Daily Archives: 09/12/2013

:: ประวัติศาสตร์ 3 ::

  1. ระบบเจ้าภาษีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีจุดมุุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งคือข้อใด
    1. พระคลังสินค้ามีอำนาจผู้กขาดการค้ามากขึ้น
    2. ส่งเสริมให้เกิดการค้าเสรี
    3. เจ้าภาษีนายอากรผูกขาดการค้าแทนพระคลังสินค้า
    4. รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นและแน่นอน
  2. สิทธิสภาพนอกอาณาเขต หมายถึงอะไร
    1. การยกดินแดนให้ต่างประะเทศ
    2. สิทธิพิเศษของชาวต่าชาติในทางเศรษฐกิจ
    3. สิทธิพิเศษของชาวต่างชาติในทางศาสนา
    4. สิทธิพิเศษของชาวต่างชาติในทางศาล
  3. แหล่งรายได้ใหญ่ของแผ่นดินสมัยอยุธยาคือข้อใด
    1. กำไรจากการค้าผูกขาดภายในประเทศ
    2. เจ้าภาษีนายอากร
    3. รายได้จากผลประโยชน์ในที่ดินของกษัตริย์และมูลนาย
    4. รายได้จากการค้าขายกับต่างประเทศ
  4. การเปิดประเทศทำการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศภายในหลังจากสนธิสัญญาเบาริงปี พ.ศ.๒๓๙๘ นั้นมีผลทางเศรษฐกิจมากมาย ข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง
    1. อุตสาหกรรมในครัวเรือนพังทลาย
    2. มีการใช้เงินตรากันอย่างแพร่หลาย
    3. ต่างชาติเข้ามาลงทุน
    4. ประเทศเป็นอิสระทางเศรษฐกิจมากขึ้น
  5. เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงศ์ มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
    1. เป็นระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
    2. เป็นระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
    3. เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
    4. เป็นระบบเศรษฐกิแบบผสมผสานระหว่างสังคมนิยมกับเสรีนิยม
  6. สนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ คือข้อใด
    1. สนธิสัญญาครอว์เฟิด
    2. สนธิสัญญาเบาริง
    3. สนธิสัญญาเบอร์นี่
    4. สนธิสัญญาเจมส์ บรุ๊ค
  7. ในสมัยอยุธยาไทยส่งสินค้าประภทใดออกมากเป็นพิเศษ
    1. ช้าง
    2. ผลิตภัณฑ์
    3. ผ้า
    4. ของป่า
  8. รัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตอบสนองแรงกระตุ้นในทางเศรษฐกิจที่สนธิสัญญาเบาริ่งก่อให้เกิดขึ้นอย่างไร
    1. เลิกและลดพิกัดอัตราภาษีสินค้าหลายชนิด
    2. เก็บภาษีสินค้าขาเข้าเพียงร้อยละ ๓
    3. ขุดคลองเจดีย์บูชา
    4. ส่งพระยามนตรีศรีสุรยวงศ์เป็นราชฑูตไปยังลอนดอน
  9. จุดประสงค์สำคัญของเศรษฐกิจแบบชาตินิยมของจอมพล ป.พิบูลสงคราม คืออะไร
    1. กำจัดอิทธิพลทางเศรษฐกิจของต่างชาติ
    2. ออกพระราชบัญญัติจัดหางานให้ผู้ไรอาชีพ
    3. ออกพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร
    4. ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐบาลในพระราชบัญญัติมอบอำนาจให้รัฐบาลในภาวะคับขัน พ.ศ.๒๔๘๕
  10. การผูกขาดการเก็บภาษีอากรของไทยโดยระบบ เจ้าภาษีนายอากร ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของราษฏรไทยอย่างไร
    1. คนไทยมีความขยันในการประกอบอาชีพมากขึ้น
    2. อาชีพค้าขายของคนไทยถูกคนจีนแย่งไปครอบครอง
    3. คนไทยมีรายได้สูงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า
    4. คนไทยมีโอกาสชำระภาษีน้อลง
  11. ภายหลังสนธิสัญญาเบาริ่งที่ไทยตกลงกับอังกฤษแล้ว ปรากฏว่าไทยมีรายได้แผ่นดินลดลงเป็นเพราะเหตุใด
    1. จีนซึ่งเป็นตลาดการค้าสำคัญของไทยเกิดสงครามกับต่างชาติ
    2. ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ ๓ ของราคาสินค้าเท่านั้น
    3. ชาติตะวันตกส่งเรือมาค้าขายในจำนวนน้อยลงกว่าเดิม
    4. การค้ากับต่างชาติตกอยู่ในกำมือของชาวจีนเป็นส่วนใหญ่
  12. ข้อใดเป็นผลที่เกิดขึ้นที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริง พ.ศ.๒๓๙๘
