ ยังคงมีบทบาทในการปกครองบ้านเมือง เพียงแต่ขุนนางข้าราชการรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก และให้การสนับสนุนคณะราษฏรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฏรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ยังคงมีฐานะเป็นข้าราชการประจำเป็นส่วนใหญ่ ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ฐานันดรและราชทินนามของขุนนางยังมิได้มีการยกเลิก แต่ขุนนางข้าราชการขุนนางทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏหมายภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป

4. ราษฏรทั่วไป ราษฏรทั่วไป ต่างมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ตามกฏหมายภายในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และมีสิทธิเข้ารับราชการแผ่นดินตามความต้องการและความเหมาะสมกับความรู้ที่ ตนมีอยู่

การขยายตัวของกลุ่มนายทุนและสภาพความเป็นอยู่ของกรรมกร
สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีเสรีภาพทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมากขึ้นกว่าเดิม จึงมีผลทำให้สภาพทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระยะแรกๆ ประชาชนจะยังขาดสิทธิเสรีภาพทางการเมือง แต่สิทธิเสรีภาพทางด้านอื่นๆ ยังคงดำเนินต่อไป เช่นเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม ได้ทำให้ชนชั้นนายทุนมีบทบาทในการดำเนินงานทางด้านธุรกิจและการลงทุน

ชนชั้นนายทุนเหล่านี้มีทั้งชนชั้น เจ้านาย ข้าราชการระดับสูงซึ่งร่วมมือกับคนไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย และนักลงทุนชาติอื่น ๆ ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจการลงทุนในประเทศไทย ในขณะเดียวกันชาวไร่ชาวนา ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงมีสภาพยากจน เพราะขายผลผลิตได้ในราคาต่ำและบางครั้งก็ประสบการขาดทุนเนื่องจากถูกพ่อค้า คนกลางเอารัดเอาเปรียบ

ภายหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้กระทำการรัฐประหารในปี 2501 แล้ว จอมพลสฤษดิ์ได้มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศอย่างกว้างขวาง ได้มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้าและเส้นใยต่างๆ โรงงานเหล่านี้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง เช่น ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม เป็นต้น

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้วางโครงการการตัดถนนเชื่อมต่อกันระหว่างจังหวัด เพื่อสะดวกต่อการขนส่งวัตถุดิบและสินค้า ทำให้กิจการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันบรรดาชาวนาชาวไร่ที่ไม่สามารถทนต่อการเอารัดเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลางและนายทุนเงินกู้ได้ ประกอบกับสภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวยต่อการเพาะปลูกพืชผล ต่างพากันอพยพเข้ามาหางานทำในเมืองหลวง และตามหัวเมืองต่างๆ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ คนเหล่านี้จะเข้ามารับจ้างเป็นกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างมากมาย

เมื่อผู้คนอพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใกล้เคียงมากขึ้น ทำให้ค่าแรงงานถูกกดราคาจากเจ้าของโรงงาน กรรมกรได้รับค่าแรงต่ำไม่พอกับการดำรงชีวิตในเมือง จึงต้องประสบกับความเดือดร้อนในเรื่องความเป็นอยู่ อาหารการกิน และที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัญหาสังคมติดตามมา

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ได้มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างแข็งขัน จึงให้การสนับสนุนรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาทำสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ในอินโด จีน มีผลทำให้เศรษฐกิจของไทยเริ่มเฟื่องฟูขึ้น อันเป็นผลมาจากการให้ความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาและการใช้จ่ายเงินเพื่อ การสร้างฐานทัพสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ทหารอเมริกันในประเทศไทยก็ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่สังคมไทย ซึ่งเคยดำรงอยู่อย่างสงบมาก่อน ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมบางประการของทหารอเมริกัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การแพร่หลายของยาเสพย์ติดประเภทกัญชาและเฮโรอีน การลำส่อนทางเพศอันเป็นผลมาจากการให้บริการทางเพศแก่ทหารอเมริกัน การขยายตัวของอาชีพ “เมียเช่า” สำหรับทหารอเมริกัน เป็นต้น

การเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคมในสังคม
ภายหลังกรณีวันมหาวิปโยคเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ประชาชนเริ่มตื่นตัวในทางการเมือง และรู้จักรวมตัวกันเพื่อต่อรองผลประโยชน์กับกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมาย ทำให้ชาวนา ชาวไร่ กรรมกร รวมตัวกันต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมาย ทำให้ชาวนา ชาวไร่ กรรมกร รวมตัวกันต่อสู่เพื่อให้ได้ความเป็นธรรมในการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตในสังคม โดยมีขบวนการกลุ่มนิสิต นักศึกษา และปัญญาชนอื่นๆ ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือสนับสนุนการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิ การเดินขบวน การนัดหยุดงาน จึงกลายเป็นวิธีการต่อสู้เพื่อให้ได้มา ซึ่งความเป็นธรรมในสังคมของชาวไร่ ชาวนา กรรมกร นิสิต นักศึกษา ตลอดจนปัญญาชนที่สนใจในปัญหาของสังคม

รัฐบาลเกือบจะทุกรัฐบาลที่ได้เข้า มาบริหารประเทศภายหลังวันมหาวิปโยคเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ล้วนแต่เล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของชาวไร่ชาวนาในชนบท รวมทั้งกรรมกรที่อยู่ในเมืองด้วย ดังจะเห็นได้จากนโยบายประกันราคาข้าวเปลือก นโยบายการปฏิรูปที่ดินให้กับชาวนาผู้ยากจนได้มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง การพัฒนาแหล่งน้ำให้กับเกษตรกรในชนบท การประกันค่าแรงขั้นต่ำให้กรรมกร การให้การสงเคราะห์ทางด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น นโยบายต่างๆ เหล่านี้มุ่งที่จะลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนในสังคมให้น้อยลง แต่เนื่องจากประเทศไทยกำลังอยู่ในระยะของการพัฒนา ดังนั้นปัญหาทางด้านสังคมก็คงจะมีอยู่ต่อไป แต่จะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของคนส่วน ใหญ่ให้สูงขึ้นมากน้อยเพียงใด

วัฒนธรรมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

ภายหลังจากที่คณะราษฏรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 แล้ว งานทางด้านศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติก็มิได้ถูกทอดทิ้งแต่ประการใด เพราะเรื่องของศิลปและวัฒนธรรมย่อมมีความจำเป็นต่อการดำเรงอยู่อย่างมีเอกภาพของคนในชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมที่สำคัญภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนถึงยุคปัจจุบัน มีดังนี้

1. นโยบายวัฒนธรรมสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก (พ.ศ.2481-2487) ประเทศไทยได้เกิดการสู้รบกับฝรั่งเศสในปัญหาดินแดนอินโดจีน ซึ่งไทยถูกบีบบังคับให้ยกให้ฝรั่งเศสไปในสมัยรัชกาลที่ 5 และไทยถูกบีบบังคับให้ยกให้ฝรั่งเศสไปในสมัยรัชกาลที่ 5 และไทยได้ขอคืนแต่ฝรั่งเศสเพิกเฉย จอมพล ป.จึงได้ใช้นโยบายชาตินิยมเร่งเร้าให้คนไทยเกิดความรักชาติอย่างรุนแรง โดยถือหลัก “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย”

วิถีชีวิตของคนไทยเริ่มมีการเปลี่ยน ปลงอย่างเต็มที่ได้ขัดเป็นครั้งแรกเมื่อมีการดำเนินนโยบายสร้างชาติทาง เศรษฐกิจ และส่งเสริมความเป็นไทยให้เด่นชัดขึ้น ด้วยการสร้างชาติทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทยมีความเจริญทัดเทียมกับอารยประทเศอื่นๆ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยหลายอย่างดังนี้

* การเปลี่ยนชื่อประเทศ
จอมพล ป.ได้ประกาศให้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม มาเป็น ไทย ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482 และให้ใช้คำว่า “ไทย” แก่ประชาชนและสัญชาติด้วย คือ คนไทยและสัญชาติไทย
* การยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน
ใน พ.ศ.2584 จอมพล ป.ประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน ใน พ.ศ.2484 จอมพล ป.ประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือนซึ่งมีมาแต่โบราณเสีย แต่เมื่อ นายควง อภัยวงศ์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ.2487 มีความเห็นว่าบรรดาศักดิ์เป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูบุคคลที่ทำความดีความชอบต่อ ทางราชการ ควรคงไว้เพื่อความภาคภูมิใจ และเป็นแบบอย่างแก่บุคคลรุ่นหลัง ดังนั้นจึงได้มีพระบรมราชโองการให้คำประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์เป็นโมฆะ และให้ผู้ที่ลาออกจากบรรดาศักดิ์ด้วยความจำใจของคืนบรรดาศักดิ์ได้
* การกำหนดระเบียบต่างๆ ในการดำเนินชีวิตของคนไทย
แต่เดิมคนไทยส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอย่างง่ายๆ ตามแบบสังคมเกษตรกรรม รัฐบาลจอมพล ป. พยายามที่จะจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศตามคติความคิดของรัฐบาล ด้วยการประกาศรัฐนิยมฉบับต่างๆ เพื่อชักชวนให้ราษฏรปฏิบัติตามระเบียบที่ทางการกำหนด เช่น ระเบียบการบริโภคอาหาร ก็จะให้ชาวไทยใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหารแทนการใช้มือ เป็นต้น
นอกจากนี้ รัฐบาลยังห้ามประชาชนกินหมากอย่างเด็ดขาด เพราะเห็นว่าผู้ที่กินหมากเป็นผู้ไม่มีวัฒนธรรมในสายตาของชาติที่เจริญแล้ว รัฐบาลเข็มงวดกวดขันในเรื่องนี้มาก ถึงกับให้คณะกรรมการจังหวัดแต่ละแห่งจัดการห้ามการทำสวนพลู ปลูกต้นพลู รวมทั้งมิให้ขายพลูที่ตลาดด้วย
* การแต่งกาย   รัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงครามได้ชักชวนให้คนไทยเลิกนุ่งกางเกงแพร โดยอ้างว่าเป็นวัฒนธรรมของจีน และปรากฏว่าเมื่อชายไทยหันมานิยมชุดสากลแล้ว รัฐบาลจึงได้ขอให้หญิงไทยเลิกนุ่งโจงกระเบน เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุง สวมหมวก สวมรองเท้า พร้อมกันนั้นรัฐบาลก็ได้วางระเบียบการแต่งกายของสตรีแบบเต็มยศและครึ่งยศ รวมถึงกำหนดเครื่องแต่งกายของผู้ประกอบอาชีพบางจำพวก เช่น ช่างตัดผม คนเดินโต๊ะอาหาร และในปี 2485 รัฐบาลได้ออกประกาศเกี่ยวกับการแต่งกายของชาวไทยว่า การแต่งกายเป็นระเบียบเรียบร้อยและสุภาพนั้นเป็นสิ่งที่เชิดชูวัฒนธรรม และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชาติให้วัฒนาถาวร รัฐบาลจึงขอให้ชาวไทยทั้งชายหญิงร่วมใจกันส่งเสริมและปฏิบัติตามรัฐนิยม อย่างเคร่งครัด
รัฐบาลยังได้วางระเบียบประเพณีวัฒนธรรมไทยอื่นๆ อีก เช่น การจัดพิธีสมรส พิธีการในเวลาประกอบพิธีสมรส การแต่งกายของคู่บ่าวสาว การจัดพิธีศพ การแต่งกายไปงานศพ ระเบียบการแสดงความเคารพในเวลาปกติ ในงานรัฐพิธีและพระราชพิธี การเคารพธงชาติ เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นต้น
* การยกฐานะและบทบาทของสตรี
รัฐบาลจอมพล ป.เป็นผู้ริเริ่มยกย่องสตรีว่ามีความสามารถและยอมรับให้มีฐานะเท่าเทียม บุรุษ โดยมีจุดมุ่งหมายให้สตรีมีส่วนร่วมสำคัญในการสร้างชาติทางวัฒนธรรม ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลวางระเบียบในด้านการแต่งกายดังกล่าวให้กับสตรี และยังได้มีการจัดตั้งกองทหารหญิง โรงเรียนนายร้อยหญิง และโรงเรียนนายสิบหญิง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลยอมรับฐานะที่เท่าเทียมกันของสตรีและบุรุษ
* ด้านภาษาและหนังสือ
รัฐบาลเห็นว่าตัวสระและพยัญชนะของภาษาไทยมีอยู่หลายตัวที่ซ้ำเสียงกันโดยไม่จำเป็น ควรงดใช้เสียบ้าง เพื่อความสะดวกในการศึกษาเล่าเรียนภาษาไทยให้เป็นที่นิยมและแพร่หลายยิ่งขึ้นสำหรับชาวต่างประเทศ รัฐบาลจึงให้ตัดพยัญชนะและสระที่ซ้ำกันนั้นออก ด้วยการวางระเบียบและหลักเกณฑ์การใช้ตัวหนังสือไทย และจัดพิมพ์พจนานุกรมตัวสะกดแบบใหม่ประกาศใช้ใน พ.ศ.2485 แต่ปรากฏว่าภายหลังจอมพล ป.พ้นจากตำแหน่งใน พ.ศ.2487 รัฐบาลใหม่กลับหันไปใช้หนังสือไทยตามแบบเดิม
นอกจากนี้ ยังได้มีการวางระเบียบการใช้คำต่างๆ เช่น คำแทนชื่อ คำปฏิเสธ คำตอบรับ การตั้งชื่อบุคคลให้เหมาะสมกับเพศ และใช้คำทักทายว่า “สวัสดี” ในโอกาสแรกที่พบกันด้วย
* การบูรณะซ่อมแซม
จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มอบหมายให้หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร มีหน้าที่รับผิดชอบเมืองโบราณ และโบราณสถานที่สำคัญๆ หลายแห่ง เช่น ลพบุรี, สุโขทัย, นครปฐม, อยุธยา เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เพื่อเก็บรักษาโบราณสถานของชาติ พร้อมทั้งคัดเลือกโบราณวัตถุ เพื่อแสดงให้ประชาชนได้ชม ทางด้านหอสมุดแห่งชาติได้ทำการแปลและตีพิมพ์ศิลาจารึก สมุดข่อย และวรรณกรรมต่างๆ ที่เก่าแก่ของไทย เพื่อนำมาเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง
* การก่อตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้วางนโยบายปรับปรุงวัฒนธรรมของชาติโดยประกาศเป็นรัฐนิยม ได้เสนอ “พระราชบัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติ” ซึ่งมีหน้าที่จะต้องค้นคว้าดัดแปลง รักษา และส่งเสริมวัฒนธรรมที่มีอยู่ ค้นคว้าดัดแปลง และกำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติให้เหมาะสมกับกาลสมัย ควบคุมและหาวิธีปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งชาติในจิตใจของประชาชนจนเป็นนิสัย ให้คำปรึกษาและปฏิบัติตามความมุ่งหมายของรัฐบาลอันเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาติ

2.  การฟื้นฟูพระราชประเพณีในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2501-2506)
ในสมัยนี้ได้มีนโยบายแน่วแน่ในการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักของสังคมไทยมาช้านาน จึงได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาช้านาน จึงได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พิธีการเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนาม การประดับโคมไฟและธงชาติตามอาคารบ้านเรือน และยกเลิกวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ โดยกำหนดให้วันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นวันชาติแทน นอกจากนี้ยังมีพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้ากฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคและทางสถลมารค เป็นต้น

การฟื้นฟูพระราชประเพณีต่างๆ เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ได้ทำให้มีการตื่นตัวที่จะฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ของชาติเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระพุทธศาสนา ให้ดำรงอยู่คู่ประเทศไทยสืบต่อไปอย่างกว้างขวาง

3.  การฟื้นฟูวัฒนธรรมเมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี
ในวันที่ 6 เมษายน 2525 รัฐบาลได้จัดให้มีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ทำให้ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น วางโครงการบูรณะวัดพระพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ให้มีสภาพดีเหมือนของเดิมทั้งหมด ศิลปกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านศิลปกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ที่ปรากฏอยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ได้รับการบูรณะอย่างทั่วถึง

นอกจากนี้ ยังมีการฟื้นฟูบูรณะพิธีสำคัญที่เป็นวัฒนธรรมของชาติไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ อันได้แก่ พิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศิลปะและวัฒนธรรมของไทยอันน่าตื่นตาตื่นใจ ในขบวนพยุหยาตราครั้งนั้นได้มีการอัญเชิญพระชัยหลังช้าง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในการเสด็จพระราชดำเนินไปราชการสงครามทุกครั้ง เข้าร่วมขบวนแห่ในครั้งนี้ด้วย

นอกเหนือจากการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนหยุหยาตราทางชลมารคแล้ว ยังมีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์เข้าร่วมในขบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารคเป็นขบวนพิเศษเพิ่มขึ้นด้วย

ในการประดับตกแต่งบริเวณถนนพระราชดำเนินก็แฝงไปด้วยความงดงามทางด้านศิลปะ และสะท้อนออกทางด้านวัฒนธรรมของไทย ได้มีการจำหลักลวดลายดวงตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลแต่ละรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 แล้วนำมาตกแต่งประดับประดาตามแนวกลางถนนราชดำเนิน ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น

การทำนุบำรุงและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ในขณะที่กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี ครั้งนั้น ไม่ได้กระทำกันเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น ในต่างจังหวัดก็มีโครงการเหล่านั้นด้วย แตกต่างกันไปทั้งเนื้อหาและรูปแบบ จึงนับได้ว่าศิลปวัฒนธรรมไทยได้ตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเฉลิมฉลองสมโภชพระนครในครั้งนั้นนั่นเอง

4.  การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชีนีนาถ
นอกจากกิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ศิลปวัฒนธรรมไทยยังได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์เอาไว้อย่างดียิ่ง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชีนีนาถ ที่ทรงจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพเพื่อฝึกสอนให้คนไทยรู้จักฝึกฝนทาง ด้านศิลปหัตถกรรม อันเป็นวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม เช่น การทอผ้า การปั้น การแกะสลัก เป็นต้น ผลปรากฏว่ามูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ได้สร้างผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมไทยออกไปอย่างแพร่หลาย เป็นที่ตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ และเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ชาวต่างประเทศได้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมาก ขึ้น เพื่อชมผลงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ อีกทั้งยังสร้างรายได้แก่พสกนิกรที่สามารถผลิตผลงานออกจำหน่ายด้วย

บทสรุป
ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทางสร้างสรรค์ อันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยตลอด นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตน โกสินทร์เป็นราชธานีของไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2325 จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ตามแบบตะวันตกกระแสความคิดเกี่ยวกับเรื่องสิทธิของความเป็นมนุษย์จากโลก ตะวันตกได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทย รัชกาลที่ 4 ได้ทรงปรับปรุงสังคมและวัฒนธรรมไทยบางประการให้สอดคล้องกับค่านิยมและ วัฒนธรรมตะวันตก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่ ด้วยการยกเลิกระบบไพร่และประกาศเลิกทาส ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปลดปล่อยคนไทยให้เป็นอิสระแก่ตัวเอง ขณะเดียวกันก็ทรงยกฐานะของคนไทยให้ทัดเทียมกันด้วยการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสยกระดับสติปัญญาของตนเองให้สูงขึ้นและทัดเทียมกัน อันจะส่งผลอย่างสำคัญยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระยะหลังต่อมา นอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังได้ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง เพื่อสร้างเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ.2475 จนถึงปัจจุบัน สังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย เพราะคนไทยได้รับสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ภายใต้รัฐธรรมนูญ ได้มีความพยายามที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมของไทยให้สอดคล้อง กับแนวนโยบายชาตินิยมแห่งรัฐในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2481-2487) นอกจากนี้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์และได้ร่วมมือกับโลกตะวันตกโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกามากขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรมไทยไม่น้อย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของต่างประเทศที่แพร่หลายเข้ามาตามลำดับจน ถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็สามารถรักษาความเป็นเอกภาพทางสังคม และสามารถรักษาศิลปวัฒนธรรมของไทยเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นและเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด เพราะสังคมไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นศูนย์รวมของคนไทยทั้งชาติ ถึงแม้จะเกิดความระส่ำระสายในสังคมขึ้นบ้าง แต่ก็สามารถแก้ไขให้กลับคืนสู่ความเป็นปกติอย่างรวดเร็ว เพราะพระบารมีแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยนั้นเอง.

2 Comments

Filed under :: ประวัติศาสตร์ ::

:: พัฒนาการด้านเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ ::

เศรษฐกิจโดยส่วนรวมสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอยู่ในสภาพที่พออยู่กันได้ แม้ว่าจะเก็บภาษีได้ไม่พอกับการจ่ายเบี้ยหวัดเงินปีแก่ขุนนางข้าราชการก็ตาม แต่ทางราชการก็ได้นำเงินกำไรจากการค้าสำเภากับต่างประเทศมาใช้จ่ายเพิ่มเติมซึ่งพอแก้ไขปัญหาในแต่ละปีได้
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 รายจ่ายของประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงต้องหาวิธีเพิ่มรายได้แก่ประเทศทั้งในด้านการค้าสำเภากับต่างประเทศ และประมูลผูกขาดการเก็บภาษีอากรจนต้องเพิ่มภาษีใหม่ถึง 38 ชนิด จึงทำให้ประเทศมีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะดังต่อไปนี้

1. ผลผลิตทางการเกษตร
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย และพริกไทย

  • ข้าวเป็นสินค้าที่จัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของสินค้าที่ส่งออกมากตามลำดับ อันได้แก่ น้ำตาล ฝ้าย ไม้หอมและดีบุก ข้าวถือได้ว่าเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่ส่งเป็นสินค้าออกของไทย แต่ปริมาณการส่งออกไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาวะตามธรรมชาติภายในประเทศและความต้องการของตลาดต่างประเทศ
  •  น้ำตาล สามารถผลิตน้ำตาลจากอ้อยได้ ตั้งแต่ต้นสมัยรัชกาลที่ 2 แต่ต่อมาชาวจีนได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ปลูกอ้อยทำน้ำตาลได้ จึงได้มีการส่งสินค้าประเภทนี้ออกไปจำหน่ายนอกประเทศ อุตสาหกรรมประเภทนี้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • พริกไทย มีการส่งออกพริกไทยไปยังประเทศจีนประมาณปีละ 60,000 หาบ ซึ่งในขณะนั้นพริกไทยเป็นที่ต้องการของพ่อค้าต่างชาติมาก

2. ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ทำรายได้ให้กับแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ไม้ แร่ธาตุและสินค้าประเภทเหล็ก ซึ่งสรุปได้ดังนี้

