ข้อสอบ มีนา 48

  1. ข้อใดเป็นคำอธิบายเกี่ยวกับวัฒนธรรมได้ถูกต้องที่สุด
    1. วัฒนธรรมไทยมีวิวัฒนาการแบบสายเดี่ยว
    2. วัฒนธรรมที่ดีต้องมีความคงที่ตลอดเวลา
    3. วัฒนธรรมสามารถหยิบยืมและเปลี่ยนแปลงได้
    4. วัฒนธรรมมีความหมายเฉพาะในทางวัตถุเท่านั้น
  2. สถานการณ์ใดที่เป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมทางอ้อม
    1. ด.ช. ดำเล่นซ่อนหากับเพื่อนชั้นอนุบาล 3
    2. น.ส. วารีถูกลงโทษเนื่องจากทุจริตในการสอบ
    3. ปู่และย่าสอนให้ ด.ช.แดง เป็นผู้มีสัมมาคารวะ
    4. ตำรวจจราจรออกใบสั่งแก่นายธาราข้อหาฝ่าฝืนกฎจราจร
  3. ความสัมพันธ์ในข้อใดเป็นความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ
    1. ลูกพี่ กับ ลูกน้อง
    2. พนักงานขาย กับ ลูกค้า
    3. พี่น้องร่วมบิดามารดา
    4. ผู้อำนวยการ กับ เลขานุการ
  4. หน้าที่ใดที่สถาบันทางสังคมอื่นทำแทนสถาบันครอบครัวไม่ได้
    1. เสียภาษีให้รัฐ
    2. ผลิตสมาชิกใหม่
    3. ให้ความอบอุ่นแก่สมาชิก
    4. คุ้มกันภัยให้แก่สมาชิก
  5. ข้อความใดอธิบายเกี่ยวกับสถาบันทางสังคมได้ถูกต้องที่สุด
    1. สถาบันทางสังคมเกิดจากกลุ่มต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน
    2. สถาบันทางสังคมทุกสถาบันมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
    3. สถาบันทางสังคมต้องมีประวัติยาวนานจึงจะเป็นสถาบันที่สำคัญ
    4. หน้าที่ของสถาบันทางสังคม คือการมุ่งจรรโลงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติเท่านั้น
  6. การกระทำของบุคคลในข้อใดที่ไม่เป็นการแสดงบทบาททางสังคม
    1. ด.ช.แดงขี่จักรยานไปสวนสาธารณะ
    2. ร.ต.ต.วีระจับวัยรุ่นขี่จักรยานยนต์ฝ่าสัญญาณไฟแดง
    3. ด.ช.ขยันใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนทำการบ้าน
    4. ครูไหวอบรมนักเรียนก่อนสอนหนังสือ
  7. ข้อใดต่อไปนี้เป็นจารีตในสังคมไทย
    1. การทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ
    2. การที่สตรีนุ่งผ้าซิ่นไปทำบุญที่วัด
    3. การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในเทศกาลสงกรานต์
    4. การห้ามสตรีเข้าไปในพื้นที่ชั้นในรอบองค์พระธาตุดอยสุเทพ
  8. ค่านิยมมีความสำคัญต่อสังคมในด้านใดมากที่สุด
    1. เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
    2. ทำให้สังคมมีระเบียบแบบแผน
    3. เป็นที่มาที่สำคัญของบรรทัดฐานทางสังคม
    4. เป็นตัวกำหนดความเจริญก้าวหน้าของสังคม
  9. แผนพัฒนาในข้อใดที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทยมากที่สุด
    1. แผนพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ
    2. แผนปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ
    3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    4. แผนปฏิรูประบบสาธารณสุขแห่งชาติ
  10. ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมของวัยรุ่นที่เกิดจากการได้รับอิทธิพลจากสื่อมวลชนโดยตรง
    1. วัยรุ่นนิยมใส่เสื้อสายเดี่ยวเอวลอยตามศิลปินนักร้องนักแสดง
    2. วัยรุ่นแห่กันไปต้อนรับศิลปินนักร้องวัยรุ่นญี่ปุ่นที่มาเปิดการแสดงดนตรี
    3. วัยรุ่นพากันสมัครแข่งขันตามเวทีประกวดต่าง ๆ เพื่อก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง
    4. วัยรุ่นเริ่มมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศมากขึ้นจากการชมภาพยนตร์โฆษณาสินค้า
  11. ปัญหาข้อใดไม่ใช่ผลที่เกิดจากสถาบันครอบครัวทำหน้าที่บกพร่อง
    1. สามีภรรยาหย่าร้างง่ายขึ้นเมื่อเกิดมีปากเสียงกัน
    2. เด็กมีนิสัยก้าวร้าวเอาแต่ใจเนื่องจากถูกพ่อแม่เลี้ยงดูอย่างตามใจ
    3. วัยรุ่นแก้ปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายเมื่อเกิดปัญหาขัดแย้งกับพ่อแม่
