:: แบบทดสอบ ::

  1. พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติไทย ข้อใดกล่าวมีเหตุผลที่ถูกต้องมากที่สุด
    1. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
    2. พระพุทธศาสนาเป็นแกนนำและเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย
    3. พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยมีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
    4. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชนชาวไทย
  2. ข้อใดคือผลที่เกิดจากการทำสังคายนา ครั้งที่ 2
    1. มีการใช้คำว่า “พระไตรปิฎก”
    2. พุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 นิกายคือ เถรวาท และอาจาริยวาท
    3. มีพระสมณะทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    4. มีการจดบันทึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน
  3. พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทยในฐานะเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย ข้อใดคือเหตุผลที่สำคัญที่สุด
    1. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ
    2. คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา
    3. พระพุทธสอดคล้องกับลักษณะนิสัยของคนไทย
    4. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา สังคม และศิลปวัฒนธรรม
  4. คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย เป็นความหมายที่บ่งบอกถึงเรื่องใด
    1. เป็นสิ่งที่เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่มีใครหลุดพ้น
    2. เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้
    3. เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย ไม่อยากให้เกิดขึ้น
    4. เป็นสิ่งที่เราต้องระมัดระวัง ไม่ให้เกิดขึ้น
  5. สาเหตุของการทำสังคายนาครั้งที่ 2 คือข้อใด
    1. มีพระภิกษุกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย
    2. มีพวกเดียรถีย์ปลอมมาบวชในพระพุทธศาสนา
    3. เพื่อความตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา
    4. ภิกษุชาวแคว้นวัชชี จงใจละเมิดพระวินัย
  6. ข้อใดไม่ใช่หลักการแสวงหาความรู้ของพระพุทธเจ้า
    1. ทรงเชื่อทุกอย่างที่อาจารย์สอน
    2. ทรงทดลองการบำเพ็ญเพียร
    3. ทรงคิดพิจารณาไตร่ตรอง
    4. ทรงศึกษาหาความรู้จากสำนักอาจารย์
  7. ทำไมพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์จวนจะประสูติ จะต้องเสด็จกลับไปประสูติที่เมืองเทวทหะ
    1. เพื่อใกล้ชิดและอยู่ในความดูแลของราชสกุลของพระนาง
    2. เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นความประสงค์ของพระนาง
    3. เป็นขนบธรรมเนียมของอินเดียสมัยก่อน
    4. ทรงพระสุบินนิมิตให้กลับไปประสูติในราชสกุลของพระนาง
  8. ข้อใดคือผลที่เกิดจากการทำสังคายนาครั้งที่ 5
    1. พระธรรมวินัยถูกจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
    2. แบ่งนิกายออกเป็น 2 นิกายคือ เถรวาท และอาจาริยวาท
    3. เพื่อให้ชาวศรีลังกาท่องจำพุทธวจนะ
    4. มีพระสมณะทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  9. พระไตรปิฎก “ฉบับทอง” จัดทำขึ้นในรัชกาลใด
    1. พระเจ้าติโลกราช
    2. พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    3. พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    4. พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  10. พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทย ข้อใดคือเหตุผลที่สำคัญที่สุด
    1. คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา
    2. พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์นับถือพระพุทธศาสนา
    3. พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานาน
    4. พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของคนไทย
  11. เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช ด้วยเหตุผลใด
    1. เพราะไม่ต้องการเป็นคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย
    2. เพราะต้องการหนีจากสภาพของคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย
    3. เพราะต้องการคงสภาพของวัยหนุ่มตลอดไป
    4. เพราะต้องการแสวงหาความดับทุกข์
  12. นักเรียนได้ตัวอย่างจากการบำเพ็ญทุกรกิริยาไปใช้ในการเรียน ในข้อใดบ้าง
    1. การทรมาน การอดอาหาร การแสวงหาทางหลุดพ้น
    2. การทดลอง ความอดทน ความเพียร
    3. การแสวงหาความสุข การเสียสละ
    4. การบำเพ็ญกุศล การแสวงหาความสงบ
  13. พระพุทธศาสนาเป็นที่มาของวัฒนธรรมไทย ข้อใดคือเหตุผลที่ถูกต้อง
    1. ก่อให้เกิดความรักความสามัคคี
    2. พระพุทธศาสนาผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทย
    3. พระพุทธศาสนาสอดคล้องกับลักษณะนิสัยของคนไทย
    4. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ
  14. ทำไมพระเจ้าสุทโธทนะ จึงทรงปรนเปรอความสุขทุกอย่างแก่เจ้าชายสิทธัตถะ
    1. เพราะพระองค์รักเจ้าชายมากอยากให้เจ้าชายมีความสุขอย่างแท้จริง
    2. เพราะต้องการให้เจ้าชายทรงครองบ้านเมืองต่อจากพระองค์
    3. เพราะเป็นความประสงค์ของเจ้าชายสิทธัตถะ
    4. เพราะต้องการให้เจ้าชายได้รับความสุขจากทางโลก เพื่อให้ลืมการออกผนวช
  15. พระภิกษุรูปใด เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ
    1. พระโสณะ และพระอุตตระ
    2. พระมหารักขิตเถระ
    3. พระมัชฌันติกเถระ
    4. พระมหาเทวเถระ
  16. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการทำสังคายนา
    1. การแสดงพระธรรมเทศนา
    2. การชำระพระไตรปิฎก
    3. การตรวจสอบความถูกต้องของพระพุทธวจนะ
    4. การจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัย
  17. ทำไมพระพุทธเจ้าจึงหยุดการทำ “ทุกรกิริยา”
    1. เพราะทนสภาพทุกข์ทรมานอย่างนั้นไม่ได้
    2. เพราะต้องการแสวงหาความสุขตามปกติ
    3. เพราะไม่ใช่หนทางนำไปสู่ทางพ้นทุกข์ได้
    4. เพราะทรงเบื่อหน่าย
  18. พระพุทธศาสนา แยกเป็น 2 นิกายใหญ่ คือข้อใด
    1. มหานิกาย และธรรมยุตนิกาย
    2. นิกายมหายาน และ ธรรมยุตนิกาย
    3. นิกายหีนยาน กับนิกายมหายาน
    4. นิกายฝ่ายเหนือ และนิกายฝ่ายใต้
  19. ข้อใดไม่ใช่ผลที่เกิดจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามายังประเทศไทยโดยตรง ?
    1. พระมหากษัตริย์ไทยนับถือพระพุทธศาสนา
    2. คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา
    3. พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของคนไทย
    4. แบ่งนิกายออกเป็น 2 คือ มหานิกาย และธรรมยุตนิกาย
  20. มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรกในรัชกาลใด
    1. พระเจ้าติโลกราช
    2. พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    3. พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    4. พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Leave a comment

Filed under :: พุทธศาสนา ม.1 เทอม 2 ::

:: ความเห็น ::