  1. ไม้สัก มีมากบริเวณเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ่อค้าชาวจีน ซึ่งเป็นผู้ประมูลผูกขาดจากป่าไม้จากเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ นอกจากคนจีนแล้ว ทางราชการก็เป็นผู้ดำเนินการโค่นไม้สักเอง เพื่อนำไปใช้ในราชการต่อเรือและส่งไปขายที่เมืองจีนและอินเดีย
  2. ไม้ฝาง ใช้ทำสีย้อมผ้า และไม้กฤษณาซึ่งเป็นไม้หอม เป็นที่ต้องการของชาวตะวันตกกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญ
  3. ดีบุก เป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์และกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะที่ภูเก็ตได้กลายเป็นแหล่งผลิตดีบุกมากที่สุด แร่ดีบุกเป็นสินค้าผูกขาดที่ต้องนำมาขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น โดยเจ้าเมืองจะเป็นผู้ซื้อดีบุกจากราษฏร แล้วนำไปขายต่อให้พ่อค้าต่างชาติอีกต่อหนึ่ง

ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แร่ดีบุกเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดในยุโรป เพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ค้นพบว่าการเอาดีบุกไปเคลือบเหล็กจะทำให้เหล็กไม่เกิดสนิม จึงทำให้ตลาดโลกต้องการมาก ดังนั้นการขุดแร่ดีบุกตามหัวเมืองชายทะเล หัวเมืองมลายู และหัวเมืองปักษ์ใต้จึงเพิ่มปริมาณมากขึ้น

นอกจากดีบุกแล้ว ยังมีเหล็ก ทองแดง ตะกั่ว ทองคำซึ่งมีอยู่ทั่วไป แร่ดิบส่วนใหญ่ได้รับการถลุงขั้นแรกที่บริเวณแหล่งแร่ ต่อจากนั้นจะถูกขนส่งมายังกรุงเทพ ซึ่งมีโรงงานผลิตเครื่องครัวและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ สินค้าประเภทเหล็กจึงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีค่าที่สุดอย่างหนึ่งของไทย

3. การจัดเก็บภาษีอากร

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-2 การจัดเก็บภาษีอากรยังคงมีลักษณะเหมือนกับสมัยอยุธยา ภาษีอากรที่เรียกเก็บในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอนตลาด อากรค่าน้ำเก็บตามเครื่องมือ อากรสมพัตสร (อากรพืชล้มลุก) อากรค่านา อากรสวน และส่วย ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 2 ประเภทของภาษีอากรประกอบด้วย จังกอบ อากร ส่วย ฤชา

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการแก้ไขการเก็บภาษีใหม่ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มพูนมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เพราะในสมัยนี้มีศึกสงครามกับข้าศึกภายนอกมาก ดังนั้นรัชกาลที่ 3 จึงได้ทรงตั้งภาษีอากรใหม่ถึง 38 ชนิด เช่น อากรบ่อนเบี้ยจีน อากรหวย ภาษีเบ็ดเสร็จลงสำเภา ภาษีพริกไทย ภาษีไม้ฝาง ภาษีไม้แดง ภาษีเกลือ ภาษีน้ำมันมะพร้าว ภาษีน้ำมันต่างๆ ภาษีต้นยาง ภาษีใบจาก เป็นต้น

ีการเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นหลายชนิด เพื่อให้การเก็บภาษีได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงได้ใช้วิธีการผูกขาดการเก็บภาษีอากร ซึ่งเป็นวิธีการเก็บภาษีในลักษณะที่มีผู้เสนอรับทำภาษีสิ่งของบางอย่าง ดังนั้นผู้ใดสามารถประมูลได้ (ผู้ที่สัญญาจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนต่อรัฐสูง) ก็เป็นผู้ได้รับสิทธิผูกขาดจัดเก็บภาษีสิ่งของนั้นๆ ผู้ประมูลได้เรียกว่า “เจ้าภาษีนายอากร” โดยรัฐบาลจะมอบอำนาจสิทธิขาดในการจัดเก็บอากรให้ไปดำเนินการเอง และเมื่อถึงกำหนดเวลาจะต้องนำเงินภาษีอากรที่ได้มาส่งให้ครบตามที่ประมูลไป

4. สภาพการค้าขาย

การค้าภายในประเทศอยู่ในขอบเขตจำกัด เพราะเศรษฐกิจเป็นแบบเลี้ยงตนเอง บรรดาพืชผลต่างๆ ซึ่งผลิตได้ส่วนมากจะใช้บริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจากการบริโภคและอุปโภคแล้ว จึงจะนำมาแลกเปลี่ยนกันภายในตลาดท้องถิ่นนั้นๆ

  • การค้าขายภายในประเทศส่วนใหญ่มักจะดำเนินไปตามริมแม่น้ำลำคลอง ระบบเงินตรายังใช้เบี้ยเป็นสื่อในการซื้อขาย แต่ระบบเงินตรายังไม่ได้มาตรฐานทั่วไป คนส่วนมากนิยมการแลกเปลี่ยนกันในรูปสินค้ามากกว่า

การค้าภายในประเทศเริ่มขยายตัว เพิ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยที่ชาวจีนได้เข้ามามีบทบาททางการค้ามากขึ้น ชาวจีนจะเป็นคนกลางนำสินค้าจากท้องที่หนึ่งไปขายยังอีกท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ ห่างไกล

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังที่รัฐบาลได้ทำการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น รัฐบาลจะผูกขาดการค้าทั้งภายในและต่างประเทศแต่เพียงผู้เดียว ราษฏรต้องขายผลผลิตให้กับพระคลังสินค้า โดยรัฐจะเป็นผู้ควบคุมปริมาณและราคาสินค้าได้ โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาและเป็นที่ต้องการของพ่อค้าต่างชาติ ราษฏรต้องนำไปขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น จะขายให้ผู้ใดโดยตรงมิได้

  • การค้ากับต่างประเทศ ระบบการผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การค้าขายกับต่างประเทศดำเนินไปตามวิธีการผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า เสนาบดีกรมท่าจะมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการค้ากับต่างประเทศเหมือนสมัยอยุธยา

พระคลังสินค้าจะดำเนินนโยบายการค้าในรูปแบบการค้าผูกขาดของหลวง โดยพระคลังสินค้าจะออกประกาศบังคับว่า สินค้าบางอย่างให้ราษฏรนำมาขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น เมื่อเรือสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาเทียบท่า ทางเจ้าหน้าที่ของไทยจะไปตรวจเลือกซื้อสิ่งของที่ต้องการก่อน เมื่อรัฐบาลได้สิ่งของที่ต้องการเพียงพอแล้ว จึงยอมให้จำหน่ายแก่คนทั่วไป แต่ถ้าเป็นสินค้าประเภทอาวุธยุทธภัณฑ์ ซึ่งเป็นของจำเป็นต้องใช้ในราชการ เมื่อมีพ่อค้านำเข้ามา ไทยจะบังคับซื้อจากพ่อค้าในราคาต่ำกว่าปกติ

บรรดาสินค้าต่างๆ ที่มีราคาทั้งหลาย เช่น ฝาง ดีบุก ลูกกระวาน ตะกั่ว รง นอแรด งาช้าง พริกไทย กฤษณา เป็นต้น รัฐจะขึ้นบัญชีเป็นสินค้าของหลวง ผู้ใดมีไว้ในครอบครองจะต้องนำมาถวายพระเจ้าแผ่นดินตามราคาที่กำหนดไว้ ส่วนสินค้าต้องห้ามที่ชาวต่างประเทศนำเข้ามาจะถูกบังคับให้ขายกับพระคลังสินค้า ได้แก่ ปืน และดินปืน สินค้าชนิดอื่นๆ ถ้ารัฐบาลต้องการซื้อก็มีสิทธิซื้อก่อนผู้อื่น

สภาพการค้ากับต่างประเทศ ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 2 การค้าขายกับต่างประเทศเริ่มขยายตัวมากขึ้น เพราะพ่อค้าชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายกับไทย ในระยะนี้มีเรือสินค้าของไทยและต่างชาติผ่านไปมาค้าขายมากถึง 241 ลำ

ต่อมาในปลาย พ.ศ.2368 อังกฤษได้ส่ง เฮนรี่ เบอร์นี่ เข้ามาติดต่อทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้าขายกับไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยจึงได้ทำสัญญากับอังกฤษ ใน พ.ศ.2369 ในสัญญาฉบับนี้มีข้อความระบุว่า “พวกพ่อค้าต้องเสียภาษีการค้าขายตามประเพณีของสถานที่ แล้วจึงจะได้รับอนุญาตให้ซื้อและขายโดยไม่ได้รับการแทรกแซงจากผู้อื่น” บรรดาพ่อค้าต้องปฏิบัติตามกฏหมายไทย ห้ามนำข้าวเปลือก ข้าวสารออกนอกราชอาณาจักร ปืนและกระสุนที่นำเข้ามา จะต้องไม่ขายให้ผู้อื่นนอกจากรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่ต้องการสินค้าเหล่านี้ พ่อค้าจะต้องนำกลับออกไป ส่วนสินค้าอื่นอนุญาตให้ซื้อขายได้

ทางด้านการส่งสินค้าออกไปขายยัง ต่างประเทศนั้น จำนวนสินค้าที่สงออกมีหลายชนิด แต่ที่สำคัญได้แก่ น้ำตาล พริกไทย ข้าว และดีบุก ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังจากการทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาแล้ว พ่อค้าต่างประเทศเริ่มเข้ามาค้าขายในกรุงเทพมากขึ้น ทำให้สินค้าออกของไทยเป็นที่ต้องการของพ่อค้าชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก

ทางด้านการสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในพระราชอาณาจักรนั้น ส่วนมากเป็นผ้าไหมจากจีน ผ้าเนื้อธรรมดาจากอินเดียและแถบมะละกา เครื่องลายคราม ชา ไหมดิบ ไหมสำเร็จรูป ฝ้ายชนิดต่างๆ ฝิ่นดิบ ทองแท่งและเงินแท่ง นอกจากนี้ยังเป็นประเภทอาวุธปืน เครื่องแก้ว และสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยอีกหลายรายการ

กล่าวโดยสรุป สภาพเศรษฐกิจของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มขยายตัวและเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 2 จนกระทั่งมาถึงรัชกาลที่ 3 เพราะระบบการค้าแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และการเข้ามาติดต่อค้าขายของชาวตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นี่ระหว่างไทยกับอังกฤษ และติดตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา สำหรับการค้าขายกับจีนนั้น ยังคงดำเนินไปตามปกติ และยังคงเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทยเป็นอย่างมากด้วย

สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 4

โรงกระษาปน์สิทธิการใน พ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โรงกระษาปน์ผลิตเหรียญดีบุก เพื่อเป็นเครื่องแลกใช้แทนเบี้ยหอย และประกาศให้ใช้กะแปะอัฐ และโสฬสที่ทำขึ้นใหม่นี้ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2405 เหรียญดีบุกนี้ทำด้วยดีบุกดำผสมทองแดง ด้านหนึ่งมีตราช้างในวงจักร อีกด้านหนึ่งมีรูปพระมหามงกุฎกับฉัตร เหรียญดีบุกขนาดใหญ่เรียกว่า “อัฐ” มีราคา 8 อันต่อหนึ่งเฟื้อง สำหรับขนาดเล็กเรียกว่า “โสฬส” มีราคา 16 อันต่อหนึ่งเฟื้อง

เงินกระดาษหรือหมายเงินกระดาษหรือธนบัตร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น

สภาพเศรษฐกิจยุคปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก (พ.ศ.2394-2475)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ตกลงทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษในปี 2398 เป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งด้านบวกและด้านลบอย่างมากมาย ดังนี้

1. สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบาริง

  • อังกฤษมีสิทธิตั้งกงสุลคอยดูแลผลประโยชน์และตั้งศาลกงสุลเพื่อชำระความคนในบังคับของอังกฤษ
  • ให้สิทธิการค้าเสรีแก่คนในบังคับอังกฤษทั่วทุกเมืองท่าของไทย และอาจจะเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ภายในเขต ไมล์จากกำแพงเมือง ถ้าเข้ามาอยู่ในเมืองไทยครบ 10 ปี
  • ยกเลิกการเก็บค่าระวางปากเรือ แต่กำหนดภาษีขาเข้าตามราคาสินค้าในอัตราร้อยละชัก 3 ส่วนภาษีขาออกให้เก็บเพียงครั้งเดียว
    ไม่เก็บภาษีฝิ่น แต่ต้องนำมาขายให้แก่เจ้าภาษีเท่านั้น และถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อต้องนำออกไป
  • รัฐบาลไทยมีสิทธิห้ามส่งข้าว เกลือ และปลาออกนอกประเทศได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้กงสุลทราบข่าวล่วงหน้าเป็นเวลา 1 เดือน
    ถ้าไทยทำสนธิสัญญายกประโยชน์ให้ชาติหนึ่งชาติใดในวันข้างหน้า ซึ่งนอกเหนือจากที่อังกฤษได้รับในครั้งนี้ อังกฤษจะต้องได้รับในครั้งต่อๆ ไปด้วย
    เมื่อสัญญาพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ฝ่ายไทย ฝ่ายอังกฤษ จะขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ โดยบอกให้คู่สัญญารู้ล่วงหน้า 1 ปี

ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 ก็ได้มีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคตะวันตกของโลก ส่งผู้แทนเข้ามาเจรจาเพื่อทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับไทย โดยยึดแบบอย่างที่ไทยได้ทำกับอังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงต้อนรับ และทรงยินดีที่จะติดต่อมีความสัมพันธ์ทางการฑูตและการค้ากับประเทศเหล่านั้น เป็นอย่างดี โดยทรงใช้ในสนธิสัญญาเบาริงเป็นแบบฉบับในการทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและ การค้ากับประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา ได้มีการทำสัญญากับฝรั่งเศสในปี.2399 สหรัฐอเมริกาในปี 2399 เดนมาร์กในปี 2401 โปรตุเกส ในปี 2402 ฮอลันดาในปี 2403 ปรัสเซียปี 2405 สวีเดน และนอร์เวย์ในปี .2411 ตามลำดับ

2. สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจหลังเกิดสนธิสัญญาเบาริง  ผล จากการทำสนธิสัญญาเบาริง ทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในหลายด้าน ดังต่อไปนี้

  • ทำให้ไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง
  • ก่อให้เกิดระบบการค้าเสรี และมีการเลิกการค้าแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้าในที่สุด ซึ่งเป็นผลดีต่อการส่งเสริมการค้าของไทยให้ขยายตัวออกไป
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างสินค้าออกและสินค้าเข้า กล่าวคือ สินค้าเข้าแต่เดิมประกอบด้วยสินค้าฟุ่มเฟือยเพื่อการบริโภคของชนชั้นสูง ได้เปลี่ยนมาเป็นสินค้าหลายชนิดเพื่อการบริโภคของคนทั่วไป เช่น ผ้านุ่ง ผ้าฝ้าย เครื่องแก้ว ใบชา กระจก เป็นต้น ส่วนสินค้าออกในสมัยก่อน จะเป็นสินค้าหลายๆ ชนิด ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ข้าว ไม้สัก ดีบุก เป็นต้น
  • การส่งออกข้าวได้ขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง เพราะระบบการค้าที่เปลี่ยนไป และความต้องการของตลาดโลกเพิ่มมากขึ้นด้วย หลัง พ.ศ.2398 เป็นต้นมา ชาวนาได้ขยายการผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้น ทำให้การปลูกพืชชนิดอื่นที่เลี้ยงตัวเองได้ เช่น อ้อย ฝ้าย และพืชที่จำเป็นในการครองชีพอื่นๆ ลดน้อยลง ผลผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ลดลง จนบางครั้งถึงกับเลิกผลิต เพราะแรงงานส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการผลิตข้าวแทน
  • ผลจากการขยายตัวในการผลิตข้าว ทำให้ชาวนาต้องขยายที่นาออกไปมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานเพิ่มขึ้นในการทำนา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความจำเป็น จึงทรงสนับสนุนด้วยการลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ลง เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เวลาในการทำนามากขึ้น ส่วนงานก่อสร้างของหลวงที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากก็โปรดฯ ให้จ้างคนจีนมาทำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้คนไทยมีอิสระที่จะประกอบอาชีพของตนมากกว่าแตก่อน เพราะไม่ต้องกังวลกับการถูกเกณฑ์แรงงาน โดยอาจจะใช้วิธีจ่ายเงิน “ค่าราชการ” แทนการเกณฑ์แรงงานได้
  • การผลิตเงินตราโดยเครื่องจักร ภาย หลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว ได้มีการค้าขายกันอย่างกว้างขวางโดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ด้วยเหตุนี้ระบบเงินตราจึงได้เริ่มมีบทบาทสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทย จากการที่การค้าได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง ทำให้เงินตราที่ใช้หมุนเวียนภายในประเทศมีจำนวนไม่เพียงพอ เป็นผลให้พระคลังมหาสมบัติผลิตเงินได้ไม่ทันกับความต้องการ รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้น ในปี 2403 และสั่งซื้อเครื่องจักรสำหรับผลิตเงินเหรียญกษาปณ์เพื่อใช้แทนเงินพดด้วย เดิมซึ่งผลิตด้วยมือ
  •  การส่งเสริมการทำนาของชาวนา ทางด้านการส่งเสริมการทำนาและการผลิตข้าวของชาวนานั้น รัชกาลที่ 4 ได้ทรงยกเว้นการเก็บภาษีที่ดินทำนา ซึ่งชาวนาได้บุกเบิกใหม่ในปี 2400 พระองค์ทรงประกาศว่า “จะไม่เก็บภาษีที่ดินบุกเบิกเพื่อใช้ทำนาปีแรก” และในอีก 2-3 ปีต่อมาจะเก็บภาษีแต่เพียงอย่างต่ำ นอกจากนี้ยังทรงส่งเสริมให้ขาวนาขยายเนื้อที่ทำนาให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้มีการลดหย่อนการเกณฑ์คนทำงานหลวงอันเป็นประเพณีดั้งเดิมลง งดเว้นการเกณฑ์แรงงานในฤดูทำนา เพื่อให้ราษฏรมีเวลาที่ใช้ประกอบอาชีพทำนามากขึ้น
  •  การปรับปรุงภาษีอากร การ ทำสนธิสัญญาเบาริงเป็นความสำเร็จที่นำไปสู่การปฏิรูปครั้งใหญ่เกี่ยวกับกลไก การบริหารด้านการคลัง ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบภาษีอากรทั้งมวล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งภาษีอากรขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ภาษีสุกร ภาษีปลาสด ภาษีปลาทู ภาษีไหม ภาษีขี้ผึ้ง อากรมหรสพ ภาษีผัก ภาษีฝิ่น เป็นต้น

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขระบบการเก็บภาษีอากรบางอย่าง เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสม คือ ลดอัตราการเก็บเงินอากรบางประเภท นอกจากนี้ ก็ยกเลิกและเปลี่ยนภาษีอากรบางอย่างที่ทำให้ราษฏรเดือดร้อน เช่น ให้ยกเลิกภาษีเกวียน ภาษีเรือจ้าง และภาษีผัก ยกเลิกการประมูลภาษีพลู ยกเลิกภาษีผลมะพร้าว แต่ให้เก็บภาษีน้ำมันมะพร้าวแทน เป็นต้น

สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจสมัยรัชกาลที่ 5

การประปา

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มต้นพัฒนาทางเศรษฐกิจขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เพราะเป็นผลมาจากการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง โดยปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ มีดังต่อไปนี้

  1. การปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อให้รอดพ้นจากการคุกคามของชาติมหาอำนาจตะวันตกนั้น จำเป็นต้องอาศัยเงินทุนเป็นจำนวนมหาศาล มิฉะนั้นการปฏิรูปจะดำเนินต่อไปไม่ได้ ดังนั้นการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อให้รัฐมีรายได้เพียงพอต่อการปฏิรูปแผ่นดิน ครั้งใหญ่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
  2. ปัญหาการคลังที่ล้าสมัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอยู่ในขณะเสด็จขึ้นครองราชย์ จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพราะไม่สนองตอบต่อนโยบายปฏิรูปแผ่นดินในทุกๆ ด้าน เพราะรัฐมีรายได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากระบบการคลังขาดประสิทธิภาพ รายได้ของรัฐมีทางรั่วไหลมาก ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปเศรษฐกิจ อย่างเร่งด่วน ดังนี้

2.1 การปฏิรูปการคลัง ระบบการคลังเดิมนั้นไม่สามารถตรวจสอบและควบคุมการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิรูปการคลังดังต่อไปนี้

* จัดตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์ โดยมุ่งหมายจะให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมพระราชทรัพย์ ซึ่งขึ้นอยู่ตามท้องพระคลัง จึงเป็นก้าวแรกของการปฏิรูปทางด้านการคลัง เพราะเป็นการเริ่มต้นรวมงานการเก็บภาษีอากรมาไว้ที่หอรัษฏากรพิพัฒน์ เพื่อให้เก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพของเจ้าพนักงานและเจ้าภาษีนายอากร ตลอดจนวางระบบป้องกันการทุจริตของเจ้าพนักงาน เงินภาษีอากรทั้งหมดจะต้องถูกส่งไปเก็บไว้ในท้องพระคลังทั้งหมด ก่อนที่จะแจกจ่ายให้กรมกองต่างๆ ใช้ในกิจการของตน
* ประกาศใช้ พ.ร.บ.กรมพระคลังมหาสมบัติ ใน พ.ศ.2418 โดยจุดมุ่งหมายเพื่อจัดระเบียบราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยกำหนดวิธีการส่งเงิน รับเงิน ตรวจเงิน และการจัดลำดับตำแหน่งข้าราชการรับผิดชอบงานในระดับต่างๆ ตลอดจนกำหนดระเบียบปฏิบัติของเจ้าภาษีนายอากร และผู้เกี่ยวข้องในการส่งเงินต่อพระคลังมหาสมบัติ
* โปรดให้จัดระเบียบการจัดทำงบประมาณขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของการจัดทำงบประมาณ รายรับและรายจ่ายในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติราชการ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ เพราะแต่เดิมไม่มีการจัดทำงบประมาณรายรับรายจ่ายล่วงหน้า และต่อมาใน พ.ศ.2434 โปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการจัดทำงบประมาณขึ้น เพื่อเป็นหลักในการจัดสรรเงินให้แก่กระทรวงต่างๆ ให้เป็นสัดส่วนกัน การจัดระเบียบการจัดทำงบประมาณดังกล่าว ทำให้รัฐบาลสามารถจัดพิมพ์งบประมาณรายรับรายจ่ายแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2444
* โปรดให้แยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการจัดระเบียบการคลังและจัดทำงบประมาณในครั้งนี้ ได้มีการแยกรายจ่ายส่วนพระองค์ออกจากรายจ่ายของแผ่นดินหรือรายจ่ายเพื่อ สาธารณะ และใน พ.ศ.2441 ได้มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินของแผ่นดิน แล้วมอบให้พระคลังข้างที่เป็นฝ่ายบริหารพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ต่อไป

2.2 การปฏิรูประบบเงินตรา เนื่องจากการค้าได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง รัชกาลที่ 5 จึงทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบเงินตราให้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายที่ทันสมัย ดังเช่นที่ประเทศตะวันตกปฏิบัติกันอยู่ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการซื้อขายยิ่งขึ้น โดยมีการปฏิรูปเงินตราดังนี้