    4. พ่อแม่เข้ามาหางานทำในเมือง ทำให้ต้องทิ้งลูกไว้กับปู่ ย่า ตา ยาย
  12. การบริจาคทานที่เรียกว่า “ซะกาต” ในศาสนาอิสลามมีจุดประสงค์หลักเพื่ออะไร
    1. เพื่อให้เราสละความเห็นแก่ตัว
    2. เพื่อให้เรารู้จักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
    3. เพื่อให้เรารู้จักทำความดีที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ถ้าประสงค์จะทำ
    4. เพื่อให้สังคมมีหลักประกันว่าคนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในทางเศรษฐกิจจะได้รับการคุ้มครอง
  13. การให้ทานตามคำสอนของพุทธศาสนา มีจุดประสงค์หลักเพื่ออะไร
    1. ชำระความโลภในใจ
    2. สร้างความเท่าเทียมกันในสังคม
    3. ทำความดีเพื่อส่งผลให้เกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี
    4. เพื่อให้ตนได้ทำความดีและช่วยเหลือผู้อื่นที่ขาดแคลน
  14. ศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ – ฮินดู มีความเชื่อที่สอดคล้องกันในเรื่องใดมากที่สุด
    1. เรื่องวันสิ้นโลก
    2. เรื่องพรหมลิขิต
    3. เรื่องพระเจ้าสร้างโลก
    4. เรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าและเทวดา
  15. หลักธรรมข้อใดของศีล 5 ในศาสนาพุทธ ที่ตรงกับหลักธรรมในศาสนาอื่นมากที่สุด
    1. การไม่ลักขโมย
    2. การไม่ล่วงประเวณี
    3. การไม่ฆ่าไม่เบียดเบียน
    4. การไม่เสพสิ่งเสพติดให้โทษ
  16. ข้อใดคือเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาว่าการปกครองในประเทศใดเป็นประชาธิปไตย
    1. มีรัฐธรรมนูญที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนไว้อย่างชัดเจน
    2. มีการเลือกตั้งที่โปร่งใส ปราศจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
    3. มีช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง
    4. มีรัฐบาลที่รับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
  17. การเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีจะต้องใช้คะแนนเสียงในสัดส่วนเท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
    1. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
    2. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 5
    3. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5
    4. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
  18. ข้อใดแสดงสัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งกับแบบบัญชีรายชื่อตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ถูกต้อง
    1. 250 : 250
    2. 300 : 200
    3. 350 : 150
    4. 400 : 100
  19. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของการปกครองในสมัยสุโขทัย
    1. การสร้างระบบศักดินาเพื่อกำหนดฐานะของบุคคลในสังคม
    2. การถือเอาราชธานีเป็นศูนย์กลางการปกครอง
    3. การใช้คำนำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์ว่าพ่อขุน
    4. การแบ่งระดับความสำคัญของหัวเมือง
  20. ข้อใดคือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
    1. ความเป็นปึกแผ่นของกองทัพ
    2. ความไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการ
    3. ความขัดแย้งในรัฐสภา
    4. การเคลื่อนไหวขององค์การนิสิตนักศึกษา
  21. พฤติกรรมใดที่ไม่ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
    1. พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตประท้วงนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล
    2. คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
    3. นักวิชาการวิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
    4. ทหารเข้าแถวลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งใกล้เขตทหาร
  22. ในเนื้อร้องเพลงชาติไทยไม่ได้กล่าวถึงเรื่องใด