    1. ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และเรียกเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อบละ ๓
    2. ไทยถูกยกเลิกการค้าผูกขาดของพระคลังสินค้า
    3. ไทยได้ชื่อว่ารักษาเอกราชของชาติไว้ได้จากการยอมเสียดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่
    4. ไทยกลายเป็นประเทศผลิตสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายนอก เช่น ข้าว
  13. หลังจากไทยทำสัญญาเบาริงได้ไม่นานก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโดยส่วนรวมข้อใดที่เห็นเด่นชัดที่สุด
    1. มีการขยายพื้นที่การทำเป็นอย่างมาก และข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุดของไทย
    2. เกิดการขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนคนจีนให้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในประเทศ
    3. คนไทยทุกภาคจะทิ้งงานหัตถกรรมหันไปซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ
    4. รายได้ของรัฐบาลลดลงอย่างมากเพราะถูกจำกัดด้วยภาษีร้อยชักสาม
  14. ข้อความใดที่แสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะทางเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    1. การค้าขายกับประเทศจีน
    2. การผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า
    3. การค้าขายกับประเทศตะวันตก
    4. การประมูลผุกขาดการเก็บภาษีอากร
  15. ข้อใดที่อธิบายหน้าที่พระคลังสินค้าได้ถูกต้องที่สุด
    1. พระคลังสินค้าดูแลการค้าภายในประเทศ
    2. พระคลังสินค้าทำหน้าที่เก็บรักษาสินค้าทุกประเภท
    3. พระคลังสินค้าค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนเท่านั้น
    4. พระคลังสินค้าเท่านั้นทำหน้าที่ควบคคุมตรวจตราสินค้าออกสินค้าเข้า
  16. ข้อใดไม่ใช่อุปสรรคของชาวตะวันตกในการติดต่อการค้ากับไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
    1. การค้าของไทยเป็นระบบผูกขาด
    2. รัฐบาลไทยไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าบางประเภท
    3. การเก็บภาษีไม่เท่าเทียมกันและอัตราไม่แน่นอน
    4. รัฐบาลเลือกซื้อสินค้าก่อน ที่เหลือจึงได้นำไปขายประชาชนได้
  17. การที่สามัญชนในสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ไม่ค่อยมีบทบาทด้านการค้าภายในประเทศเท่ากับคนจีน เพราะ
    1. คนจีนไม่ถูกควบคุมโดยระบบไพร่
    2. คนจีนขยันกว่าคนไทย
    3. คนไทยไม่นิยมทำการค้า
    4. คนไทยไม่ได้รับการสนับสนุนให้ค้าขาย
  18. รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามดำเนินนโยบาย ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ นโยบายนี้มีลักษณะอย่างไร
    1. รัฐบาลส่งเสริมให้เอกชนลงทุนด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น
    2. รัฐบาลอนุญาตให้เฉพาะประเทศประชาธิปไตยเข้ามาลงทุนในประเทสไทยได้
    3. รัฐบาลลงทุน ควบคุมและบริหารธุรกิจภายในประเทศเอง
    4. รัฐบาลออกกฏหมายห้ามคนต่างด้าวทำธุรกิจบางประเทศ
  19. การเก็บภาษีอากรโดยวิธีการประมูลผูกขาดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือ
    1. รัฐบาลต้องการรายได้ที่แน่นอน
    2. การทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษ
    3. การทำสนธิสัญญาเบอร์นี่กับอังกฤษ
    4. การปฏิรูปการเงินการคลัง
  20. เศรษฐกิจสุโขทัยและอยุธยาแตกต่างกันอย่างไร
    1. สุโขทัยมีการค้าอย่างเสรี อยุธยามีการผุกขาดการค้า
    2. สุโขทัยมีการผลิตแบบพอยังชีพเป็นหลัก อยุธยามีการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก
    3. สุโชทัยไม่มีการเก็บภาษีอากรใดๆ อยุธยามีการเก็บภาษีอากรหลายประเภท
    4. สุโขทัยทำการค้ากับจีนมากทีสุด อยุธยาทำการค้ากับอินเดียมากที่สุด