  • พ.ศ.2422 โปรดเกล้าฯให้สร้างหน่วยเงินที่เรียกว่า “สตางค์” ขึ้นใช้ โดยกำหนดให้ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท พร้อมทั้งผลิตเหรียญสตางค์ขึ้น 4 ราคา คือ 20 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางค์ และ 2 1/2 สตางค์ ใช้ปนกับเงินซีก เสี้ยว อัฐ ต่อมาในปลายรัชกาล โปรดให้ยกเลิกเงินเฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ และโสฬส ซึ่งเป็นเงินตราแบบเดิม
  • พ.ศ.2445 โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.121 และจัดตั้งกรมธนบัตรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการออกธนบัตรให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
  •  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรม หมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงดำริที่จะจัดตั้งธนาคารของคนไทยเพื่อสนับสนุนการค้าและเศรษฐกิจของคนไทย ให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับชาวต่างประเทศ จึงได้ทรงเริ่มต้นด้วยการจัดตั้ง “บุคคลัภย์” (ฺBook Club) ขึ้นก่อน เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2447 และทดลองดำเนินกิจการภายในประเทศเท่านั้น ต่อมาเมื่อกิจการดำเนินไปด้วยดี และได้รับความเชื่อถือจากประชาชน จึงได้เปลี่ยนจาก “บุคคลัภย์”มาเป็นแบงค์ ใช้ชื่อว่า แบงก์สยามกัมมาจล มีนโยบายเช่นเดียวกับธนาคารต่างประเทศ นับเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศที่ตั้งขึ้นมาด้วยเงินทุนของคนไทย ต่อมาธนาคารนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน

2.3 การส่งเสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการส่งออก ภายหลังที่ประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษและชาติตะวันตกอื่นๆ นับตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา ทำให้การผลิตทางการเกษตรซึ่งเคยผลิตเพื่อการยังชีพ ได้เปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อการค้า การเกษตรเริ่มมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจด้านอื่นของประเทศอย่างแยกไม่ออก ด้วยเหตุนี้รัชกาลที่ 5 จีงได้ดำเนินการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตร ดังนี้

  • ดำเนินการขุดคลอง สร้างทำนบ และประตูน้ำ เพื่อช่วยส่งน้ำให้เข้าถึงพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกข้าวได้ รัฐบาลได้อนุญาตให้บริษัทขุดคลองคูนาสยาม ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานขุดคลองทั่วพระราชอาณาจักร มีกำหนด 25 ปี คือ ระหว่าง พ.ศ.2433 ถึง พ.ศ.2458 นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ช่วยในการทำนา เช่น ใช้เครื่องจักร ใช้แรงไฟสำหรับไถนา นวดข้าว สีขาว และวิดน้ำเข้านา เป็นต้น ในการนี้รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนด้วยการให้รางวัลแก่บริษัทห้างร้านที่ ประดิษฐ์เครื่องจักรที่เหมาะสมกับความต้องการในการทำนา
  • ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ส่งเสริมการปลูกฝ้ายอย่างจริงจังให้กับราษฏร โดยจ้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องฝ่ายจากต่างประเทศเข้ามาดำเนินการจัดตั้งสถานีทดลองและทำไร่ฝ้ายตัวอย่าง ตั้งโรงงานหีบฝ้าย แนะนำพันธ์ฝ้ายที่เหมาะสมกับภูมิประเทศและภูมิอากาศ เป็นต้น

2.4 การปรับปรุงการคมนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการคมนาคมของประเทศ ซึ่งกำลังอยู่ในยุคปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงการคมนาคมให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางบกและทางน้ำ ที่สำคัญได้แก่ การขุดคลอง การสร้างถนน และการสร้างทางรถไฟ

  • การขุดคลอง ในสมัยรัชกาลที่ 5 การขุดคลองมุ่งประโยชน์ด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดฯ ให้หน่วยราชการและเอกชนขุดคลองขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพ กับจังหวัดข้างเคียง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ และเป็นเส้นทางลำเลียงข้าวออกสู่ตลาดต่างประเทศ เช่น คลองดำเนินสะดวก คลองเปรมประชากร คลองนครเฟื่องเขตร คลองประเวศบุรีรมย์ คลองทวีวัฒนา และคลองนราภิรมย์ นอกจากนั้นพระองค์ ยังโปรดฯ ให้เอกขุดคลอง เพื่อขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูกออกไปแถบตำบลบางหลวง บางโพ แขวงเมืองปทุมธานี และบริเวณทุ่งหลวงตามโครงการรังสิตของบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเปิดเนื้อที่ใหม่ๆ เพื่อใช้ในการทำนา
  • การสร้างถนน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ของการสร้างถนนและสะพานว่า จะทำให้การเดินทางไปไหนมีระยะสั้นลง และจะทำให้เกิดร่มเงาจากต้นไม้สองข้างถนน รวมทั้งทำให้บ้านเมืองงดงามอีกด้วย การสร้างถนนในสมัยนี้เป็นการสร้างตามแบบตะวันตก ภายหลังการสร้างถนนแล้วได้มีบรรดาพ่อค้าและชาวกรุงส่วนหนึ่งหันมาก่อสร้าง รานค้าและบ้านเรือนที่อยู่อาศัยตามริมถนนทำให้ที่ดินริมถนนมีราคาแพง ถนนที่สร้างขึ้นในสมัยนี้เช่น ถนนเยาวราช ถนนจักรวรรดิ ถนนอนุวงศ์ ถนนบูรพา ถนนสามเสน ถนนราชดำเนิน เป็นต้น
  • การสร้างทางรถไฟ ในด้านการสร้างทางรถไฟตามแบบตะวันตก มีการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมืองในส่วนภูมิภาคทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ แม้ว่าจุดมุ่งหมายในขั้นต้นจะทำเพื่อประโยชน์ทางด้านการปกครองและการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยของพระราชอาณาจักรก็ตาม แต่การสร้างทางรถไฟก็มีผลต่อการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจด้วย เพราะเมื่อมีเส้นทางคมนาคมทางรถไฟใช้แล้ว ปรากฏว่าข้าวและพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ที่ส่งเข้ามาขายยังตลาดในกรุงเทพฯ เพื่อใช้บริโภคภายในประเทศ และเพื่อการส่งออก ต่างมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ทางรถไฟที่สร้างขึ้น เช่น ทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา ทางรถไฟสายเหนือ (ภายหลังระงับการก่อนสร้างทางรถไฟสายเหนือเอาไว้ก่อน เพราะประสบปัญหาเรื่องเงินทุน) ทางรถไฟสายใต้ นอกจากนี้ก็มีทางรถไฟสายกรุงเทพ-สมุทรปราการ กรุงเทพ-พระพุทธบาท, กรุงเทพ-มหาชัย-ท่าจีน-แม่กลอง สายบางพระและสายแปดริ้ว เป็นต้น
  • ผลของการปฏิรูปเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 จากการปฏิรูปเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งทางด้านการคลัง ระบบเงินตรา การสร้างเสริมการผลิตทางด้านการเกษตรและการคมนาคมขนส่ง ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมหลายประการ คือ
  • ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มมากขึ้นจาก พ.ศ.2435-2447 เช่น รายได้เพิ่มจาก 15 ล้านบาท เป็น 46 ล้านบาท โดยมิได้เพิ่มอัตราภาษีและชนิดของภาษีขึ้นแต่ประการใด ทั้งยังมีการยกเลิกภาษีที่ล้าสมัยบางอย่างไปด้วย ทำให้เงินคงคลังของประเทศ ซึ่งเคยมีอยู่ประมาณ 7,500,000 บาท ใน พ.ศ. 2437 เพิ่มขึ้นเป็น 32,000,000 บาท ใน พ.ศ.2444
  • ก่อให้เกิดความมั่นคงต่อฐานะการคลังของประเทศ และการจัดระบบงบประมาณรับจ่ายเงินที่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
  • ก่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยต่อบูรณภาพเขตแดนของพระราชอาณาจักรมากยิ่งขึ้น เพราะการปรับปรุงทางด้านคมนาคม นอกจากจะช่วยอำนวยประโยชน์ในทางเพิ่มรายได้จากการค้าขายและการส่งออกแล้ว ยังช่วยให้ทางรัฐบาลสามารถดูแลพระราชอาณาเขตได้รัดกุมมากยิ่งขึ้น

สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง พ.ศ.2453-2475

รัชกาลที่ 6 ทรงพยายามที่จะปรับปรุงทางด้านเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้น จนมีผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ปัญหาเหล่านี้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลที่ 7 ถึงแม้ว่ารัชกาลที่ 7 จะพยายามแก้ไขอย่างเต็มพระสติกำลัง แต่สถานการณ์ดังกล่าวก็มิได้กระเตี้ยงขึ้น จนกลายเป็นเงื่อนไขทีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด

1. สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป มีดังนี้

* การร่วมลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรม รัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการลงทุนจัดตั้งบริษัททำปูนซีเมนต์ของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ในปี 2456 ทำให้ประเทศไทยลดการสั่งเข้าปูนซีเมนต์จากต่างประเทศให้น้อยลงได้ นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนกิจการโรงไฟฟ้าสามเสน ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2454 และเริ่มส่งกระแสไฟฟ้าในปี 2457 ในปี 2461 ได้มีการจัดตั้งบริษัทพาณิชยนาวีสยาม ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนทางด้านการเงินเช่นเดียวกัน
* การส่งเสริมด้านการเกษตร ในด้านการส่งเสริมการเกษตรนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ดำเนินการหลายประการ เช่น จัดตั้งกรมทดน้ำเพื่อจัดหาน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก ส่งเสริมให้มีการขุดลอกคูคลอง เช่น ขุดคลองบางระแนะใหญ่ และคลองบางมด ในปี 2459 ขุดลอกคลองบ้านไทรและคลองวัดโพ ธนบุรี ในปี 2462 เป็นต้น ได้มีการจัดสถานีทดลองพันธ์ข้าวขึ้นที่คลอง 6 รังสิต ธัญญบุรี และจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรเป็นแห่งแรก ชื่อ “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในปี 2459 และจัดตั้งสหกรณ์แห่งที่ 2 ที่ลพบุรี ใน ปี 2460
* การจัดตั้งสภาเผยแพร่พาณิชย์และกระทรวงพาณิชย์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีนโยบายแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจด้วยการจัดตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหา สมบัติ เมื่อพ.ศ.2457 มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ สำหรับเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางด้านการค้า ราคาสินค้า ขนิดของสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด แหล่งผลิตของสินค้านั้นๆ โดยการออกหนังสือเป็นรายเดือน
ในระยะแรกที่กรมพาณิขย์และสถิติพยากรณ์เริ่มดำเนินการนั้นได้มีหน้าที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ ควบคุมดูแลบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม และส่งเสริมด้านการพาณิชย์ของไทยให้แพร่หลายไปยังนานาประเทศ
* การตั้งสถาบันการเงิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำเริจัดตั้งสถาบันการ เงินขึ้นมา เพื่อฝึกฝนให้ประชาชนของชาติเห็นถึงความสำคัญของการออมทรัพย์ จึงได้มีกิจการ “ธนาคารออมสิน” เกิดขึ้น การตั้งธนาคารออมสินก็เพื่อป้องกันมิให้ชาวนาเอาเงินไปเล่นการพนัน และอีกประการหนึ่งก็เพื่อความสะดวกและช่วยเหลือชาวนาให้มีทุนรอนในการทำมาหา กิน เมื่อกิจการออมสินดำเนินมา เงินที่ราษฏรนำมาฝากไว้นับเป็นผลดีต่อรัฐบาลที่จะมีเงินทุนในการใช้จ่ายบ้าง แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก
* การเปลี่ยนแปลงมาตราชั่ง ตวง วัด  สาเหตุที่ทำให้รัฐบาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตราการชั่ง ตวง วัด เกิดขึ้นจากปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อผลประโยชน์ของเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา ทั้งนี้เพราะว่า โดยทั่วไปในชนบทเครื่องมือที่ใช้การชั่ง และตวงข้าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือก ซึ่งมีขนาดไม่เท่ากันในแต่ละท้องถิ่น ก่อให้เกิดปัญหาและขาดความแน่นอนในการชั่ง ตวง ที่ชาวนาต้องถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าที่เข้ามารับซื้อข้าว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงประกาศใช้มาตราชั่ง ตวง วัด ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตามแบบสากล โดยนำเอาระบบของฝรั่งเศสมาใช้แทนมาตราการชั่ง ตวง วัดตามแบบเก่าของไทย
* การสร้างทางรถไฟ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการสร้างทางรถไฟสายแปดริ้ว-ปราจีนบุรีขึ้น โดยเริ่มลงมือสร้าง ใน พ.ศ.2463 และเสร็จเรียบร้อยใน พ.ศ.2470
การสร้างทางรถไฟในเส้นทางดังกล่าว สามารถอำนวยประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างแท้จริง ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง ผลผลิตของภาคตะวันออกโดยเฉพาะข้าว โค กระบือจะถูกลำเลียงเข้ามากรุงเทพฯ เป็นมูลค่าต่อปีสูงมาก ในขณะเดียวกันฝ่ายบ้านเมืองก็ได้ประโยชน์ในการปกครองหัวเมืองให้ใกล้ชิดมาก ยิ่งขึ้น

2. ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2453-2468
ถึงแม้ว่าจะได้มีการปรับปรุงและส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจด้วยวิธีการต่างๆ แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจทรุดโทรม เพราะความตกต่ำของรายได้และการขยายตัวของรายจ่ายซึ่งไม่สมดุลกัน

ในปี 2460 ได้เกิดอุทกภัยทั้งในประเทศไทย พม่า และอินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของโลกทั้งสามประเทศ ทำให้กระทบกระเทือนการผลิตข้าวในประเทศไทย

ต่อมาในปี 2462 ได้เกิดฝนแล้งอย่างหนัก จึงก่อให้เกิดความเสียหายต่อการปลูกข้าว ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดขาดแคลนข้าวที่ใช้บริโภคภายในประเทศ และไม่มีปริมาณเหลือสำหรับส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ยังทำให้ขาดแคลนเงินตราต่างประเทศอีกด้วย

รัฐบาลจึงต้องจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยเหลือชาวนา ข้าราชการและผู้ประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งรายจ่ายอื่นๆ รัฐบาลต้องจ่ายมากกว่างบประมาณรายได้ถึง 4 ล้านบาท จึงทำให้งบประมาณปี 2463 ต้องขาดดุลเป็นปีแรกหลังจากที่ได้มีการเกินดุลตลอดระยะ 8 ปีที่ผ่านมา

นอกจากผลิตผลทางการเกษตรจะได้รับความเสียหายแล้ว รัฐบาลยังต้องสูญเสียรายได้จากภาษีอากรต่างๆ ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกไป เช่น อากรการพนัน โดยรัฐบาลยกเลิกการเก็บอากรบ่อนเบี้ยและหวย กข. ในช่วง 2459-2463 จึงทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากส่วนนี้ไปปีละประมาณ 3,400,000 บาท

นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังได้ยกเลิก การสูบฝิ่นภายในประเทศตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับนานาชาติในปี 2457 ทำให้รัฐบาลต้องยกเลิกการจัดเก็บภาษีฝิ่นไปโดยปริยาย ในช่วง 2465-2468 รัฐบาลจึงต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจและการคลังอย่างหนัก ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการปรับปรุงรายรับรายจ่ายให้เกิดความสมดุลกันโดยเร็ว

3. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2468-2475
ผลจากปลายสมัยรัชกาลที่ 6 ที่สถานการณ์การคลังของประเทศตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมอย่างหนัก เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน ปี 2468 พระองค์จึงอยู่ในฐานะที่ต้องแก้ไขสถานการณ์ทางการคลังอย่างเร่งด่วน ดังนั้นภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระองค์จึงทรงตั้งพระทัยที่จะแก้ไขปัญหาการเงินของประเทศ ให้รายจ่ายรายรับเข้าสู่ดุลยภาพอย่างเร่งด่วน

ในปี 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดทอนรายจ่ายในราชสำนัก เพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ โดยโปรดฯ ให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์จากเดิมปีละ 9 ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น 3 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีศุลกากรใหม่หลายอย่างหลังจากการแก้ไข สนธิสัญญาที่จำกัดอธิปไตยการคลังแล้ว ซึ่งพระบรมราโชบายดังกล่าว ทำให้สามารถจัดงบประมาณปี 2469 ให้เข้าสู่ดุลยภาพได้ โดยไม่ต้องตัดทอนรายจ่ายจากหน่วยราชการมากนัก

ในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพยายามปรับปรุงประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป หลังจากที่หยุดชะงักมาเกือบตลอดสมัยรัชกาลที่ 6 การพัฒนาในรัชกาลที่ได้เน้นหนักไปทางด้านเกษตรและการศึกษา ซึ่งจะเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

แต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะ ไม่กู้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศเพื่อลดภาระการเสียดอกเบี้ย รวมทั้งการจำกัดการใช้จ่ายให้อยู่แต่เฉพาะกำลังเงินรายได้ภายในประเทศเท่า นั้น ทำให้สภาพเศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะชะงักงัน การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเผชิญกับความผันผวนทางการเงินใน ขณะเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ดังกล่าว ได้สร้างความหนักพระทัยให้แก่พระองค์ท่านเป็นอย่างมาก พระองค์จึงมีพระบรมราโชบายที่จะตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาล ลดจำนวนข้าราชการในกระทรวงต่างๆ ให้น้อยลง และพระองค์ทรงยินยอมที่จะลดรายได้ที่รัฐบาลถวายพระคลังข้างที่ให้น้อยลงจาก เดิม ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดความสมดุลในเรื่องรายรับรายจ่ายของรัฐบาล

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระราชปรารภว่าคนไทยควรจะเริ่มหางานอื่นทำ นอกจากจะยึดอาชีพราชการเหมือนที่เคยเป็นมา และถึงเวลาที่คนไทยจะต้องหันไปปรับปรุงการค้าและการอุตสาหกรรมให้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่รัฐบาลกำลังรอคอยเพื่อให้ภาวะเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นอยู่นั้น ปรากฏว่าได้มีเหตุการณ์ซ้ำเติมสภาพอันผันผวนทางการเงินของประเทศไทยให้เกิดภาวะวิกฤติมากขึ้นอีก คือ สภาพเศรษฐกิจของโลกที่เริ่มตกต่ำมาเป็ฯลำดับ ตั้งแต่2472 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และกลับทรุดหนักลงไปอีกในปี 2474 ประเทศไทยขณะนั้นประสบกับภาวะ “ข้าวยากหมากแพง”ประชาชนทั่วไปต่างพากันเดือดร้อนอย่างหนัก ภาวะเงินฝืดทั่วประเทศ

มาตรการสำคัญที่รัฐบาลพยายามนำมาใช้แก้ปัญหาคือ การตัดทอนรายจ่ายอย่างเข็มงวด โดยปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนมาก จัดการยุบมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศ และงดจ่ายเบี้ยเลี้ยงข้าราชการและเบี้ยกันดาร

ในเดือนกันยายน 2475 รัฐบาลได้ประกาศออกจากมาตรฐานทองคำ และกำหนดค่าเงินตราตามปอนด์สเตอร์ลิง ในการจัดทำงบประมาณประจำปีเพื่อให้เข้าสู่ดุลยภาพ รัฐบาลได้มีนโยบายตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด แล้วออกพระราชบัญญัติเก็บภาษีอากรใหม่และต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2475 ก็ได้ขายทองคำทุนสำรองที่มีอยู่ทั้งหมด

ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2475 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มภาษีราษฏรโดยเฉพาะข้าราชการที่มีรายได้จากรัฐบาลประจำเดือน เรียกว่า “ภาษีเงินเดือน” โดยรัฐบาลได้ตัดทอนรายจ่ายลงเป็นอย่างมากที่สุดแล้วนั้น แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ฐานะการเงินของประเทศดีขึ้น

มาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ดังกล่าว ทำให้ราษฏรประสบความเดือดร้อนมากขึ้น ประกอบกับการขาดแคลนโรงงานอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทำให้คนว่างงานเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นกิจการค้าทั้งหมดก็ตกอยู่ในกำมือของชาวต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น ดังนั้น สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าวจึงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศและกลาย เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ความพยายามของคณะราษฏรในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฏรได้พยายามที่จะปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฏรส่วนใหญ่มากที่สุด จะเห็นได้จากหลัก 6 ประการของคณะราษฏร ซึ่งมีอยู่ข้อหนึ่งที่ระบุว่า “จะบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฏรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฏรทุกคนทำ รวมทั้งจะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฏรอดอยาก”

คณะราษฏรได้มอบหมายให้หลวงประดิษฐ มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ร่าง “เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ” ให้คณะราษฏรพิจารณา แต่ภายหลังทีได้ร่างเสร็จแล้ว เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐมนูธรรม กลับได้รับการปฏิเสธจากรัฐบาลและสมาชิกของคณะราษฏรบางส่วน รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชวิจารณ์ในลักษณะที่ ไม่เห็นด้วย เพราะเค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงประเพณีเศรษฐกิจที่สังคมไทยเคยมีมา

เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ประกอบด้วยข้อเสนอ 2 ส่วน คือ

1. การเปลี่ยนระบบกรรมสิทธิ์ คือ การเสนอให้โอนที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตทั้งหมดเป็นของรัฐ โดยรัฐให้ค่าตอบแทนแก่เจ้าของปัจจุบันในรูปพันธบัตรเงินกู้ และนอกจากนี้ให้โอนทุนและโรงงานอุตสาหกรรมเป็นของรัฐ โดยให้ค่าตอบแทนในลักษณะเดียวกัน หากเจ้าของทุนปรารถนาจะดำเนินการของตนเองต่อไป ก็ต้องพิสูจน์ว่า จะทำได้พอเลี้ยงชีวิตตนเองและครอบครัว ถ้าพิสูจน์ได้รัฐบาลจะอนุญาตเป็นรายๆ ไป ส่วนกิจการของต่างประเทศจะได้รับสัมปทานให้ดำเนินการชั่วเวลาหนึ่งเช่นเดียวกัน
2. การจัดพัฒนาการเศรษฐกิจ   เพื่อเพิ่มพลังการผลิตของประเทศ เพื่อปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายนี้รัฐจะเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจ และควบคุมการใช้ทุนอันเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคุมให้มีการมีการลงทุนในกิจการที่เป็นประโยชน์ระยะยาวแก่ประเทศอย่างแท้จริง
ในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามแผน จะมุ่งให้หน่วยงานสหกรณ์เป็นผู้ร่วมกระทำด้วย เพื่อที่จะดูแลกิจการต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง โดยให้รัฐจัดสหกรณ์แบบเต็มรูป ซึ่งโครงการเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าระบบเศรษฐกิจ เป็นการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจทั้งการเกษตรและอุตสาหกรรมอย่างมีแผน มุ่งกระจายรายได้และทรัพย์สินในระบบให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น แต่จะไม่มีการริบทรัพย์สิน จะใช้วิธีการซื้อที่ดินและโรงงานด้วยพันธบัตร ขณะเดียวกันก็ยังมีนายทุนทีได้รับสัมปทานดำเนินธุรกิจอยู่ด้วย