    1. ลักษณะนิสัยของประชากรของรัฐ
    2. ระบอบการปกครองของรัฐ
    3. องค์กรที่ใช้อำนาจการปกครองของรัฐ
    4. ความเป็นอิสระในการใช้อำนาจการปกครองของรัฐ
  23. การปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภาถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาใด
    1. ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล
    2. เผด็จการทางรัฐสภา
    3. การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ
    4. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
  24. การอุดช่องว่างของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ใช้กฎหมายตามลำดับก่อนหลังในข้อใด
    1. จารีตประเพณี การใช้กฎหมายที่ใกล้เคียง หลักกฎหมายทั่วไป
    2. จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป การใช้กฎหมายที่ใกล้เคียง
    3. หลักกฎหมายทั่วไป จารีตประเพณี การใช้กฎหมายที่ใกล้เคียง
    4. หลักกฎหมายทั่วไป การใช้กฎหมายที่ใกล้เคียง จารีตประเพณี
  25. ข้อใดแสดงว่ากฎหมายแตกต่างจากศีลธรรมมากที่สุด
    1. กฎหมายเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ศีลธรรมไม่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
    2. กฎหมายควบคุมมนุษย์ทางกาย แต่ศีลธรรมควบคุมมนุษย์ทั้งทางกายและจิตใ
    3. กฎหมายมีบทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืน แต่ศีลธรรมไม่มีบทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืน
    4. กฎหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความจำเป็นทางสังคม แต่ศีลธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากธรรมชาติ
  26. การแบ่งประเภทกฎหมายตามหน้าที่ของกฎหมายคือข้อใด
    1. กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน
    2. กฎหมายสารบัญญัติ กฎหมายวิธีสบัญญัติ
    3. รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา
    4. กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง
  27. ความผิดอันยอมความได้หมายถึงข้อใด
    1. ความผิดลหุโทษ
    2. ความผิดที่มีโทษปรับแต่เพียงอย่างเดียว
    3. ความผิดที่มีความรับผิดทางแพ่งอยู่ด้วย
    4. ความผิดที่พนักงานสอบสวนจะสอบสวนคดีไม่ได้จนกว่าผู้เสียหายจะร้องทุกข์
  28. เมื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้แพ้คดี ใครมีอำนาจยึดทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้
    1. เจ้าหน้าที่ตำรวจ
    2. พนักงานอัยการ
    3. เจ้าพนักงานบังคับคดี
    4. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
  29. ปัจจัยที่ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำแม่กลองตอนปลายคดไปโค้งมา คือข้อใด
    1. ปริมาณน้ำในลำน้ำมีมากเกินไป
    2. น้ำที่ไหลในลำน้ำมีตะกอนมากเกินไป
    3. ความลาดเอียงของลำน้ำมีน้อยเกินไป
    4. ลำน้ำมีความยาวมากเกินไป
  30. เพราะเหตุใดภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าภาคกลางตอนบน
    1. เพราะมีโอกาสได้รับฝนจากพายุดีเปรสชัน
    2. เพราะได้รับฝนทั้งมรสุมฤดูร้อนและมรสุมฤดูหนาว
    3. เพราะได้รับฝนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดมาจากทะเลจีนใต้
    4. เพราะปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกป่าและสวนยางพารามากขึ้น จึงทำให้มีปริมาณฝนสูงกว่าภาคกลางตอนบน
  31. การเกิดแผ่นดินไหวในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทยมีผลมาจากข้อใด
    1. พื้นที่เป็นเขตภูเขาไฟมาก่อน
    2. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตหินเก่าและหินกลางเก่ากลางใหม่
    3. เป็นเขตที่เปลือกโลกถูกแรงกดทับจากภูเขามากที่สุด
    4. พื้นที่อยู่ใกล้เขตภูเขาหินใหม่ซึ่งทอดตัวผ่านทางตะวันตกของพม่
