Category Archives: :: ข้อสอบมาตรฐานช่วงชั้นที่ 4 ::

สาระภูมิศาสตร์

1. ปรากฏการณ์เอลนิโญที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและพืชพรรณในบริเวณซีกโลกใต้เกิดจากสาเหตุใดเป็นสำคัญ

  1. ชั้นโอโซนของโลกถูกทำลาย
  2. การเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก
  3. การเปลี่ยนทิศทางของลมค้าและกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก
  4. ความหนาแน่นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก

2. ข้อใดคือผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับจากปรากฏการณ์อัลนิโญ ระหว่างปี ค.ศ.1982-1983

  1. อากาศแห้งแล้ง
  2. ฝนตกหนัก น้ำท่วม
  3. ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนกัดกร่อนชายหาด
  4. เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวเขตของพืชพรรณ

3. หากนักเรียนวางแผนที่จะท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของไทย แผนที่ที่ช่วยนักเรียนได้คือข้อใด

  1. แผนที่ตัวเมือง
  2. แผนที่เศรษฐกิจ
  3. แผนที่ประวัติศาสตร์
  4. แผนที่เพื่อการนิทัศน์

4. หากนักเรียนต้องการที่จะศึกษาข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก โดยครอบคลุมพื้นที่ไม่มากนักจะต้องเลือกใช้แผนที่ขนาดใด

  1. มาตราส่วนเล็ก
  2. มาตราส่วนใหญ่
  3. มาตราส่วนปานกลาง
  4. มาตราส่วนเล็ก-ใหญ่

5. การใช้แผนที่ที่ต้องการประสิทธิภาพของงานจะต้องใช้แผนที่คู่กับข้อใด

  1. เข็มทิศ
  2. ภาพถ่ายทางอากาศ
  3. เส้นโครงพิกัดภูมิศาสตร์
  4. ผู้เชี่ยวชาญการอ่านแผนที่

6. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่ปรากฏในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในโลกเกิดจากสาเหตุใดเป็นสำคัญ

  1. ผลกระทบจากชั้นโอโซนถูกทำลาย
  2. การทำสงครามระหว่างประเทศด้วยอาวุธเคมี
  3. มนุษย์ทำลายถิ่นอาศัยของพืชและสัตว์และเข้าไปอยู่แทนที่
  4. สภาพดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญ

7. แนวโน้มของผลกระทบที่เกิดจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อพันธ์พืชและสัตว์ของโลกคือข้อใด

  1. การสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรม
  2. การสูญเสียประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ
  3. ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้น
  4. ถูกทั้งข้อ ก และข

8.การประกันภัยธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชและสัตว์ที่เหมาะสมที่สุดคือข้อใด

  1. การดัดแปลงพันธุกรรม
  2. จัดให้มีศูนย์อนุรักษ์พันธ์สัตว์และพันธ์พืช
  3. จัดให้มีการดำเนินงานธนาคารพันธุกรรมระยะยาว
  4. การออกกฏหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์

9.การดัดแปลงพันธุกรรมพืชและสัตว์มีประโยชน์อย่างไร

  1. เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
  2. เกิดความคุ้มทุนทางการเมืองและเศรษฐกิจ
  3. สร้างความปลอดภัยและอนาคตของพันธุกรรมโลก
  4. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

10.การแลกเปลี่ยนหนี้เพื่อธรรมชาติระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนากับองค์กรผู้ลงทุนในการอนุรักษ์ธรรมชาติเกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใด

  1. เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  2. คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ
  3. ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม
  4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางธรรมชาติให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา

11.ข้อใดคือทางเลือกที่ดีที่สุดต่อการดำเนินการประเมินความสำคัญของพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

  1. พื้นที่มีความหลากหลายของพันธ์พืชและพันธ์สัตว์
  2. พื้นที่มีพันธ์พืชและพันธ์สัตว์อยู่ไม่กี่แห่งในโลก
  3. พื้นที่ที่มีพันธ์พืชและพันธ์สัตว์อยู่น้อยมาก
  4. พื้นที่ที่เป็นป่าชุ่มน้ำ

12.ข้อใดคือส่วนจำเป็นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและโลก

  1. การประเมินสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อม
  2. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
  3. ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเที่ยงตรงและสมบูรณ์
  4. งบประมาณในการดำเนินการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

13.พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ตามมาตราที่ 6 และ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 ให้สิทธิแก่ประชาชนตามข้อใด