ความพยายามที่จะแสวงหาแนวทางใหม่ใน การพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้รับการต่อต้านจนต้องเลิกล้มแผนการดังกล่าว เพราะแม้แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเขียนบันทึกพระบรมราช วินิจฉัยคัดค้าน โดยพระองค์ก็ทรงเห็นว่าเค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าวจะทำลายเสรีภาพของราษฏร

เค้าโครงเศรษฐกิจผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2476 แต่ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคมในปีเดียวกันนั่นเอง เค้าโครงเศรษฐกิจก็ถูกยับยั้งด้วยคะแนนเสียง 11 ต่อ 3 ไม่ออกเสียง 5 คะแนน ในที่สุดเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐมนูธรรมก็ต้องระงับไช้

พัฒนาการทางเศรษฐกิจโดยการนำของรัฐในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม

1. การเสริมสร้างเศรษฐกิจตามระบบทุนนิยม
ภายหลังจากที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้นำรัฐบาลใน พ.ศ.2481-2487 ความพยายามที่จะสร้างชาติให้เป็นมหาอำนาจตามนโยบายของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก่อให้เกิดความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นต้นความคิด

ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวมีลักษณะเป็นทุนนิยมโดยการนำของรัฐ คือสนับสนุนบรรดานายทุนน้อย ข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย และชาวนาผู้ร่ำรวยเป็นอันดับแรก แต่มิได้ขัดขวางการขยายตัวของนายทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของชาติ ซึ่งหมายถึง ระบบราชการที่สั่งการโดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม

รัฐต้องซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมเป็นครั้งคราว และรัฐต้องขายที่ดินเหล่านั้นให้แก่ชาวนา คนไทยทุกคนจะต้องมีที่ดินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามควรแก่อัตภาพ ชนชั้นกลางขนาดย่อยจะต้องรวมตัวกันในการผลิตและการค้าในรูปสหกรณ์ โดยต่างฝ่ายยังคงเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยการนำของรัฐก็คือเศรษฐกิจแบบชาตินิยมนั้นเอง

กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามในช่วง พ.ศ.2481-2487 มีลักษณะสำคัญคือ รัฐเข้าร่วมในการลงทุนเป็นรัฐวิสาหกิจ สนับสนุนให้ต่างชาติเข้าลงทุนได้ โดยรัฐบาลให้การส่งเสริมและร่วมมือในการลงทุน

2. ความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนประสบกับความเดือดร้อนอย่างหนัก จากการขาดแคลนข้าวบริโภค ซึ่งเป็นผลมาจากอุทกภัย ใน ปี 2485 ทำให้พื้นที่เพาะปลูกเสียหายหมด นอกจากนั้น ข้าวที่ผลิตได้ต้องถูกญี่ปุ่นบังคับซื้อเพื่อนำไปเลี้ยงทหารญี่ปุ่นทั้งที่อยู่ภายในและนอกประเทศ

ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม 2489 ไทยต้องทำข้อตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งตามสัญญาไทยต้องส่งข้าวเป็นจำนวน 1 ล้าน 5 แสนตันให้กับอังกฤษ โดยไม่คิดมูลค่า ทำให้เกิดการขาดแคลนข้าวภายในประเทศ และมีการลักลอบนำข้าวไปขายต่างประเทศ เพราะได้ราคาสูงกว่าภายในประเทศ

นอกจากนี้ผลของสงครามทำให้เศรษฐกิจของไทยตกต่ำ เกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าของเงินลดลง สินค้ามีราคาแพง ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งขาดเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

การเกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าของเงินตกต่ำและราคาสินค้าสูงขึ้น เป็นผลมาจากการพิมพ์ธนบัตรออกใช้โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เนื่องจากการใช้เงินของคนญี่ปุ่นที่เข้ามาประเทศไทยในระหว่างสงคราม งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลสูงกว่ารายรับทุกปี นอกจากนี้ไทยยังขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ เพราะตาม “ข้อตกลงสมบูรณ์แบบ”ที่ไทยทำกับอังกฤษหลังสงคราม ได้ห้ามไทยส่งสินค้าออกที่สำคัญ คือ ดีบุก ยางพารา ไม้สัก ซุง ไปขายนอกประเทศ เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากองค์การระหว่างประเทศที่จะระบุไว้ในสัญญาเสีย ก่อน ทำให้ประเทศไทยขาดแคลนเงินตราต่างประเทศสำหรับซื้อสินค้าเพื่อบรรเทาความขาด แคลนภายในประเทศที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

รัฐบาลพยายามจะแก้ไขปัญหา เช่น ตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ได้ประกาศเก็บธนบัตรในละพันบาทเข้าคลัง อนุญาตให้เปิดบ่อนการพนันชั่วคราว เพื่อจะได้เก็บธรรมเนียม และภายหลังสงคราม รัฐบาลนายปรีดี พนมยงศ์ ได้กู้เงินจากสหรัฐอเมริกา 10 ล้านดอลล่าร์ จากอินเดีย 50 ล้านรูปี ตลอดจนรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้ทำการขายทองคำทั้งในประเทศและนอกประเทศ แต่ปัญหาเศรษฐกิจก็ยังไม่ดีขึ้น

3. ผลกระทบทางเศรษฐกิจอันสืบเนื่องมาจากนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของไทยในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม (ช่วง 2491-2500)
ภายหลังการรัฐประหาร ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 และจอมพล ป.พิบูลสงครามได้กลับคืนสู่อำนาจทางการเมือง ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในปี  2491 การเมืองระหว่างประเทศเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เพราะจีนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ในปี 2492 สหรัฐอเมริกาเกรงว่าลัทธิคอมมิวนิสต์จะมีอิทธิพลครอบงำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และถ้าอินโดจีนต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์ ย่อมจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของอเมริกา อเมริกาจึงเร่ง ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์

ในปี 2493 สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือประเทศไทย ด้วยการทำสัญญาความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือทางทหาร และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค ซึ่งสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจนั้น จะสามารถสกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ได้ สหรัฐอเมริกาจึงมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระวห่างประเทศในรูปแบบการค้าเสรี ซึ่งนโยบายดังกล่าวทำให้สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาเกี่ยวข้องทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศไทยอย่างใกล้ชิด

ขณะเดียวกันนายทุนพาณิชย์ที่เป็นคนจีน ได้รวมตัวกันเป็นสมาคมเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของตน เช่น สมาคมพ่อค้าเพชรพลอย สมาคมพ่อค้าสุรา สมาคมธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว สมาคมพ่อค้าขายส่งน้ำแข็ง สมาคมพ่อค้ากาแฟ สมาคมพ่อค้ายาสูบ เป็นต้น

บรรดาพวกนายทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนทำธุรกิจต่าง ๆในเมืองไทยอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็จะมีหอการค้าของตน เช่น หอการค้าอเมริกัน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และอินเดีย เป็นต้น

การที่รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เป็นเพราะประเทศไทยในสมัยนี้ได้มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ดังนั้น การหวังพึ่งประเทศตะวันตกที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจและ การทหารที่เข็มแข็ง ย่อมเป็นผลดีต่อประเทศไทยทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้การเปิดโอกาสให้ประเทศเหล่านี้เข้ามาลงทุนก็เท่ากับเป็นการเปิด สัมพันธภาพที่ดีต่อประเทศเหล่านี้

รัฐบาลในยุคนั้นได้ออกกฏหมายสงวนอาชีพให้กับคนไทย โดยรัฐบาลเข้าควบคุมกิจการบางชนิด เช่น ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ การจำหน่ายสุรา ประกาศให้กิจการช่างตัดผมเป็นอาชีพของคนไทย และกิจการโรงเลื่อยมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีหุ้นเป็นคนไทย 75 เปอร์เซ็นต์

รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการให้นายทุนทั้งหลายรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นเพื่อให้มีพลังต่อรองกับต่าง ประเทศ และเพื่อให้กลุ่มพ่อค้านายทุนที่รวมตัวกันนั้น สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2497 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อดำเนินการจัดตั้งสภาการค้าขึ้น ให้เป็นศูนย์กลางของนักธุรกิจทุกชาติในประเทศไทย ทั้งผู้นำการส่งออก ประกอบการผลิต การอุตสาหกรรม การธนาคาร การประกันภัย การขนส่งและการค้าอื่นๆ โดยกำหนดให้ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการดำเนินการส่งเสริมการค้า และจัดระเบียบการค้า ตลอดจนทำหน้าที่ประสานการระหว่างรัฐบาลกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า

รัฐบาลได้จัดตั้งบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย ในปี 2495 ทำการผูกขาดการค้าน้ำตาล จัดตั้งบริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติ ในปี 2497 เพื่อดำเนินธุรกิจการค้า กองทัพบกได้จัดตั้งโรงงานทอผ้า ใช้เครื่องจักรโรงงาน 2 แห่ง เมื่อ พ.ศ.2493 บริษัทเชลล์และเอสโซได้ซื้อกิจการโรงกลั่นมูลค่า 8 ล้านบาท แลเช่าที่ที่ช่องนนทรี 600 ไร่ สัญญาเช่า 30 ปี ฯลฯ ซึ่งแสดงให้เห็นตัวอย่างของทุนนิยมในประเทศไทยในช่วง 2491-2500

สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาย หลังที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี 2501 แล้วก็มีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติให้เจริญรุ่งเรือง ตามแบบอย่างประเทศตะวันตก จึงได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม โดยการตราพระราชบัญญัติ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ.2503 และ พ.ศ.2505 และพระราชบัญญัติงดหรือลดอากรขาเข้าให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่ได้รับการ ส่งเสริม พ.ศ.2503 และ พ.ศ.2504

นอกจากจะมีการตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว ใน พ.ศ.2504 รัฐบาลได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) และพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินี้ จะมีสืบเนื่องกันต่อมาถึงปัจจุบัน แต่ละฉบับมีสาระสำคัญดังนี้

1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) มีวัตถุประสงค์หลักคือ

* มุ่งเน้นการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐาน
* พัฒนาอุตสาหกรรมและสนับสนุนให้เอกชนประกอบธุรกิจอย่างเต็มที่
* เน้นการเพิ่มรายได้ประชาชาติ แต่ไม่เน้นการกระจายรายได้

2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) มีวัตถุประสงค์หลักคือ

* เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในด้านสาธารณูปโภค
* รวมการพัฒนาในด้านรัฐวิสาหกิจและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน
* เน้นการพัฒนาสังคม การพัฒนากำลังคน ความสำคัญของภาคเอกชน
* การพัฒนาส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น

3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ.2514-2519) มีวัตถุประสงค์หลักคือ

* เพื่อส่งเสริมการลงทุน และพัฒนาอุตสาหกรรม
* สนับสนุนบทบาททางเศรษฐกิจของเอกชนและคนไทยตามระบบเศรษฐกิจ
* สนับสนุนการกระจายรายได้ให้ทั่วถึง
* ส่งเสริมการศึกษาและการฝึกอาชีพ
* สนับสนุนให้เพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประเภทที่ต้องใช้คนงานจำนวนมาก เพื่อป้องกันปัญหาการว่างาน

4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) มีวัตถุประสงค์หลักคือ

* เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในช่วง พ.ศ.2520 และ พ.ศ.2521
* เพื่อลดช่วงว่างทางด้านฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชนให้ลดน้อยลง
* เพื่อลดอัตราเพิ่มและปรับปรุงคุณภาพของประชากร ตลอดทั้งการเพิ่มการว่างงานในประเทศ
* เพื่อเร่งบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลัก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมของชาติ
* เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการป้องกันประเทศและแก้ไขปัญหาในบางพื้นที่เพื่อความมั่นคง