  32. ข้อใดเป็นลักษณะที่คล้ายคลึงกันระหว่างภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย
    1. ทิศทางการไหลของแม่น้ำไปทางเดียวกัน
    2. จำนวนเกาะนอกชายฝั่งใกล้เคียงกัน
    3. ทางตอนบนของภาคเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเหมือนกัน
    4. มีแม่น้ำสายสั้น ๆ และหินมีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงกัน
  33. สาเหตุที่ทำให้ความสมดุลของระบบนิเวศวิทยาของภาคใต้ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากที่สุดคืออะไร
    1. การทำเหมืองแร่ดีบุก
    2. การทำลายแนวปะการังชายฝั่ง
    3. การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม
    4. การทำลายป่าชายเลนเพื่อทำนากุ้ง
  34. ป่าไม้ใดมิได้จัดอยู่ในประเภทป่าผลัดใบ
    1. ป่าดิบแล้ง
    2. ป่าเบญจพรรณ
    3. ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะ
    4. ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าโคก หรือป่าแพะ
  35. เหตุใดดินส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
    1. เกิดพายุฝนฟ้าคะนองบ่อย ทำให้การชะล้างพังทลายของดินมีมาก
    2. มีการชะล้างของแร่ธาตุในดินลงไปสะสมไว้ในดินชั้นล่างมาก
    3. มีอากาศร้อนจัด ทำให้จุลินทรีย์ในดินย่อยสลายอนินทรีย์วัตถุมาก
    4. มีภูมิประเทศลาดชันสูงและอากาศร้อนจัด ชั้นดินจึงตื้นมาก
  36. วิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรในประเทศไทย คือข้อใด
    1. การขุดบ่อน้ำขนาดเล็กตามไร่นาเพิ่มมากขึ้น
    2. การสร้างเขื่อนเก็บน้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มมากขึ้น
    3. การรักษาป่าต้นน้ำลำธารและปลูกป่าเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
    4. การนำน้ำทิ้งจากกิจกรรมอื่นมาใช้เพื่อการเกษตรเพิ่มมากขึ้น
  37. ปัญหามลพิษทางอากาศอันเนื่องมาจากการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นจากการพัฒนาด้านใด
    1. การสร้างสวนสาธารณะเพิ่มขึ้น
    2. การกระจายแหล่งงานออกไปทุกมุมเมือง
    3. การติดตั้งระบบฟอกอากาศในยานพาหนะเดินทางทุกชนิด
    4. การมีระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟลอยฟ้าและรถไฟใต้ดิน
  38. ข้อใดมิใช่ผลกระทบต่อโลกและการดำรงชีวิตของมนุษย์จากปรากฏการณ์เอลนิโญ
    1. ทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
    2. ทำให้เกิดภาวะฝนตกหนักและน้ำท่วม
    3. ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล
    4. ทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น
  39. การประชุมเอดส์โลก ครั้งที่ 15 ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 – 16 กรกฎาคม 2547 มีจุดประสงค์สำคัญในเรื่องใด
    1. การไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอดส์
    2. การสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เด็กแรกเกิดติดเชื้อเอดส์
    3. การใช้เทคโนโลยีระดับท้องถิ่นเพื่อป้องกันโรคเอดส์
    4. ออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานเด็กและสตรีที่ติดเชื้อเอดส์
  40. ปรากฏการณ์ใดที่เกิดขึ้นและสะท้อนภาวะสิ่งแวดล้อมโลกในปัจจุบัน
    1. ชิลีเป็นประเทศเดียวที่ประสบกับการเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ
    2. ฝนกรดมักเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ ๆ และไม่มีผลกระทบต่อป่าไม้โดยตรง
    3. โรงงานอุตสาหกรรมใช้น้ำจืดในสัดส่วนที่มากที่สุดในโลก
    4. ความยั่งยืนของป่าฝนเขตร้อนของโลกจะช่วยลดอัตราเร่งในการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก
  41. การศึกษาในข้อใดไม่สามารถใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม
    1. การใช้ที่ดิน
    2. พื้นที่น้ำท่วม
    3. แหล่งโบราณสถาน
    4. แหล่งแร่ทองคำในถ้ำ