  1. การให้อำนาจแก่เอกชนในการจัดทำประชาพิจารณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
  2. การให้อำนาจแก่ประชาชนในการตรวจสอบข้อมูลลับของทางราชการเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม
  3. การเผยแพร่ข่าวด้านสิ่งแวดล้อมโดยเสรี
  4. การเพิ่มอำนาจและความสามารถของประชาชนในการเข้าถึงข่าวสารเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อม

14.การเปลี่ยนภูเขาเป็นที่ราบเพื่อการเพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ของไทยและของโลกนิยมใช้วิธีการเพาะปลูกแบบขันบันไดด้วยเหตุผลสำคัญในข้อใด

  1. เพราะขาดแคลนพื้นที่ราบ
  2. รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  3. ป้องกันการพังทลายของผิวหน้าดิน
  4. เพื่อให้สะดวกต่อการทำการเกษตร

15.พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2539 มาตรา 43 กำหนดให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตอนุรักษ์ ยกเว้นข้อใด

  1. พื้นที่ธรรมชาติทีอาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากกิจกรรมของมนุษย์
  2. พื้นที่เพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว
  3. พื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติที่ต่างจากที่อื่น
  4. พื้นที่ต้นน้ำลำธาร

16.การทำเกษตรในเขตแห้งแล้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ในภูมิภาคเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ใช้เทคโนโลยีในด้านใด

  1. การใช้น้ำทะเลกลั่นเป็นน้ำจืด
  2. การสร้างอ่างเก็บน้ำ
  3. ขุดคูคลองส่งน้ำ
  4. การทำฝนเทียม

17.การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทยหรือประเทศต่างๆ ในโลกปัจจุบันเกิดจากปัจจัยในข้อใด

  1. ความต้องการวัฒนธรรมที่เป็นสากล
  2. การสนองความต้องการจำเป็นของมนุษย์
  3. การแสวงหาปัจจัยปรุงแต่งชีวิตมนุษย์ให้สูงขึ้น
  4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ

18.นักเรียนสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคมในข้อใด

  1. หลีกเลี่ยงและไม่ใช่สินค้าที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
  2. ไม่ทิ้งขยะที่ย่อยสลายในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
  3. ศรัทธาและปฏิบัติตนตามคุณธรรมของศาสนา
  4. เดินทางโดยใช้ระบบบริการขนส่งมวลชน

19.วิธีการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนคือข้อใด

  1. ใช้ทรัพยากรโดยคำนึงถึงระบบนิเวศ
  2. ประดิษฐ์คิดค้นและใช้เทคโนโลยีสะอาด
  3. ใช้อย่างประหยัด นำของที่ใช้แล้วมาใช้อีก
  4. ไม่ลอกเลียนแบบวัฒนธรรมอื่นที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

20.จากการคำนวณสรุปพบว่า ปี 2537 ไทยมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปริมาณ 24 ล้านตัน นักเรียนคิดว่าแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือข้อใด

  1. จัดการขยะมูลฝอย และบำบัดน้ำเสียเพื่อลดก๊าซมีเทน
  2. ปลูกป่าและป่าธรรมชาติเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
  3. ขอความช่วยเหลือจากประเทศที่พัฒนาแล้วในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์
  4. ถูกทั้งข้อ ก และ ข

21.ในฐานะที่นักเรียนเป็นสมาชิกของสังคม และเป็นผู้ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งโดยทางตรงและอ้อม หน้าที่ของนักเรียนในการอนุรักษ์ได้อย่างถาวรคือข้อใด

  1. ศึกษาเรื่องนิเวศวิทยา
  2. เลือกการดำรงชีวิตแบบง่ายๆ
  3. เข้าร่วมกิจกรมรณรงค์การลดมลพิษเมื่อมีโอกาส
  4. ซื้อสินค้าจากโฆษณาทีวี ที่เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

22.นักเรียนคิดว่าแนวคิดเทคโนโลยีสะอาด ไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันของนักเรียนอย่างไร

  1. ใช้สบู่เหลวที่ไม่เข้มข้นแทนการใช้สบู่ก้อน
  2. อ่านหนังสือตอนดึก นอนตอนกลางวัน
  3. ซื้ออาหารถุงไว้รับประทานที่โรงเรียน
  4. ใช้น้ำจากก๊อกน้ำในการล้างภาชนะ

Leave a comment

Filed under :: ข้อสอบมาตรฐานช่วงชั้นที่ 4 ::