  21. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเข้าสู่แบบสมัยใหม่ของไทย เริ่มจากสนธิสัญญาฉบับใดและในรัชกาลใด
    1. เบอร์นี่ รัชกาลที่ ๓
    2. เบาริง รัชกาลที่ ๓
    3. เบาริง รัชกาลที่ ๔
    4. เบอร์นี่ รัชกาลที่ ๔
  22. ข้อใดไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลเนื่องจากสนธิสัญญาเบาริง
    1. การเลิกระบบผูกขาดการค้าและเริ่มระบบการค้าเสรี
    2. การปลดปล่อยไพร่และทาสเป้นแรงงานเสรี
    3. การขยายตัวของเศรษบกิจเงินตราและการขยายตัวของการค้ากับตะวันตก
    4. การเริ่มเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจของคนจีนและเริ่มส่งข้าวเป้นสินค้าออก
  23. ข้อใดไม่ใช่่ปัญหาของไทยในช่วงรัชกาลที่ ๔ ถึง พ.ศ.๒๔๗๕
    1. ลดประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือนายทุนจำนวนน้อยที่เป็ฯชาวจีนและตะวันตก คนไทยส่วนใหญ่ยากจน
    2. การเลิกระบบไพร่และทาสทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลต้องจ้างแรงงานชาวจีนมาก จนประสบปัญหาด้านการเงินและการคลัง
    3. มีความขัดแย้งทางความคิดอันนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างผู้นำของประเทศกับปัญญาชนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก
    4. มีปัยหาทางเศรษฐกิจเพราะไร่นาเสียหายจากอุทกภัย ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และความฟุ่มเฟือยในการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน
  24. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๔ ก่อให้เกิดผลอย่างไร
    1. การปฏิรุูปที่ดินทั่วประเทศทำให้ชาวนาได้ครอบครองที่ดินเพิ่มขึ้นและมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น
    2. การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในเมืองและชนบททำให้การกระจายรายได้เป็นธรรมมากขึ้น ช่องว่างระหว่างชนชั้นลดลง
    3. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก ทำให้กิดการเลื่อนชั้นทางสังคมโดยอาศัยการศึกษาอย่างมาก
    4. การขยายตัวของอุตสาหกรรมทำให้ชนชั้นนายทุนเพิ่มจำนวนและมั่งคั่งขึ้น
  25. ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของกรุงศรีอยุธยา เกิดขึ้นจากเหตุผลข้อใด
    1. ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าว
    2. กษัตริย์ส่งเสรมการค้าภายใน
    3. การค้าขายระหว่างไทย กับจีน
    4. กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่มีความเหมาะสม
  26. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมาก คืออะไร
    1. มีสัมพันธภาพอันดีกับประเทศจีน
    2. ระบบ พระคลังสินค้า ที่มีประสิทธิภาพ
    3. ระบบผูกขาดทางการค้าของพระมหากษัตริย์
    4. ได้ชาวจีนที่ชำนาญทางการค้าเป้นเจ้าพนักงานการค้า
  27. วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยสมัยรัชกาลที่ ๗ มีสาเหตุสำคัญที่สุดมาจากอะไร
    1. การปฏิวัติ พ.ศ.๒๔๗๕
    2. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
    3. ผลผลิตทางเกษตรเสียหายเพราะภัยธรรมชาติ
    4. เพราะความยุ่งยากทางการเมืองจนรัฐบาลไม่มีเวลาพอที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
  28. ระบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้าในสมัยอยุธยาก่อให้เกิดผลสำคัญอะไร
    1. การค้ากับต่างประเทศลดปริมาณลง
    2. รัฐเอาใจใส่ควบคุมกำลังคน และจัดเก็บส่วยมากขึ้น
    3. รัฐเผชิญกับปัญหาการจัดเก็บภาษีจากท้องถิ่นต่างๆ
    4. รัฐควบคุมการผลิตเืพื่อการค้าให้เหมาะสม
  29. กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใดของรัฐบาลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ไม่ปรากฏในสมัยอยุธยา
    1. เดินเรือสำเภาค้าขายกับจีน
    2. เปิดประมูลภาษีอากร
    3. ผูกขาดสินค้า