  42.  เหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์
    1. มนุษย์มีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
    2. มนุษย์มีรายได้จำกัด แต่มีความต้องการสินค้าและบริการไม่จำกัด
    3. ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด มนุษย์จึงต้องจัดสรรการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    4. ปัจจุบันเป็นยุคโลกไร้พรมแดน มีการค้าขายแบบเสรี มนุษย์จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
  43. ข้อใดคือปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดว่าในขณะใดขณะหนึ่งสังคมควรจะผลิตสินค้าต่าง ๆ จำนวนเท่าใดในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
    1. กลไกราคา
    2. กำไรของผู้ผลิต
    3. ความพอใจของผู้บริโภค
    4. นโยบายของภาครัฐและเอกชน
  44. การที่หน่วยธุรกิจหน่วยใดหน่วยหนึ่งก่อให้เกิดมลพิษ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ความเสียหายดังกล่าวนี้คือต้นทุนประเภทใด
    1. ต้นทุนดำเนินการ
    2. ต้นทุนทางสังคม
    3. ต้นทุนสารสนเทศ
    4. ต้นทุนค่าเสียโอกาส
  45.  ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ถ้าเสื้อเชิ้ตเป็นสินค้าปกติ การที่ นาย ก. ซื้อเสื้อเชิ้ตเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยซื้อในรอบ 1 ปี อาจเกิดจากสาเหตุใด
    1. ราคาเสื้อเชิ้ตเพิ่มสูงขึ้น
    2. รายได้ของนาย ก. ลดต่ำลง
    3. รสนิยมของนาย ก. เปลี่ยนไปใช้เสื้อเชิ้ตมากขึ้น
    4. ราคาเสื้อเชิ้ตและรายได้ของนาย ก. เพิ่มสูงขึ้น
  46. ปัจจัยใดไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
    1. การบริโภคของครัวเรือน
    2. การชำระหนี้ต่างประเทศ
    3. การลงทุนของหน่วยธุรกิจ
    4. การใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล
  47. อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานมักจะมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด
    1. เปลี่ยนแปลงในสัดส่วนคงที่
    2. เปลี่ยนแปลงในสัดส่วนต่างกัน
    3. เปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน
    4. เปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกัน
  48. ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงจาก 40 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 38 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ   ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับสถานการณ์ในข้อใด
    1. มูลค่าจากสินค้าส่งออกเพิ่มมากขึ้น
    2. ระดับราคาสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้น
    3. การลงทุนจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น
    4. นักท่องเที่ยวอเมริกันมาท่องเที่ยวในประเทศไทยลดลง
  49. ข้อใดคือผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในลำดับแรกจากการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านมาใช้ในประเทศไทย
    1. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้น
    2. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในภูมิภาคเพิ่มขึ้น
    3. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดเพิ่มขึ้น
    4. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในตำบลเพิ่มขึ้น
  50. อุตสาหกรรมประเภทใดที่ไม่มีข้อจำกัดมากนัก และสามารถส่งเสริมให้ดำเนินการได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย
    1. สิ่งทอ
    2. อัญมณี
    3. การท่องเที่ยว
    4. เครื่องปั้นดินเผา
  51. การดำเนินการอะไรในข้อต่อไปนี้ที่แสดงถึงจุดอ่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะเวลาที่ผ่านมา
    1. การมุ่งเน้นการกระจายรายได้
    2. การมุ่งเน้นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