สาระประวัติศาสตร์

1. ข้อใดกล่าวถูกต้องถึงความต่อเนื่องของเวลาทางประวัติศาสตร์

  1. ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย
  2. ไม่มีอดีตย่อมไม่มีปัจจุบัน
  3. เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ขึ้นอยู่กับกาลเวลา
  4. ปัจจุบันและอนาคตเป็นสิ่งที่เรากำหนดได้

2. ข้อใดเป็นวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ

  1. เลือกวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐาน รวบรวมหลักฐาน ตรวจสอบหลักฐาน การวิเคราะห์
  2. เลือกหัวข้อ ตรวจสอบหลักฐาน ตั้งสมมติฐาน รวบรวมหลักฐาน การวิเคราะห์
  3. เลือกหัวข้อ รวบรวมหลักฐาน ตั้งสมมติฐาน ตรวจสอบหลักฐาน การวิเคราะห์
  4. เลือกหัวข้อ การวิเคราะห์ รวบรวมหลักฐาน ตรวจสอบหลักฐาน ตั้งสมมติฐาน

3. ข้อใดเป็นองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์

  1. ศึกษาเนื้อหาจากพงศาวดารและสรุป
  2. นำความขัดแย้งมาวิเคราะห์หาข้อสรุป
  3. รวบรวมตำนานจากคำบอกเล่า
  4. ศึกษางานวิจัยทางประวัติศาสตร์

4. ถ้านักเรียนเป็นนักประวัติศาสตร์ นักเรียนคิดว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ข้อใดน่าเชื่อถือที่สุด

  1. พงศาวดาร
  2. หลักศิลาจารึก
  3. งานวิจัยทางประวัติศาสตร์
  4. บันทึกจดหมายเหตุรายวัน

5. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยกับประวัติศาสตร์สากลมีวิธีการศึกษาที่ต่างกันอย่างไร

  1. ประวัติศาสตร์ไทยศึกษาจากศิลาจารึก จดหมายประวัติศาสตร์สากลศึกษาจากพงศาวดาร
  2. ประวัติศาสตร์ไทยศึกษาจากตำนาน ประวัติศาสตร์สากลศึกษาจากผลการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์
  3. ประวัติศาสตร์ไทยศึกษาจากหลักฐานชั้นต้น ประวัติศาสตร์สากลศึกษาจากผลการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์
  4. ไม่มีความแตกต่างเพราะทั้งประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากลต่างศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานชั้นต้น

6. คำกล่าวที่ว่า ปัจจัยทางภูมิศาสตร์มีผลต่อการพัฒนาของมนุษยชาติในอดีตด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

  1. เห็นด้วย เพราะการก่อตัวเป็นชุมชนเกิดในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ที่มีความเหมาะสมต่อการสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนสินค้าและอารยธรรมจากภายนอก
  2. เห็นด้วย เพราะมนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต การมีชีวิตอยู่ทำให้เกิดการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน
  3. ไม่เห็นด้วย เพราะสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมก็เป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาการของมนุษยชาติได้อย่างรวดเร็วในทุกด้าน
  4. ไม่เห็นด้วย เพราะการพัฒนาการของมนุษยชาติที่เกิดจากความพยายามต่อการเอาชนะสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ก็มีหลายแห่งในโลก

7. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาการของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆ ของโลกในปัจจุบันคือข้อใดเพราะเหตุใด

  1. เส้นทางคมนาคมทางธรรมชาติ เพระทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าทั้งในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
  2. ลักษณะภูมิอากาศ เพราะสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมก่อให้เกิดการสร้างสรรค์และมีการพัฒนาการอย่างก้าวหน้าและต่อเนื่อง
  3. ลักษณะภูมิประเทศ เพราะภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย ก่อให้เกิดการพัฒนาการของชุมชนในทุกด้าน
  4. ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการประดิษฐ์คิดค้นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

8.ข้อใดไม่จัดว่าเป็นผลกระทบที่เกิดจาการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลก

  1. การขยายตัวของชุมชนเมือง
  2. การขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยม
  3. แนวคิดเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
  4. การร่วมมือ/พึ่งพาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

9.ข้อใดเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทีส่งผลกระทบต่อโลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองมากที่สุด

  1. ทฤษฏีการถ่ายทอดพันธุกรรม DNA
  2. ทฤษฏีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์
  3. ปรากฏการณ์เรือนกระจก
  4. ปรากฏการณ์เอลนิโญ