5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) มีวัตถุประสงค์หลักคือ

* เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและการเงินของประเทศให้มั่นคง
* เพื่อปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ
* เพื่อพัฒนาโครงสร้างและกระจายบริการทางสังคม
* เพื่อประสานการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศให้สอดคล้องกัน และสนับสนุนซึ่งกันและกัน
* เพื่อปฏิรูประบบการบริหารงานพัฒนาของรัฐและกระจายสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ

6. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-3534) มีวัตถุประสงค์หลักดังนี้

* จะต้องรักษาระดับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจไม่ให้ต่ำกว่าร้อยละ 5 เพื่อรองรับกำลังแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาด เพื่อจะเน้นการขยายตัวที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ในระยะของแผนฉบับที่ 5
* มุ่งพัฒนาคุณภาพคนให้สามารถพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าพร้อมกับการธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ วัฒนธรรม และค่านิยมอันดี และเป็นการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนในชนบทและในเมืองให้ได้ตามเกณฑ์ตามความจำเป็นพื้นฐาน

ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติฉบับที่ 5-6 การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2527-2531)และในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2531-2534) ดำเนินไปอยางต่อเนื่อง ในยุคของพลเอกเปรม เป็นยุคแห่งการสร้างวินัยทางการเงินและการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการ คลังของประเทศ จนเกิดผลดีต่อรัฐบาลพลเอกชาติชาย ที่จะพยายามดำเนินนโยบายขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง

รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เข้ามาบริหารประเทศเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2523 ได้ดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ

* ดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังที่เข้มงวดมาก เพื่อลดการขยายตัวของการใช้จ่ายในประเทศ เพื่อป้องกันการขาดดุลการค้าและชะลอการเพิ่มของระดับราคาสินค้าในประเทศ
* ปรับราคาน้ำมันในประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของราคาในตลาดโลก เพื่อลดการอุดหนุนและความช่วยเหลือจากรัฐบาลและส่งเสริมการประหยัดการใช้พลังงาน และลดการนำเข้า
* ลดค่าเงินบาท เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการขาดดุลการค้า
* ปรับปรุงภาษีศุลกากรรวมทั้งการส่งออก เพื่อกระตุ้นการส่งและเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิตสินค้าภายในประเทศ
* เร่งนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อลดภาระทางด้านการคลังของรัฐบาล และสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในส่วนของการประสานนโยบายเศรษฐกิจกับธุรกิจ

ผลจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว มีผลทำให้การขยายตัวในการลงทุนชะลอตัวลง การลงทุนของภาคเอกชนซบเซา เนื่องมาจากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นตามความเข็มงวดของนโยบายการเงิน

พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงของการขยายตัวสูง และมีเสถียรภาพเต็มที่ รวมทั้งในสายตาของชาวต่างประเทศก็มองว่าเสถียรภาพทางการเมืองของไทยจะมั่นคง เศรษฐกิจของโลกทั่วไปยังคงมีบรรยากาศที่ดี ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่ในระดับสูง ทั้งทางด้านการลงทุน การอุตสาหกรรม การก่อสร้างและการส่งออก

รัฐบาลได้ทำการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และเร่งพัฒนาประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ เร่งพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงิน และศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาค โดยมีนโยบายหลัก 4 ประการ คือ

* เพื่อประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากรภายในประเทศโดยดำเนินนโยบายการค้าเสรีและผ่อนคลายการควบคุมระบบการเงิน เพื่อเป็นการลดการเข้าแทรกแซงของรัฐบาล และให้กลไกตลาดเข้ามามีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรมากขึ้น
* เน้นความสำคัญในการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน โดยพยายามชักชวนให้นักธุรกิจชาวต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น
* พัฒนาประเทศไทยให้เข้าไปมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและในทวีปเอเซีย

ผลของการดำเนินนโยบายดังกล่าว ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง และมีทีท่าก้าวไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs) ได้ในอนาคตอันใกล้ ถ้าไม่เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย และการรัฐประหารในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เนื่องจากสงครามและการรัฐประหารดังกล่าวทำให้เกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจและการลงทุน เพราะนักธุรกิจไม่แน่ใจในสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นนั้นเอง

การเกิดสงครามในอ่าวเปอร์เซียใน พ.ศ.2532 และการรัฐประหารในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ทำให้การลงทุนในประเทศไทยต้องหยุดชะงัก และมีผลทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ในภาวะตกต่ำอย่างรุนแรง ภายหลังการรัฐประหาร รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้พยายามสร้างภาพพจน์ให้ต่างประเทศเข้าใจประเทศไทย และกลับมาลงทุนเหมือนอย่างเดิม ก็พอจะด้ผลเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะต่างประเทศยังไม่แน่ใจในสถานการณ์การเมืองในอนาคต

ภายหลังที่ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาทหารบก เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เกิดสถานการณ์วุ่นวายทางการเมือง จนกระทั่งนำไปสู่การสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตของประชาชนส่วนหนึ่ง ทำให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งเพื่อทำให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ต่างประเทศเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นว่า นายอานันท์ ปันยารชุน จะนำประชาธิปไตยมาสู่ประเทศไทยได้ ทำให้การคาดหวังผลทางเศรษฐกิจเป็นไปในทางที่ดีมากขึ้น

7. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

* การรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องออกไปอย่างมีประสิทธิภาพ
* การกระจายรายได้ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น
* การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปให้ดีขึ้น

8. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

* เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนทุกคนทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง
* เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้มีความมั่นคงและเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัวและชุมชน ให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้มากยิ่งขึ้น
* เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง และสมดุล เสริมสร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพของคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาและได้รับผลจากการพัฒนาที่เป็นธรรม
* เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์ สามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน
* เพื่อปรับระบบบริหารจัดการ เปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น

9. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)

เป็นแผนซึ่งได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลัก ทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไป สู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ

วัตถุประสงค์

* เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งของภาคการเงิน ความมั่นคงและเสถียรภาพของฐานะการคลัง ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจระดับฐานรากมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น ตลอดจนเพิ่มสมรรถนะของระบบเศรษฐกิจโดยรวมให้สามารถแข่งขันได้และก้าวทันเศรษฐกิจยุคใหม่
* เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่ง ตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก โดยการพัฒนาคุณภาพคน ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสุขภาพ สร้างระบบคุ้มครองความมั่นคงทางสังคม รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่ายชุมชน ให้เกิดการเชื่อมโยงการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน มีการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสังคมไทย
* เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ เป็นพื้นฐานให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เน้นการปฏิรูประบบบริหารจัดการภาครัฐ การบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจเอกชน การมี ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนา การสร้างระบบการเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม และลดการทุจริตประพฤติมิชอบ
* เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง ให้ได้รับโอกาสในการศึกษาและบริการทางสังคมอย่างเป็นธรรมและ ทั่วถึง สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ชุมชนและประชาชนมี ส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับกลไกภาครัฐให้เอื้อต่อการแก้ปัญหา

การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันของสังคมไทยใน 20 ปีข้างหน้า โดยนำความคิดของทุกภาคส่วนในสังคมทุกระดับ มาสเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบให้เกิดเป็น “วิสัยทัศน์ร่วม” ที่สังคมไทยยอมรับร่วมกัน โดยคำนึงถึงภาพรวมการพัฒนาที่ผ่านมา สถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อนำไปสู่สังคมไทยที่พึงประสงค์ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและสร้าง คุณค่าที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่9 จึงเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ชี้กรอบทิศทางการพัฒนาประเทศ ในระยะปานกลาง ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว และมีการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ในด้านแนวคิดที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” ในทุกมิติอย่างเป็นองค์รวม และให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างระบบบริหารจัดการภายในที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกระดับ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มี “คน” เป็นศูนย์กลางได้อย่างแท้จริง

จากการประเมินผลการพัฒนาในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการพัฒนาที่ขาดสมดุล โดยประสบความสำเร็จเฉพาะในเชิงปริมาณ แต่ขาดความสมดุลด้านคุณภาพ “จุดอ่อน” ของการพัฒนาที่สำคัญ คือ ระบบบริหารทางเศรษฐกิจ การเมือง และราชการยังเป็นการรวมศูนย์อำนาจและขาดประสิทธิภาพ ระบบกฎหมายล้าสมัย นำไปสู่ปัญหาเรื้อรังของประเทศ คือ การทุจริตประพฤติมิชอบที่เกิดขึ้นทั้งในภาคราชการและในภาคธุรกิจ เอกชน ขณะเดียวกันคุณภาพการศึกษาของคนไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ไม่สามารถปรับตัว รู้เท่าทันวิทยาการสมัยใหม่ ทั้งฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยอ่อนแอ ไม่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจยังด้อยประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ ความยากจน และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่รุนแรงขึ้น ได้สร้างความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ความอ่อนแอของสังคมไทยที่ ตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยม ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและปัญหาสังคมมากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดทุนทางสังคมและทางเศรษฐกิจหลายประการ ซึ่งเป็น “จุดแข็ง” ของประเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา กล่าวคือ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้วางพื้นฐานให้เกิดการปฏิรูปที่สำคัญทั้งทางสังคม การเมือง การบริหารภาครัฐ และการกระจายอำนาจ ขณะที่กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและพลังท้องถิ่นชุมชนมีความเข้มแข็งมาก ขึ้น สื่อต่างๆ มีเสรีภาพมากขึ้น เอื้อต่อการเติบโตของประชาธิปไตย การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย ทั้งจุดแข็งของฐานการผลิตการเกษตรที่หลากหลาย มีศักยภาพเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก พร้อมทั้งมีธุรกิจบริการที่มีความเชี่ยวชาญ มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และมี เอกลักษณ์ความเป็นไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่น รวมทั้งมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมเป็น ปึกแผ่นและมีสถาบันหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งจะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญในการลดความเสี่ยงจากกระแสโลกาภิวัตน์

ขณะเดียวกันกระแสการเปลี่ยนแปลงหลักของโลกเป็นทั้ง “โอกาสและภัยคุกคาม” ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น มีการปรับระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลกที่นำไปสู่กติกาการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศใหม่ และแนวโน้มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคีที่มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการพัฒนาสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีและการใช้ความรู้เป็นฐานการพัฒนา ทำให้ต้องเร่งเตรียมพร้อมทั้งการสร้างระบบ กลไก และพัฒนาคนให้สามารถปรับตัวอย่างรู้เท่าทันได้รวดเร็ว เพื่อคงสถานะการแข่งขันของประเทศและก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างเท่าทันโลกได้ต่อไป อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบางและมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อเนื่อง และคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ประมาณการไว้เดิม จะส่งผลต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยซึ่งต้องปรับตัวให้ทัน ทั้งการเริ่มปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากถึงระดับมหภาค และการปรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ภายใต้สถานการณ์และแนวโน้มในอนาคต ที่จะมีผลต่อการพัฒนาประเทศดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จึงเป็นแผนที่ดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศ ที่จำเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในทาง ปฏิบัติให้มากยิ่งขึ้น และมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤต พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มาก ขึ้น ขณะเดียวกัน จะต้องให้ความสำคัญลำดับสูงกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างสภาวะผู้นำร่วมกันในทุกระดับ ในอันที่จะสร้างพลังร่วมกันให้เกิดค่านิยมใหม่ในสังคม ที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการประเทศใหม่ที่พร้อมรับการ เปลี่ยนแปลงของโลก

5 Comments

Filed under :: ประวัติศาสตร์ ::