    3. การมุ่งเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
    4. การมุ่งเน้นความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ
  52. เพราะเหตุใดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกจึงส่งผลกระบทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย
    1. ประเทศไทยมีหนี้ต่างประเทศสูง
    2. ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด
    3. ประเทศไทยมีการสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ
    4. ประเทศไทยมีการอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศ
  53. การดำเนินการของรัฐบาลข้อใดที่สามารถก่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมได้ดีที่สุด
    1. การประกันราคาพืชผลทางการเกษตร
    2. การทำให้รายได้ต่อหัวของประชากรสูงขึ้น
    3. การจัดเก็บภาษีอากรและการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม
    4. การเปิดเสรีทางการค้าและการรักษาระดับราคาสินค้า
  54. ปัญหาที่สำคัญที่สุดของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยคือข้อใด
    1. ระดับรายได้ต่ำ
    2. การขาดที่ดินทำกิน
    3. การขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก
    4. การขาดเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ
  55. ทาสในข้อใดที่ไม่อาจไถ่ถอนตนเองให้เป็นอิสระได้
    1. นางสีถูกพ่อนำมาขายใช้หนี้พนันแก่นายอากรเส็ง
    2. นายหม่องถูกจับเป็นเชลยศึกคราวสงครามเก้าทัพ
    3. นายยิ้มขายตนเองแก่ขุนช้างตอนนาล่ม
    4. หลวงวิเศษมอบนางขำให้แก่ธิดาของตนเมื่อออกเรือน
  56. ข้อใดไม่ตรงกับพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตามพระราชดำรัสที่ว่า“เราไม่ได้มาเรียนเป็นฝรั่ง เราเรียนเพื่อจะได้เป็นคนไทยที่มีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง”
    1. ต้องการพัฒนาประเทศให้สามารถต่อต้านจักรวรรดินิยม
    2. ต้องการพัฒนาประชาชนให้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
    3. ต้องการพัฒนาประชาชนให้มีความรู้เท่าเทียมกับชาวตะวันตก
    4. ต้องการพัฒนาประชาชนให้สามารถนำความรู้มาพัฒนาประเทศ
  57.  ข้อใดเป็นวิธีการเก็บภาษีในระบบเจ้าภาษีนายอากรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    1. การจัดเก็บภาษีโดยการชักส่วนสินค้า
    2. การเก็บภาษีเป็นสิ่งของแทนเงิน
    3. การให้เอกชนมีสิทธิในการเก็บภาษีแทนรัฐ
    4. การตั้งหน่วยงานกลางเพื่อเก็บภาษีอย่างเป็นระบบ
  58. ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475
    1. การลงทุนจำนวนมากในการพัฒนาเส้นทางคมนาคม
    2. ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
    3. ภัยธรรมชาติคุกคามผลผลิตทางด้านการเกษตร
    4. รายจ่ายในราชสำนักเพิ่มสูงตั้งแต่รัชกาลก่อน
  59. องค์กรใดที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาและความเห็นต่อพระมหากษัตริย์
    1. คณะอภิรัฐมนตรีสภา
    2. คณะรัฐมนตรีสภา
    3. คณะองคมนตรี
    4. สภากรรมการองคมนตรี
  60. เหตุการณ์ข้อใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับความคิดที่นำไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย
    1. การปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    2. คำกราบบังคมทูลของเจ้านายและขุนนาง ที่ขอให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    3. การตั้งดุสิตธานีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    4. การส่งสามัญชนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
  61. ข้อใดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การปกครองระบอบโชกุนของญี่ปุ่นสิ้นสุดลง
    1. การใช้นโยบายเปิดประเทศ