10.ข้อใดคือพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ช่วยย่อโลก ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมอุดมการณ์ทางการเมือง การศึกษาและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

  1. คอมพิวเตอร์
  2. ระบบการคมนาคม
  3. ระบบสื่อสารมวลชน
  4. ระบบสื่อสารดาวเทียม

11.ผลงานความร่วมมือของสมาชิกขององค์การสหประชาชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบันคือข้อใด

  1. การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ
  2. การปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตยแก่ประเทศสมาชิก
  3. การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประเทศสมาชิก
  4. การประสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาติมหาอำนาจสหรัฐอเมริกากับจีน

12.แนวโน้มความขัดแย้งระหว่างประเทศที่อาจนำไปสู่การทำลายล้างสันติภาพของโลกได้มากที่สุดคือข้อใด

  1. การขยายอำนาจทางการเมือง
  2. การสร้างความมั่นคั่งและการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ
  3. ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและลัทธิศาสนา
  4. การถูกจำกัดขีดความสามารถการพัฒนาอาวุธยุทธการณ์โดยชาติมหาอำนาจ

13.การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศในปัจจุบันในรูปของความร่วมมือมากขึ้นที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด

  1. เพื่อหาแนวร่วม
  2. ความหวาดกลัวภัยสงคราม
  3. การมองเห็นปัญหาและแนวทางแก้ไข
  4. พัฒนาอำนาจทางทหารให้มีแสนยานุภาพเพิ่มขึ้น


14.เหตุผลสำคัญที่ทำให้แนวคิดที่เชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของจีนเป็นที่ยอมรับมากที่สุดคือข้อใด

  1. สอดคล้องกับบันทึกจดหมายเหตุของจีน
  2. ผู้เสนอแนวคิดนี้ส่วนใหญ่เป็นคนไทย
  3. นักวิชาการชาติตะวันตกเห็นด้วยมาก
  4. มีหลักฐานหลายด้านสนับสนุน

15.วิถีเกษตรรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้นตามโครงการพระราชประสงค์ที่ควรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติคือข้อใด

  1. เกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  2. การปลูกป่า 3 อย่าง ใช้ประโยชน์ 4 อย่าง
  3. การพัฒนาดินเปรี้ยวใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
  4. การปลูกหญ้าแฝกป้องกันการพังทลายของดิน

16.แนวทางต่อการอนุรักษ์วิถีเกษตรรูปแบบใหม่ ให้เป็นรากฐานและวิถีชีวิตที่ยั่งยืนคือข้อใด

  1. ตั้งกองทุนสงเคราะห์แก่เกษตรกร
  2. จัดให้มีศูนย์สาธิตฯ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. รณรงค์ให้เกษตรกรตระหนักในคุณค่าของวิถีเกษตรรูปแบบใหม่
  4. จัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรบูรณาการวิถีเกษตรรูปแบบใหม่

17.ข้อใดสนับสนุนที่ชัดเขนว่าสมัยพ่อขุนรามคำแหงและพระยาลิไทเป็นยุคทองทางวัฒนธรรมของชาติไทย

  1. เป็นยุคแรกที่คิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นได้
  2. เป็นยุคที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน
  3. เป็นยุคที่มีการปกครองที่งดงามแบบพ่อปกครองลูก
  4. มีการสืบทอดต่อทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์

18.ผลงานสำคัญของศิลป์ พีระศรีต่อวงการศิลปของไทยยกเว้นข้อใดดังต่อไปนี้

การก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม
การเปลี่ยนแปลงศิลปะไทยสู่ศิลปร่วมสมัย
การผลิตนายช่างศิลป์ จิตรกร ประติมากรและสถาปนิกที่มีชื่อเสียง
การพัฒนาหลักสูตร Academy of art เพื่อพัฒนาการสอนศิลปไทย

19.วิถีเกษตรรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้นตามโครงการพระราชประสงค์ที่ควรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติคือข้อใด

  1. เกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  2. การปลูกป่า 3 อย่าง ใช้ประโยชน์ 4 อย่าง
  3. การพัฒนาดินเปรี้ยวใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
  4. การปลูกหญ้าแฝกป้องกันการพังทลายของดิน

20.วิถีเกษตรรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้นตามโครงการพระราชประสงค์ที่ควรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติคือข้อใด

  1. เกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  2. การปลูกป่า 3 อย่าง ใช้ประโยชน์ 4 อย่าง
  3. การพัฒนาดินเปรี้ยวใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
  4. การปลูกหญ้าแฝกป้องกันการพังทลายของดิน