    4. งดเว้นภาษี
  30. รายได้หลักของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มาจากอะไร
    1. การผูกขาดโดยพระคลังสินค้า
    2. การเก็บส่วย
    3. การค้ากับต่างประเทศ
    4. การเกณฑ์แรงงานจากไพร่
  31. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของระบบพระคลังสินค้า
    1. การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาประมูลภาษี
    2. ราษฏรกับพ่อค้าไม่สามารถติดต่อค้าขายกันได้โดยตรง
    3. การผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยรัฐ
    4. การยินยอมให้ไพร่นำผลผลิตส่วนเกินที่รัฐไม่ต้องการออกขายได้
  32. เพราะเหตุใดไทยจึงร่ำรวยจากการค้ากับต่างประเทศจนเป็นรายได้หลักของแผ่นดินนับแต่สมัยอยุธยาจนถึงตอนต้นรัตนโกสินทร์
    1. รัฐบาลมีชาวจีนช่วยในการค้า
    2. รัฐบาลผูกขาดการค้าไว้แต่ผู้เดียว
    3. รัฐบาลให้เสรีภาพในการค้าอย่างเต็มที่
    4. รัฐบาลมีสินค้าต้องห้ามสำหรับขายมาก
  33. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สาเหตุของการกำหนดสินค้าต้องห้ามในการค้ากับต่างประเทศสมัยอยุธยาตอนกลาง
    1. พระคลังสินค้าต้องการกำหนดราคาสินค้าเอง
    2. พระคลังสินค้าต้องการเป็นตัวกลางในการค้าขาย
    3. พระคลังสินค้าต้องการจำกัดการนำเข้าสินค้าประเภทอาวุธ
    4. พระคลังสินค้าต้องการเลิกจัดเรือสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ
  34. ข้อใดแสดงให้เห็นชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงหลังสนธิสัญญาเบาริงจากระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพมาเป็นเศรษฐกิจการค้า
    1. ชาวนาเลิกผลิตข้าวและสิ่งของเครื่องใช้โดยหันมาซื้อแทน
    2. ชาวนาผลิตข้าวมากขึ้นเพื่อขายแต่เพียงอย่างเดียว
    3. ชาวนาหันมาทำนาโดยใช้วิทยาการแบบตะวันตก
    4. ชาวนาเิลิกจ่ายภาษีเป็น หางข้าว แต่จ่ายเป็นเงินแทน
  35. วัตถุประสงค์สำคัญที่สุดของการจัดให้มีระบบเจ้าภาษีนายอากร ในรัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคือข้อใด
    1. เพื่อให้มีรายได้เิพิ่มมากขึ้น
    2. เพื่อแทนที่ภาษีประเภทจังกอบ
    3. เพื่อเก็บภาษีในรูปเงินตราแทนสิ่งของ
    4. เพื่อเอกชนมาเก็บภาษีแทนเจ้าหน้าที่
  36. เหตุผลข้อใดที่ทำให้นักประวัติศาสตร์พบว่าประเทศไทยเสียเปรียบประเทศอังกฤษมากที่สุดในการทำสนธิสัญญาเบาริง
    1. การเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
    2. การไม่ระบุระยะเวลาของสัญญา
    3. การนำโลหะมีค่าและเงินตราเข้าและออกนอกประเทศได้อย่างเสรี
    4. การให้ชาวต่างชาติทำการค้าได้โดยเสรีแถบเมืองท่าชายทะเล
  37. การเก็บภาษีผ่านด่านโดยเก็บร้อยละสิบ หรือ สิบหยิบหนึ่ง เป็นวิธีการเก็บภาษีแบบใด และเกิดขึ้นในสมัยใด
    1. ส่วย สุโขทัย
    2. จังกอบ อยุธยา
    3. ฤชา ธนบุรี
    4. อากร รัตนโกสินทร์ตอนต้น
  38. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของระบบเจ้าภาษีนายอากร
    1. การเปิดโอกาสให้เอกชนประมูลจัดเก็บภาษี
    2. การผูกขาดการจัดเก็บภาษีโดยรัฐ
    3. การจัดเก็บภาษีจากการชัดส่วนผลผลิตที่ราษฏรทำได้
    4. การจัดเก็บภาษีเป็นเงินแทนสิ่งของ
  39. ให้พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
      • ก. การค้าของไทยเป็นรัฐแต่เพียงอย่างเดียว
      • ข. การค้าของไทยมีระบบจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน
      • ค. การค้าของไทยจ้างชาวจีนให้ดำเนินการเป็นส่วนใหญ่
      • ง. การขยายตัวของระบบการจัดเก็บภาษีอากรแบบผูกขาด
    1. ก และ ข
    2. ก และ ค
    3. ค และ ง
    4. ก ข ค และ ง
  40. นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร
    1. ส่งเสริมการผลิตในรูปแบบสหกรณ์
    2. สนับสนุนให้คนไทยประกอบธุรกิจมากขึ้น
    3. รัฐเข้าดำเนินการธุรกิจภายในประเทศเอง