    2. การขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ
    3. การใช้นโยบายรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
    4. ความแตกต่างและความขัดแย้งของชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม
  62. อารยธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่ออารยธรรมของอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุดในข้อใด
    1. การปกครองและศาสนา
    2. การปกครองและเศรษฐกิจ
    3. ศาสนาและการแบ่งชั้นวรรณะ
    4. อักษรศาสตร์และการแบ่งชั้นวรรณะ
  63. การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่สองต่างจากระยะแรกในประเด็นใด
    1. มีการใช้ถ่านหินและพลังงานลม
    2. มีการใช้พลังงานไอน้ำแทนพลังงานน้ำ
    3. มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีและวิทยาการต่าง ๆ
    4. มีการใช้เครื่องจักรกลที่ทันสมัยแทนเครื่องมือแบบเก่า
  64. ข้อใดเป็นสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อ เจมส์ วัตต์ ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ
    1. ประชาชนทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
    2. โรงงานทอผ้าไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ริมแม่น้ำ
    3. เมืองต่าง ๆ ขยายตัวพร้อม ๆ กับจำนวนเครื่องจักรไอน้ำ
    4. เกษตรกรใช้เครื่องจักรไอน้ำในการผลิตแทนวิธีการแบบดั้งเดิม
  65. การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution) ของอังกฤษเกิดขึ้นเพราะเหตุใด
    1. ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติของชาวอเมริกัน
    2. เพื่อลดอิทธิพลทางการเมืองการปกครองของพวกขุนนาง
    3. เพื่อฟื้นฟูการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
    4. เพื่อให้อังกฤษมีการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
  66. ข้อใดแสดงถึงอุดมการณ์การปกครองแบบประชาธิปไตยของโลกตะวันตก
    1. รัฐบาลเป็นตัวแทนกลุ่มผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ
    2. รัฐบาลเป็นเจ้าของอำนาจการปกครองและประชาชนต้องปฏิบัติตาม
    3. ประชาชนต้องยอมสละซึ่งชีวิตและทรัพย์สินเพื่อค้ำจุนอำนาจของรัฐบาล
    4. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจการปกครอง แต่มอบให้รัฐบาลดำเนินการแทนแบบมีเงื่อนไข
  67. ข้อใดคือจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น
    1. การต่อต้านการขยายตัวของลัทธิทุนนิยม
    2. การแข่งขันเพื่อสร้างอาวุธนิวเคลียร์ของชาติมหาอำนาจ
    3. การแก่งแย่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติมหาอำนาจ
    4. การต่อสู้ด้านอุดมการณ์ระหว่างกลุ่มประเทศเสรีประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์
  68. เหตุการณ์ใดไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างประเทศอันเกิดจากความแตกต่างทางด้านสังคมวัฒนธรรม
    1. สงครามอ่าวเปอร์เซีย
    2. สงครามระหว่างยิว – ปาเลสไตน์
    3. วิกฤติการณ์ในแคว้นแคชเมียร์
    4. การก่อการร้ายของพวกทมิฬในศรีลังกา
  69.  ข้อใดเป็นพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่มีรากฐานมาจากผลงานประดิษฐ์ของเกรแฮม เบลล์
    1. เครื่องถ่ายเอกสาร
    2. เครื่องรับโทรศัพท์
    3. เครื่องคิดเลข
    4. เครื่องคอมพิวเตอร์
  70. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการจัดทำเขตการค้าเสรี
    1. กีดกันการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม
    2. ดึงดูดการลงทุนจากประเทศภายนอกกลุ่ม
    3. ลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศคู่สัญญา
    4. พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจในประเทศ
  71. เทคโนโลยีทางการเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดปัญหามลพิษในดินมากที่สุดคือข้อใด