Leave a comment

Filed under :: ข้อสอบมาตรฐานช่วงชั้นที่ 4 ::

สาระเศรษฐศาสตร์

1. พฤติกรรมใดที่ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ในทางเศรษฐศาสตร์

  1. เก็บหอมรอมริบเพื่อการซื้อบ้านด้วยเงินสด ซื้อสินค้าทุกชนิดที่ผลิตภาย
  2. เปรียบเทียบราคาและคุณภาพของสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ
  3. ในประเทศ
  4. นำของใช้ที่ชำรุดไปซ่อมที่ร้าน

2. รัฐบาลกำลังรณรงค์การใช้น้ำ ไฟอย่างประหยัด นักเรียนคิดว่า จะร่วมกิจกรรมนี้หรือไม่เพราะเหตุใด

  1. ร่วม เพราะจะได้มีพลังงานใช้ตลอดไป
  2. ร่วม เพราะเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล
  3. ไม่ร่วม เพราะสามารถหาพลังงานใหม่ทดแทนได้
  4. ไม่ร่วม เพราะอยู่ในฐานะชำระค่าน้ำค่าไฟได้โดยไม่เดือดร้อน

3. ในกรณีที่งบประมาณแผ่นดินขาดดุล นักเรียนคิดว่ารัฐควรแก้ปัญหา โดยวิธีใดเหมาะสม

  1. เก็บภาษีเพิ่ม
  2. ระดมเงินฝาก
  3. กู้ยืมเงินต่างประเทศ
  4. รณรงค์การประหยัด

4. ข้อใดไมใช่ บทบาทหน้ที่ของธนาคารชาติ

  1. รักษาเสถียรภาพทางการเงิน
  2. รักษาเสถียรภาพตลาดหลักทรัพย์
  3. กำกับดูแลสถาบันการเงินและพิมพ์ธนบัตร
  4. เป็นที่ปรึกษานโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

5. การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้ในด้านการเกษตร มีผลกระทบต่อผู้บริโภค ในด้านใด

  1. สารพิษตกค้างในผลผลิต
  2. สินค้าราคาแพงขึ้น
  3. สินค้าราคาถูกลง
  4. สินค้าล้นตลาด

6. ระบบสหกรณ์ช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในชุมชนได้อย่างไร

  1. จัดหาวัสดุการเกษตรมาจำหน่าย
  2. จัดหาเงินทุนให้กู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยต่ำ
  3. จัดหาตลาดจำหน่ายผลผลิตให้สมาชิก
  4. ให้การสงเคราะห์แก่สมาชิกและครอบครัวที่ประสบภัย

7. สำนวนใดสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ

  1. มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท อ่างให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
  2. คนรวยอยู่อย่างคนรวย จะไม่วันรวย คนจนอยู่อย่างคนจน จะไม่มีวันจน
  3. เห็นผู้ดีมีทรัพย์ประดับแต่ง อย่าทำแข่งวาสนากระยาหงัน
  4. ของมีน้อยก็จะถอยลงทุกวัน เหมือนตัดบั่นต้นทุนสูญกำไร

8.ถ้านักเรียนมีพื้นที่ 400 ตารางวา อยู่ใกล้แหล่งชุมชน นักเรียนจะ ดำเนินชีวิตแบบใดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

  1. ทำสวนผลไม้
  2. ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ และเว้นที่ส่วนหนึ่งไว้อาศัย
  3. ตัดดินแบ่งขายครึ่งหนึ่ง และทำสวนผลไม้ครึ่งหนึ่ง
  4. สร้างบ้านให้เช่า 3 หลัง และเว้นที่ส่วนหนึ่งไว้อาศัย

9.นักเรียนคิดว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของสังคมไทยควรใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด เพราะเหตุใด

  1. เสรีนิยม เพราะเปิดโอกาสให้แข่งขันกันอย่างเต็มที่
  2. สังคมนิยม เพราะรัฐบาลสามารถควบคุมปัจจัยการผลิตได้
  3. ทุนนิยม เพราะเปิดโอกาสให้ผู้มีเงินทุนได้เป็นเจ้าของธุรกิจประกอบการ
  4. ผสม เพราะเพื่อประโยชน์ของประชาชนเศรษฐกิจบางอย่างรัฐต้องกำกับดูแล

10.ข้อใดเป็นกลไกของค่าจ้างและราคาในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