    4. เปิดโอกาสให้เอกชนแข่งขันกันลงทุนอย่างเสรี
  41. ผลกระทบจากสนธิสัญญาเบาริงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยวแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบันคืออะไร
    1. เกิดการปฏิรูปพระคลังสินค้า
    2. เกิดการขยายตัวของระบบเงินตรา
    3. เกิดระบบเจ้าภาษีนายอากร
    4. เกิดการปฏิรูประบบการประมูลภาษีอากร
  42. ระบบการค้าเสรีซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นการเปิดศักราชใหม่ในทางการค้าของไทย และยังก่อให้เกิดผลดีต่อไทยในเรื่องใด
    1. การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
    2. ทำให้รัฐบาลไทยมีรายได้ประจำเพิ่มขึ้น
    3. อังกฤษขัดขวางฝรั่งเศสมิให้ทำรุนแรงกับไทย
    4. ทำให้เกิดตลาดแรงงานขึ้น
  43. โครงการรังสิตที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือโครงการเกี่ยวกับเรื่องอะไร
    1. โครงการขยายที่ดินเพื่อป้องกันน้ำท่วม
    2. โครงการขยายที่ดินเพื่อการเพาะปลูกพืชต่างๆ
    3. โครงการลงทุึนจัดสรรที่ดินของเอกชน
    4. โครงการสร้างระบบคลองชลประทาน
  44. ในสมัยสุโขทัยผลประโยชน์ส่วนใหญ่ที่เกิดจากการผลิตและจำหน่ายผลผลิตจะตกอยู่กับผู้ใด
    1. ประชาชน
    2. ผู้ผลิต
    3. พระมหากษัตริย์
    4. พ่อค้า
  45. ข้อความในข้อใดที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการผลิตในชุมชนไทยสมัยก่อน
    1. ผลิตเพื่อการค้า
    2. ผลิตเพื่อใช้อุปโภคบริโภค
    3. ผลิตเพื่อเสียภาษีและส่วย
    4. ผลิตเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนสินค้าอื่น
  46. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของ พระคลังสินค้า
    1. เป็นผู้ส่งเรือไปค้าขายกับต่างประเทศ
    2. เป็นผู้ผูกขาดการค้ากับต่างประเทศ
    3. เป็นผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศ
    4. เป็นผู้กำหนดราคาสินค้าจากต่างประเทศ
  47. เพราะเหตุใดจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงใช้นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจ
    1. เพื่อกำจัดคู่แข่งทางการเมืองให้พ้นจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
    2. เพื่อเร่งพัฒนาเศรษฐกิจให้ทัดเทียมตะวันตกโดยจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเอง
    3. เพื่อป้องกันไม่ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสว่นใหญ่ตกอยู่ในมือชาวต่างชาติ
    4. เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งกำลังแพร่หลายในหมู่ชาวจีนในประเทศไทย
  48. นโยบายใหม่ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือเรื่องใด
    1. การอนุญาตให้ส่งข้าวออกไปขายได้
    2. การใช้ระบบเจ้าภาษีนายอากร
    3. การจัดตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์
    4. การใช้วิธีการค้าเสรีเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้า
  49. ข้อใดไม่ใช่การเปลียนแปลงทางเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากสนธิสัญญาเบาริง
    1. ชาวต่างชาติเข้ามามีบทบาทด้านการลงทุนมากขึ้น
    2. มีการขุดลอกคลองชลประทานเพือขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูก
    3. มีการหลั่งไหลเข้ามาของชาวจีนเพื่อเป็นแรงงานในกิจการค้าสำเภา
    4. ไทยกลายเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดภายนอก
  50. ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยมีเศรษฐกิจแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า ในขณะที่ประเทศชาติตะวันตกมีนโยบายเศรษฐกิจแบบใด
    1. แมเนอร์
    2. พาณิชย์นิยม
    3. เสรีนิยม
    4. สังคมนิยม

Leave a comment

Filed under :: ประวัติศาสตร์ ม.6 ::, :: ประวัติศาสตร์เทอม 2 ::