    1. เกษตรอินทรีย์
    2. เกษตรอนินทรีย์
    3. เกษตรทฤษฎีใหม่
    4. เกษตรผสมผสาน
  72. ข้อใดไม่ใช่แหล่งพลังงานทดแทนที่รัฐบาลไทยส่งเสริมให้ใช้ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำมัน
    1. ถ่านหิน
    2. ก๊าซชีวภาพ
    3. ก๊าซโซฮอลล์
    4. พลังงานแสงอาทิตย์
  73. ข้อใดคือสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทยประสบปัญหา
    1. เปิดโอกาสให้เทคโนโลยีของต่างชาติเข้ามาอย่างเสรี
    2. ขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    3. ขาดวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ที่ใช้การสังเกต ศึกษา และ ทดลอง
    4. มีการนำเทคโนโลยีของต่างชาติจำนวนมากมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม
  74. มาตรการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศข้อใดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดผลทางด้านจิตวิทยาแก่คู่กรณี
    1. การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ
    2. การทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จ
    3. การใช้อนุญาโตตุลาการ
    4. การเจรจาต่อรองระหว่างผู้นำหรือตัวแทน
  75. ข้อใดกล่าวถึงองค์การสันนิบาตชาติไม่ถูกต้อง
    1. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นองค์กรหนึ่งในสันนิบาตชาติ
    2. ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ
    3. ประเทศมหาอำนาจทุกประเทศในขณะนั้นเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ
    4. องค์การสันนิบาตชาติเกิดขึ้นจากคำแถลงการณ์ 14 ประการ ในการประชุมสันติภาพที่แวร์ซายส์
  76. ปฏิบัติการใดที่ถือว่าเกินขอบเขตของปฏิบัติการรักษาสันติภาพขององค์การสหประชาชาติ
    1. การส่งกองกำลังเข้าไปดูแลการถอนทหารของคู่กรณี
    2. การส่งกองกำลังเข้าไปร่วมต่อสู้กับกลุ่มกบฏในประเทศสมาชิก
    3. การส่งกองกำลังรักษาการเข้าไปในดินแดนพิพาทหลังทำข้อตกลงหยุดยิง
    4. การส่งเครื่องอุปโภคบริโภคไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยสงคราม
  77. ข้อใดไม่ใช่แนวทางป้องกันปัญหาการยกพวกตีกันของวัยรุ่น
    1. เพิ่มสถานฟื้นฟูจิตใจเยาวชนผู้กระทำความผิด
    2. ลดการเสนอเรื่องที่ยั่วยุการใช้ความรุนแรงทางสื่อมวลชน
    3. สนับสนุนให้เยาวชนใช้เวลาว่างในการเล่นกีฬาและดนตรี
    4. จัดให้มีการอบรมสั่งสอนและฝึกปฏิบัติสมาธิในโรงเรียน
  78. การเปลี่ยนแปลงของสังคมเมืองในข้อใดที่ไม่กระทบต่อค่านิยมของประชาชน
    1. วิถีชีวิตและฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนมีความหลากหลาย
    2. การกำหนดพื้นที่ (zoning) ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อความเป็นระเบียบ
    3. การถ่ายทอดภูมิปัญญาจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ลดน้อยลง
    4. ขนาดและความสัมพันธ์ของครอบครัวเปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว
  79. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้มีสุขภาพดีแล้ว ยังส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลอย่างไร
    1. สร้างวินัยให้ตนเอง
    2. สร้างนิสัยรู้แพ้รู้ชนะ
    3. สร้างการทำงานเป็นกลุ่ม
    4. สร้างความทันสมัยให้ตนเอง
  80. ข้อมูลในข้อใดที่ชี้ว่าประเทศไทยยังต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขอนามัย
    1. อัตราการตายของทารกในภาคกลางต่ำกว่าร้อยละ 20
    2. ประชากรในภาคใต้ร้อยละ 50 มีอายุยืนยาวถึง 90 ปีขึ้นไป
    3. เด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 50 ป่วยเป็นโรคพยาธิต่าง ๆ
    4. ภาวะทุพโภชนาการระหว่างอายุ 0 – 14 ปี ของภาคตะวันออกต่ำกว่าร้อยละ 1

Leave a comment

Filed under :: 9 วิชาสามัญ ::

:: ความเห็น ::