  1. พ่อค้าคนกลาง
  2. นโยบายของรัฐบาล
  3. ความต้องการของผู้ผลิต
  4. ความต้องการของผู้บริโภค

11.สถานการณ์ใดมีผลต่อการเปลี่ยนราคาสินค้าให้สูงขึ้น

  1. อุปสงค์มาก อุปทานน้อย
  2. อุปสงค์มาก อุปทานมาก
  3. อุปสงค์น้อย อุปทานมาก
  4. อุปสงค์น้อย อุปทานมาก

12.ถ้าปล่อยราคาน้ำมันให้สูงขึ้น จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร

  1. ทำให้เสียเปรียบดุลการค้ามากขึ้น เ
  2. กิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจจากภาคเอกชน
  3. ธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันจะซบเซาและพากันปิดกิจการ
  4. ประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากราคาสินค้าและเกิดการกักตุนสินค้า

13.ประเทศไทยได้ผลประโยชน์จากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก (WTO) ยกเว้นข้อใด

  1. ลดอุปสรรคทางการค้ากับประเทศสมาชิก ไ
  2. ด้รับความช่วยเหลือจากข้อมูลข่าวสาร
  3. ลดปัญหาการขัดแย้งกับประเทศสมาชิก
  4. ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

14.ที่มาของสินค้าและการให้บริการบางอย่างแก้ประชาชน รัฐได้มาจากแหล่งใด

  1. การส่งเสริมการผลิต
  2. จากการระดมทุนในหมู่บ้าน
  3. จากการเก็บภาษี และการกู้ยืม
  4. การช่วยเหลือจากต่างประเทศ

15.หากคนไทยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีนักเรียนคิดว่าก่อให้เกิดผลกระทบด้านใด

  1. ประเทศไม่มีรายได้
  2. การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก
  3. ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ
  4. สถานภาพทางการเงินระหว่างประเทศต่ำลง

Leave a comment

Filed under :: ข้อสอบมาตรฐานช่วงชั้นที่ 4 ::

สาระศาสนา

1. องค์ประกอบของศาสนาในข้อใดนักเรียนคิดว่าสำคัญที่สุด เพราะเหตุใด

  1. สาวก เพราะเป็นผู้สืบทอดหลักคำสอน
  2. ศาสดา เพราะเป็นผู้ก่อตั้ง
  3. หลักธรรม เพราะเป็นแนวประพฤติปฏิบัติ
  4. พิธีกรรม เพราะแสดงถึงความศรัทธา

2. เป้าหมายสูงสุดของชีวิตในศาสนาใดไม่ได้ทำความดีเพื่อพระเจ้า

  1. ศาสนาพุทธ
  2. ศาสนาอิสลาม
  3. ศาสนาคริสต์
  4. ศาสนาพราหมณ์

3. ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมของบุคคลในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

  1. สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมลงชื่อเพื่อการอภิปรายถอดถอนประธาน
  2. ชาวบ้านช่วยกันสอดส่องดูแลการทำงานของคณะกรรมการประจำหมู่บ้าน
  3. ผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนนำในการประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรม
  4. จราจรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเคร่งครัดและอดทน

4. ถ้านักเรียนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีแหล่งมั่วสุมของผู้เสพสารเสพติด นักเรียนควร
ปฏิบัติอย่างไรเพื่อทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

  1. อดกลั้น เพราะกลัวว่าครอบครัวเดือดร้อน
  2. วางเฉย เพราะกลัวถูกทำร้าย
  3. เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านยาเสพติด
  4. อดทน เพราะไม่อยากทำร้ายตัวเอง

5. ข้อใดไม่ใช่พิธีกรรมทางศาสนา

  1. ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมประกอบพิธีบรรพชา
  2. นักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมพิธีรับศีลมหาสนิท
  3. ข้าราชการร่วมประกอบพิธีวันจักรี
  4. ชาวบ้านร่วมพิธีบริจาคกาซาต

6. ข้อใดใช้ธรรมในการบริหารจิตเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ถูกวิธีที่สุด

  1. การวางแผนเลือกวิชาเรียนตามความถนัด
  2. การรวมกลุ่มทบทวนเพื่อคาดคะเนข้อสอบ
  3. การเตรียมตัวอ่านหนังสือก่อนสอบล่วงหน้าเป็นระยะยาว
  4. การยอมรับและปรับปรุงพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของตนด้วยความพอใจ

Leave a comment

Filed under :: ข้อสอบมาตรฐานช่วงชั้นที่ 4 ::